Showing 1–24 of 672 results

มิกเซอร์อนาล็อก

Alesis Multimix 8 USB FX

฿6,990.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

มิกเซอร์อนาล็อก

ALTO ZMX 122 FX

฿3,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าเลิกผลิต
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

มิกเซอร์ดิจิตอล

YAMAHA AG06

฿7,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

มิกเซอร์ดิจิตอล

Mackie DL16S

฿35,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

มิกเซอร์ดิจิตอล

Allen & Heath Avantis Series

฿622,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

มิกเซอร์อนาล็อก

TADA Fancy 8

฿2,899.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

มิกเซอร์ดิจิตอล

Allen & Heath SQ5

฿134,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

มิกเซอร์

YAMAHA AG03

฿5,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

มิกเซอร์ดิจิตอล

Behringer X AIR XR16

฿25,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

มิกเซอร์อนาล็อก

ALTO ZMX-100FX

฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

สเตจบ็อก

Allen & Heath DX-168

฿75,350.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

มิกเซอร์อนาล็อก

TADA Fancy 6

฿2,590.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
-10%

มิกเซอร์อนาล็อก

RCF F 10XR

฿13,330.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

มิกเซอร์ดิจิตอล

Behringer FLOW 8

฿11,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

มิกเซอร์ดิจิตอล

FLAMMA FM10

฿4,990.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
-10%

มิกเซอร์อนาล็อก

RCF F 12XR

฿19,140.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

สเตจบ็อก

Behringer STAGE BOX SD16

฿27,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

สเตจบ็อก

Behringer STAGE BOX SD8

฿18,450.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

สเตจบ็อก

Midas STAGE BOX DL32

฿57,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

มิกเซอร์อนาล็อก

myNPE V-4FX Mixer DSP

฿2,800.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

เพาเวอร์มิกเซอร์

myNPE GT-850

฿7,990.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

มิกเซอร์อนาล็อก

ALTO LIVE-802

฿9,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

มิกเซอร์อนาล็อก

Mackie MIX5

฿3,590.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

มิกเซอร์ดิจิตอล

Studiomaster DigiLive16

฿29,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่เกี่ยวข้อง


รวมผลงานติดตั้งโดย ATผลงานทั้งหมด


มิกเซอร์ (Mixer)

เครื่องผสมเสียง (Audio mixer) แท่นผสมสัญญาณเสียง (mixing console) บอร์ดเสียง (sound board, mixing desk)

มิกเซอร์ (Mixer) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ ปรับแต่ง และผสม สัญญาณเสียง ซึ่งในงานเสียง แต่ละงาน จะเต็มไปด้วยเสียงที่หลากหลาย ที่เข้ามาทั้งเสียงจาก ไมโครโฟน เสียงจาก เครื่องดนตรี หลากหลายชิ้น เสียงจากคอมพิวเตอร์ เปิดเพลง อื่นๆ

Mixer จะทำหน้าที่รวบรวม สัญญาณเสียง ปรับแต่งความแรงของสัญญาณ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่งเสียง เพิ่ม ลดความดัง ให้ได้ตามต้องการ ก่อนปล่อยออกไปสู่ลำโพง หรืออุปกรณ์เสียงอื่นๆ

มิกเซอร์ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ มิกเซอร์อนาล็อก (Analog Mixer) และ มิกเซอร์ดิจิตอล (Digital Mixer)

มิกเซอร์เสียงดี

มิกเซอร์อนาล็อก

แม้การใช้งานมิกเซอร์ดิจิตอล จะมีฟังก์ชันในการใช้งานที่ครบครัน สะดวกสบาย แต่มิกเซอร์อนาล็อก ก็ยังเป็นที่นิยมอยู่จนถึงปัจจุบัน เนื่องจาก ราคาเริ่มต้นที่ไม่สูงจนเกินไป ดูแลรักษาง่าย เหมาะสำหรับผู้ใช้งานเริ่มต้น เพราะการส่งสัญญาณของมิกเซอร์อนาล็อกนั้น ค่อนข้างเข้าใจง่าย

