L-Acoustics ตีพิมพ์งานวิจัย เดือนเมษา 2020 ว่าด้วยการวัดเสียง

L-Acoustics ตีพิมพ์งานวิจัย เดือนเมษา 2020 ว่าด้วยการวัดเสียง

L-Acoustics หนึ่งในผู้นำลำโพงคอนเสิร์ตซาวด์ของโลก ตีพิมพ์งานวิจัย ใหม่ล่าสุด (White Papers) แบบเข้าถึงฟรี เป็นหัวข้อการวิจัยใหม่ล่าสุด ของเดือนเมษา 2020 เป็นโอกาสที่ดีมากๆสำหรับคนที่หลงใหลในเรื่องราวของเสียงโดยเฉพาะ pa และคอนเสิร์ตซาวด์  ไปดูกันครับว่า บริษัท L Acoustics นั้นศึกษาอะไรบ้าง และค้นพบอะไรน่าสนใจบ้าง ครั้งนี้ มี สามหัวข้อวิจัย ด้วยกันซึ่งเอทีสรุป ผลงานวิจัยสั้นๆเป็นภาษาไทย ไว้ให้อ่านกันในบทความนี้

นอกจากนี้ทาง L-Acoustics ยังได้รวมรวม งานวิจัยทั้งหมด ที่ที่ตีพิมพ์ลงในสมาคมวิศวกรรมเสียงโลก (AES) มาเปิดให้ดาวน์โหลดฟรีเป็นครั้งแรก ซึ่งมีบทความงานวิจัยน่าสนใจมากมายสำหรับคนเสียง

สรุปงานวิจัย White Papers ล่าสุดจาก  L-Acoustics 

งานวิจัยที่ 1 

ชื่อภาษาไทย; การวัดคุณภาพเสียงย่านต่ำ

ชื่อภาษาอังกฤษ; Measurement Quality at Low Frequencies

สรุปสั้นๆ จากเอที

งานวิจัยนี้ว่าด้วยการวัดคุณภาพเสียงในย่านความถี่ต่ำโดยเฉพาะ ซึ่งโดยปกติจะมีความผิดพลาดจากการวัดสูงโดยเฉพาะผลลัพธ์จากเสียงรบกวน

ผลการวิจัยจากแอล อคูสติกส์ แนะนำดังนี้ 

  1. จำนวนการวัดของสัญญาณ Sweep ที่แนะนำคือ 8 ครั้งสำหรับกลางแจ้งและ 4 ครั้งสำหรับในอาคาร 
  2. ความดังของสัญญาณ Sweep ทดสอบควรอยู่ในระดับเดียวกันกับเสียงที่ใช้งานจริง
  3. ระยะเวลาในการ Sweep นั้นมีผลต่อการวัดอย่าเล็กน้อย

ที่มาที่ไปของข้อแนะนำสามารถอ่านใน เปเปอร์ฉบับเต็ม (คลิก)

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยที่ 2 

ชื่อภาษาไทย; การวัดคุณภาพเสียงย่านสูง และ

ชื่อภาษาอังกฤษ; Measurement Quality at High Frequencies and

สรุปสั้นๆ จากเอที

ความชื้นอุณหภูมิและลมปัจจัยในสภาพอากาศนั้นมีผลต่อการวัดเสียงทั้งสิ้น จากการทดสอบการวัดเสียงการวัดเสียงในจุดเดียวกันหลายครั้งพบว่ามีความคาดเคลื่อนอยู่สูงเพราะฉะนั้นการวัดการตอบสนองความถี่เพียงครั้งเดียวนั้นไม่สามารถนำมาใช้ตัดสินใจในการ EQ ระบบเสียงได้จึงต้องใช้การวัดหลายครั้งและรวบรวมค่าเฉลี่ยในการตัดสินใจ 

ผลการวิจัยจากแอล อคูสติกส์ แนะนำดังนี้  

  1. หลีกเลี่ยงการวัดลำโพงที่ระยะไกลมากกว่า 60 เมตร 
  2. จำนวนการวัดของสัญญาณ Sweep ที่แนะนำคือ 8 ครั้งสำหรับกลางแจ้งและ 4 ครั้งสำหรับในอาคาร

ที่มาที่ไปของข้อแนะนำสามารถอ่านใน เปเปอร์ฉบับเต็ม(คลิก)

 

งานวิจัยที่ 3 

ชื่อภาษาไทย การปรับตำแหน่งการวัด เพื่ออีคิวระบบลำโพง 

ชื่อภาษาอังกฤษ;  Optimum Measurement Locations for Loudspeaker System Equalization

สรุปสั้นๆ จากเอที

การจูนเสียง มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เสียงของผู้ชมในแต่ละพื้นที่มีความใกล้เคียงกันที่สุด แต่การวัดเพื่อจูนเสียงนั้นสามารถทำได้อย่างจำกัดไม่สามารถนำไมค์ไปวางในทุกตำแหน่งที่นั่งของคนดูได้ เพื่อให้ EQ ได้อย่างถูกต้องและใกล้เคียงที่สุดหัวใจคือการวางใบในตำแหน่งที่เป็นตัวแทนของผู้ชมทั้งหมดได้ งานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับการหาตำแหน่งที่ดีที่สุดในสภาวะทดสอบ

ผลการวิจัยจากแอล อคูสติกส์ แนะนำดังนี้ 

  • การวัดเสียงควรครอบคลุมในพื้นที่ 1 ส่วน 4 ถึง 3 ส่วน 4 ของความลึกผู้ชมและห่างจากผนัง
  • ตำแหน่งไมค์ที่วัดอย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 8 จุด
  • ผังการวางใหม่ทั้งหมดควรกระจายไปทั้งแนวกว้างและแนวลึก และแพทเทิร์นการกระจายไม่ควรขนานกับผนัง

ที่มาที่ไปของข้อแนะนำสามารถอ่านใน เปเปอร์ฉบับเต็ม (คลิก).

 

นี่เป็นอีกหนึ่งโอกาส สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาความรู้ด้านเสียงให้อยู่ในระดับมาตรฐานโลก โดยงานวิจัยที่ L Acoustics ทำนั้น ครอบคลุมถึงเทคโนโลยีพื้นฐาน ทาง Acoustic การดีไซน์และวิศวกรรมทางวัสดุที่ใช้ในงานเสียงไปจนถึงงานวิจัยด้านอิเล็กทรอนิกส์และการประมวลผลสัญญาณ สำหรับใครที่สนใจบทความฉบับเต็มในภาษาอังกฤษสามารถไปอ่านที่เว็ป L Acoustic ได้เลยครับ (คลิก)

ติดตามช่องทางต่างๆของ AT PROSOUND

FACEBOOK ATPROSOUND

YOUTUBE ATPROSOUND


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น