แสดงทั้งหมด 15 ผลลัพท์


สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

Compressor เครื่องเสียง

behringer XR-4400 GATE

฿7,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

Compressor เครื่องเสียง

behringer MDX-2600

฿5,400.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ปรีไมโครโฟน

Empirical Labs Distressor EL8-X

฿103,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

Compressor เครื่องเสียง

dbx 1046

฿38,800.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

Compressor เครื่องเสียง

Hill Audio RPD2200

฿5,630.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

Compressor เครื่องเสียง

Rupert Neve Designs 545

฿0.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

Compressor เครื่องเสียง

Rupert Neve Designs 543

฿42,300.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

Compressor เครื่องเสียง

Rupert Neve Designs 542

฿31,220.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

Compressor เครื่องเสียง

Rupert Neve Designs 535

฿0.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

Compressor เครื่องเสียง

Klark Teknik SQ1D

฿7,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

Compressor เครื่องเสียง

Behringer COM800

฿3,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

Compressor เครื่องเสียง

NTS 166XS

฿4,200.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

Compressor เครื่องเสียง

behringer MDX-4600 MULTICOM

฿5,400.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

Compressor เครื่องเสียง

dbx 266XS

฿5,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

Compressor เครื่องเสียง

dbx 166XS

฿8,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่เกี่ยวข้อง


รวมผลงานติดตั้งโดย ATผลงานทั้งหมด


คอมเพรสเซอร์ เครื่องเสียง

คอมเพรสเซอร์ เครื่องเสียง คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับระบบเสียง ที่ทำหน้าที่ควบคุมความดังของแต่ละอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบเสียง

คอมเพรสเซอร์ (Compressor) คืออะไร  | คอมเพรสเซอร์เสียง ทำหน้าที่อะไร ผู้เล่นเครื่องเสียงมือใหม่หลายๆคน อาจจะยังไม่เข้าทราบ ว่าจำเป็นต้องใช้หรือเปล่า ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายไปพร้อมๆกัน คอมเพรสเซอร์ เครื่องเสียง ตั้งแต่เบื้องต้นเลยครับ ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานก็อ่านได้รู้เรื่อง และสามารถนำไปใช้ได้ครับ หรือสำหรับผู้เล่นเครื่องเสียงระดับโปรแล้ว ก็อ่านได้นะครับ ถือว่าเป็นการทบทวนไปในตัว

คอมเพรสเซอร์ (Compressor) คือ อุปกรณ์ด้านระบบเสียงชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ควบคุมระดับความแรงของสัญญาณเสียง ไมให้เกินค่าที่เรากำหนดไว้ ทำงานโดยการ บีบอัด หรือ กดระดับสัญญาณเสียงนั่นเอง

1. THRESHOLD

เป็นปุ่มใช้งาน ในการตั้งค่า จุดเริ่มการกดระดับสัญญาณ ที่เราต้องการให้คอมเพรสเซอร์เริ่มทำงาน มีหน่วยเป็นค่า db

2. RATIO

เป็นปุ่มปรับอัตราส่วน ของการตั้งค่า ของการกดระดับสัญญาณ ซึ่งจะทำงานสัมพันธ์กันกับค่า THRESHOLD ที่เราตั้งค่าเอาไว้

3. ATTACT

เป็นปุ่มสำหรับปรับตั้งค่า การหน่วงเวลาของการเริ่มต้น กดสัญญาณ ให้คอมเพรสเซอร์ทำงาน ในเวลาที่เร็วหรือช้าแค่ไหน เมื่อระดับสัญญาณ มีความแรงเกินค่าที่เรากำหนดไว้ มีหน่วยเป็น MS.(Millisecond)

4. RELEASE

เป็นปุ่มสำหรับปรับ ตั้งค่าหน่วงเวลา ช่วงของการหยุด และยกเลิกการกดสัญญาณ ให้คอมเพรสเซอร์ หยุดทำงานในเวลาที่เร็วหรือช้าแค่ไหน มีหน่วยเวลาเป็นวินาที (SEC)

5. OUTPUT GAIN

เป็นปุ่มปรับลด หรือเพิ่มระดับความแรงของสัญญาณด้านขาออกของเครื่อง เพื่อลดระดับเสียงที่ดังเกินไป หรือชดเชยระดับความดังของเสียงที่เบาลง (หลังจากที่เราได้ทำการกดระดับสัญญาณ) ให้เพิ่มขึ้น ตามระดับเสียงที่เราต้องการ

การต่อใช้งานเครื่อง COMPRESSOR
การต่อใช้งานเครื่องคอมเพรสเซอร์สามารถต่อใช้งาน ตามลักษณะประเภทของงานและตามความต้องการของผู้ใช้ได้ 4 แบบ ดังนี้

1. การต่อแบบ Channel Insert
การ ต่อแบบนี้เป็นการต่อใช้งานที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้เราสามารถปรับแต่งเสียงของคอมเพรสเซอร์ แต่ละแชลแนลได้อย่างอิสระ ทั้งเสียงจากไมโครโฟนสำหรับนักร้อง และเสียงจากเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นที่แยกจากกัน

2. การต่อแบบ Group Insert
การ ต่อแบบนี้จะใช้คอมเพรสเซอร์ จำนวน 2 เครื่อง [4Ch] ในกรณีที่มิกเซอร์มี 4 กรุ๊ป คือ Group 1-2-3-4 ก็ให้เราจัดกรุ๊ป 1-2 เป็น ไมค์เสียงร้องทั้งหมด และกรุ๊ป 3-4 เป็นเสียงดนตรีทั้งหมด

3. การต่อแบบ Mix Insert
การ ต่อแบบนี้ใช้คอมเพรสเซอร์ 1เครื่อง [2Ch] ต่อที่ตำแหน่ง Mix Insert ของเครื่องมิกเซอร์ เป็นการต่อใช้งานเพื่อควบคุมเสียงทั้งหมดที่ถูกต่อเข้าที่มิกซ์ การปรับแต่งเสียงก็จะปรับโดยรวมๆกลางๆ

4. การต่อแบบ MIXER to COMPRESSOR
การ ต่อแบบนี้เป็นการต่อแบบที่ง่าย สะดวก และประหยัดที่สุด เพราะเป็นการต่อที่นำเอาสัญญาณเอาท์พุทจากมิกเซอร์มาเข้าอินพุทของเครื่อง คอมเพรสเซอร์ และออกจากคอมเพรสเซอร์ไปเข้าเครื่องอีควอไลเซอร์
การปรับแต่งเสียงก็เป็นการปรับแบบรวมๆกลางๆ เพราะทุกเสียงผ่านคอมเพรสเซอร์ทั้งหมด

พร้อมรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

ดูสินค้าเกี่ยวกับcompressorทั้งหมดที่นี่ คลิก 

ที่มา www.facebook/atprosound.com