มิกเซอร์ yamaha

โดยการเรียงสัญญาณจะเริ่มจากช่องเสียบสัญญาณอินพุต แล้วส่งสัญญาณไปตามลำดับที่เรียงอยู่ในช่องนั้นๆ เช่น Input → Pad → Gain → HPF → Compressor → EQ → Feder → Pan → Group → Master Fader เป็นต้น

การปรับแต่ง และใช้งาน EQ ของมิกเซอร์อนาล็อกนั้น ค่อนข้างเข้าใจง่าย สามารถปรับแต่ง และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

install

มิกเซอร์ดิจิตอล (Digital Mixer)

ถูกพัฒนามาจากข้อจำกัด ของการใช้งาน มิกเซอร์อนาล็อก ทั้งจากขนาดอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ในกรณีที่ต้องใช้หลายช่องสัญญาณเสียง

Outboard gear ที่ต้องแยกจาก Mixer ทำให้ต้องใช้พื้นที่เป็นจำนวนมาก และยากที่จะเคลื่อนย้าย การจดจำการตั้งค่า ควบคุมผ่านรีโมท และการเชื่อมต่อผ่าน Protocol ต่าง ทำให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น

มิกเซอร์ดิจิตอลสามารถใช้งาน Equalizer, Compressor, Effect, อุปกรณ์ Dynamic เสียงต่าง ๆ ได้มีความหลากหลาย และซับซ้อน มีความยืดหยุ่น ในการเรียงของสัญญาณ (Signal flow) และการจัดกลุ่ม (Group) ของสัญญาณเสียงต่าง ๆ

ควบคุมสัญญาณเสียงจากหลายช่อง โดยใช้ Fader ที่จำนวนไม่มาก โดยแบ่งเป็น Layer เช่น Layer A เป็น Input 1-16 , Layer B เป็น Input 17-32 , Layer C เป็น Input 33-40 เป็นต้น

การส่งสัญญาณเสียงผ่านดิจิตอลตาม Protocols ต่าง ๆ เช่น AES, Dante, MADI เป็นต้น ไปยังอุปกรณ์ในระบบเสียง ได้เป็นจำนวนมาก และมีเสียงรบกวนที่น้อยกว่าในระบบอนาล็อก

การควบคุมผ่าน Wi-Fi ช่วยให้ ไม่ว่าจะเป็น Sound Engineer หรือศิลปินที่อยู่บนเวที สามารถควบคุมมิกเซอร์ดิจิตอลได้ง่าย จากระยะที่ไกลออกไป ด้วยอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์, มือถือ, ipad เป็นต้น

สามารถบันทึก และเรียกค่าการปรับแต่งก่อนหน้า เหมาะสำหรับประเภทงานที่มีความซับซ้อน และยุ่งยาก

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

-คู่มือมิกเซอร์อนาล็อก (Analog Mixer)

-Gain และ Volume ต่างกันอย่างไร

-dB scale เรื่องยากที่เข้าใจได้ง่าย ๆ

-AES/EBU คืออะไร ใช้งานอย่างไร?

ในการใช้งาน Mixer ไม่ว่าจะเป็น มิกซเซอร์ดิจิตอล หรือ อนาล็อก จะมีปุ่ม หรือเมนูให้เลือกดังต่อไปนี้

1.ช่องสัญญาณขาเข้า สำหรับเสียงสัญญาณ จาก ไมโครโฟน, Line สัญญาณจากเครื่องดนตรี อุปกรณ์เครื่องเล่นเพลง เป็นต้น มีทั้งหัวเสียบแบบ XLR, TRS, Combo Jack, RCA เป็น หัวสัญญาณทั้งแบบ Balance และ Unbalance 

