ตู้ลำโพง ไลน์อาเรย์ พาสซีฟ
ตู้ลำโพง ไลน์อาเรย์ พาสซีฟ
ตู้ลำโพง ไลน์อาเรย์ พาสซีฟ
ตู้ลำโพง ไลน์อาเรย์ พาสซีฟ
ตู้ลำโพง ไลน์อาเรย์ พาสซีฟ
ตู้ลำโพง ไลน์อาร์เรย์ Passive
ตู้ลำโพง ไลน์อาเรย์ พาสซีฟ
ตู้ลำโพง ไลน์อาเรย์ พาสซีฟ
ตู้ลำโพง ไลน์อาร์เรย์ Passive
ตู้ลำโพง ไลน์อาร์เรย์ Passive
ตู้ลำโพง ไลน์อาร์เรย์ Passive
ตู้ลำโพง ไลน์อาร์เรย์ Passive
ตู้ลำโพง ไลน์อาร์เรย์ Passive
รวมผลงานติดตั้งโดย ATผลงานทั้งหมด
ลำโพงไลน์อาร์เรย์ พาสซีพ
ลำโพงไลน์อาร์เรย์ พาสซีพ (line array speaker) คือ ลำโพงแขวนไลน์อาร์เรย์ (Line-Array) ไม่มีแอมป์ในตัว ต้องใช้งานร่วมกับ Power amp ก็ถือว่าเป็นลำโพงที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อก่อนหน้านี้ลำโพงแบบ พ้อยท์ซอซ (Point Source) จะเป็นที่นิยมอย่างมากก็ตาม
และอีกหลายปัจจัย ที่ทำให้ต้องหันมาใช้ลำโพงลายอาเรย์ไว้ใช้งาน ก็เพราะลำโพงลายอาเรย์ คือ ลำโพงที่วางตัวในลักษณะเรียงตัวเป็นแนวยาว ซึ่งส่วนมากจะแขวนเป็นแนวดิ่ง ส่วนมากนิยมแขวนบริเวณที่สูง (การ FLYING ฟรายอิง)
ลำโพงแขวนไลน์อาร์เรย์ ถือว่าเป็นที่นิยมกันมาในระบบเสียงทั้งเครื่องเช่า งานติดตั้ง ผับ ห้องประชุม วันนี้เราจะมานำเสนอ ลำโพงไลน์อาร์เรย์ ขนาดเล็กบางรุ่นที่มีความคุ้มค่าในการใช้งาน สามารถทำงานได้หลากหลายประเภท หลากหลายสถานที่ ให้รับชมกันนะครับ
และลำโพงไลน์อาร์เรย์ ยังแยกเป็นได้อีกสองประเภท คือ
ลำโพง ACTIVE และ PASSIVE คืออะไร
ลำโพงที่เราเห็นกันในตลาดมีหลายประเภทการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ลำโพงเพดาน ลำโพงติดผนัง ลำโพงมอนิเตอร์ ลำโพงประกาศ ลำโพงแบบพกพา หรือแม้กระทั่งลำโพงไลน์อาเรย์ (ลำโพงที่เป็นช่อยาวต่อกันลงมา ใช้ตามคอนเสิร์ตต่างๆ) โดยลำโพงแต่ละประเภทนั้นก็จะแบ่งลงไปอีกว่าเป็นลำโพง Active หรือ ลำโพง Passive ทีนี้อาจจะงงกันไปอีกว่า แล้วเราจะใช้ลำโพงแบบไหนดี แล้วแบบไหนดีว่ากัน จริงๆ ถ้าเรารู้แล้วว่าอยากให้ลำโพงในงานประเภทไหน ต่อไปสิ่งที่ต้องมาดูกันคือจะใช้ลำโพง Active หรือ Passive ดี
ลำโพง Active คือ ลำโพงที่มีภาคขยายเสียงหรือ Amplifier ในตัว เพียงเสียบปลั๊กไฟ (สาย AC) ต่อ Input เข้าไปแล้วขับเสียงออกทางลำโพงได้เลย ซึ่งผู้ผลิตของแต่ละแบรนด์จะผลิตกำลังวัตต์แอมป์ให้เหมาะสมกับดอกลำโพงนั้นมาแล้ว แอมป์ที่ใช้ก็มีให้เลือกอีกว่าเป็น Class AB หรือ Class D ซึ่งราคาก็จะต่างกันไปด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเหมาะกับงานคอนเสิร์ต, งานออก Event, งานออกบูธ หรืองาน Exhibition ต่างๆ บริษัทออแกไนซ์เซอร์ (Organizer) จะนิยมใช้ลำโพงชนิดนี้
ข้อดี คือ ใช้งานได้ง่ายสะดวก เสียงที่ออกมาดีตามมาตรฐาน เหมาะสำหรับการใช้งานแบบเคลื่อนย้ายสะดวก
ข้อจำกัด คือ ถ้าเราเป็นคนชอบจับนู่น ผสมนี่ ลำโพง Active อาจจะไม่เหมาะ เพราะไม่สามารถเปลี่ยนแอมป์ในตัวได้
ลำโพง Passive คือลำโพงที่ไม่มีภาคขยายเสียงหรือ Amplifier ในตัวเอง เป็นตู้ลำโพงเปล่าๆที่มาพร้อมกับดอกลำโพง เราจะต้องไปหาเครื่องขยายเสียงหรือ Amplifier มาต่อเพื่อขับให้ลำโพง Passive ทำงาน ซึ่งโทนเสียงของลำโพงก็จะเปลี่ยนตามแอมป์ที่ใช้งาน เท่าที่เห็นมาส่วนใหญ่วัสดุที่ใช้ผลิตตู้ลำโพงแบบ Passive มักจะมีคุณภาพที่ดีกว่า งานที่เน้นลำโพงชนิดนี้ส่วนมากเป็นงานคอนเสิร์ตใหญ่ๆ หรืองานระบบเสียงห้องประชุมต่างๆ เพราะสามารถควบคุมระบบได้จากจุดๆเดียว
ข้อดี คือ สามารถหาแอมป์ในโทนเสียงที่ชอบมาปรับเสียงที่จะขับออกจากลำโพงได้ ยิ่งถ้าผู้เล่นมีประสบการณ์มานาน แล้วหาอุปกรณ์มาเล่นต่อกับลำโพง Passive เสียงที่ออกมาอาจจะดีกว่าลำโพง Active เสียอีก
ข้อจำกัด คือ หากเราไม่ชำนาญมากพอ บางทีเสียงที่ออกมา อาจจะแย่กว่าลำโพง Active ก็เป็นได้