2.Gain และ Compressor สัญญาณที่เข้ามาใน Mixer  อาจสัญญาณเสียงที่น้อยเกินไป จนส่งผลให้เกิด Noise ในระบบได้ ส่วนระดับสัญญาณขาเข้าที่แรงเกินไป อาจทำให้เกิดเสียงแตก ปุ่ม Gain จึงเป็นที่แรก เพื่อปรับแต่ง ความแรงของสัญญาณเสียง เพื่อขยาย หรือลดความแรงของสัญญาณ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมที่สุด ส่วน Compressor ทำหน้าที่ในการควบคุม ความแรงของสัญญาณเสียง ไม่ให้แรงเกินกว่าที่กำหนด

ความรู้มิกเซอร์

3.HI-Z Switch กดปุ่มนี้เมื่อต่อมิกเซอร์ กับอุปกรณ์ที่มีค่า Impedance ความต้านทานสูงๆ ยกตัวอย่าง กีต้าร์โปร่ง กีต้าร์ไฟฟ้า เบส โดยไม่ต้องผ่าน di box

4.Phantom Switch ทำหน้าที่ในการจ่ายไฟ 48V ให้กับ ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ (Condenser) รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ไฟ 48V

5.EQ (Equalizer) ทำหน้าที่ในการ เพิ่ม หรือลดย่านความถี่ของเสียง (Frequency) ให้ได้ลักษณะโทนเสียงตามต้องการ

7.Solo เพื่อฟังเสียงที่เข้ามาในแต่ละ ช่องสัญญาณ

7.Pan Knob ทำหน้าที่ปรับเปลี่ยน เคลื่อนย้ายตำแหน่งของเสียงให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่น หมุนไปทางซ้าย เสียงจะออกลำโพง L, หมุนไปทางขวา เสียงออกลำโพง R ไว้ตรงกลาง คือ เสียงจะอยู่ตรงกลาง เนื่องจากลำโพง LR จะปล่อยเสียงมาดังเท่า ๆ กัน

8.Mute Switch ทำหน้าที่เปิดปิดสัญญาณเสียงไม่ให้สัญญาณเสียงถูกส่งไปยังภาค Output

Mixer

9.Channel Fader ทำหน้าที่เพิ่ม ลด และจัดบาลานซ์ ความดังเบาในแต่ช่องสัญญาณ ก่อนส่งออกไปยัง Main output

10.Main Out Fader ทำหน้าที่เพิ่มลดความดังเบาของสัญญาณเสียง ที่ถูกส่งไปยัง Main Output

11.Main Output ทำหน้าที่เชื่อมต่อ เพื่อส่งสัญญาณออกจาก mixer ไปยังอุปกรณ์ขยายเสียงต่างๆ

12.Auxiliary (Aux-Send) ทำหน้าที่ในการจ่ายสัญญาณเสียงจาก Input ในแต่ละแชนแนลไปยังลำโพงมอนิเตอร์

13.Aux Master ทำหน้าที่เพิ่มลดความดังเบาโดยรวมของการจ่ายสัญญาณเสียง ที่ถูกส่งไปยังลำโพงมอนิเตอร์

14.FX-Send ทำหน้าที่ในการจ่ายสัญญาณเสียงจาก Input ในแต่ละแชนแนลไปยัง Effect

15.FX Return ทำหน้าที่เพิ่มลดความดังเบาโดยรวมของการจ่ายสัญญาณเสียง Effect

เทคนิคพื้นฐานระบบเสียงของงานแสดงสด

สนใจ Mixer เครื่องผสมเสียง (Audio mixer) แท่นผสมสัญญาณเสียง (mixing console) บอร์ดเสียง (sound board, mixing desk) ติดต่อ AT Prosound พร้อมคำเเนะนำโดย ผู้เชี่ยวชาญ

แสดงเพียงบางข้อมูล
  • รูปภาพ
  • Rating
  • ราคา
  • Attributes
คลิกภายนอก
เปรียบเทียบ