Gain และ Volume ต่างกันอย่างไร

GAIN VS VOLUME

ความดังของเสียง | เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านยังคงมีความเข้าใจผิด หรือยังตั้งคำถามกันอยู่ว่าปุ่มปรับ Gain และ Volume บนอุปกรณ์ระบบเสียงต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น MIxer หรือ Audio Interface นั้นต่างกันอย่างไร จริง ๆ แล้วการทำงานของ Gain และ Volume นั้นมีผลต่อ ความดังของเสียง เหมือนกัน แต่ก็ยังพูดไม่ได้เต็มปากนัก เพราะมีความแตกต่างระหว่าง Gain และ Volume อย่างชัดเจนเช่นกัน

 

ความดังของเสียง

 

 

ดังนั้น… เพื่อให้เกิดความใจที่ตรงกัน และยังสามารถนำไปต่อยอด ช่วยในการใช้งานอุปกรณ์ระบบเสียงเป็นไปอย่างถูกต้อง และไม่ทำให้งานเสีย จากการใช้ปุ่ม Gain และ Volume ผิดวัตถุประสงค์ ทั้งงานไลฟ์ซาวด์ หรือแม้กระทั่งงานบันทึกเสียงในสตูดิโอ เนื้อหาของบทความนี้จะเป็นการพูดถึง หน้าที่ของปุ่มปรับ Gain และ Volume รวมถึงวิธีการปรับอย่างไรให้เหมาะสม เมื่อพร้อมแล้ว ก็มาเริ่มกันเลยครับ

 

 

หน้าที่ และความแตกต่างของ Gain และ Volume

  • GAIN

Gain จะมีหน้าที่จริง ๆ ในการปรับขยายสัญญาณที่ Input ให้มีความแรงของสัญญาณที่เหมาะสม ก่อนที่สัญญาณนั้นจะถูกส่งไปยังอุปกรณ์โปรเซสเซอร์ต่าง ๆ เพื่อปรุงแต่งเสียง ดังนั้น Gain จะไม่ได้มีหน้าที่ในการเพิ่ม หรือลด ความดังของเสียง อย่างที่หลาย ๆ ท่านเข้าใจกัน ถึงแม้ว่าการปรับขยายสัญญาณจะมีผลต่อ ความดังของเสียงด้วยก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่เราทำการบันทึกเสียงด้วยไมโครโฟน จะเกิดกระบวนการแปลงสัญญาณเสียง เป็นสัญญาณไฟฟ้า ผ่านสายสัญญาณเข้าสู่อุปกรณ์บันทึกเสียง แต่จะเป็นสัญญาณที่เบามาก ๆ จึงจำเป็นต้องใช้ปุ่มปรับ Gain เพื่อขยายสัญญาณให้แรงขึ้นนั่นเอง และการปรับ Gain นั้นยังผลมีต่อคาแร็คเตอร์ของเสียงอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้า Gain เบา คาแร็คของเสียงก็จะบาง ถ้าปรับ Gain แรง จะทำให้คาแร็คของเสียงมีความอุ่น และหนาขึ้น

 

  • VOLUME

Volume จะมีหน้าที่ตรงกันข้ามกับ Gain อย่างเห็นได้ชัด นั่นก็คือ การควบคุมความดังของเสียงโดยรวมที่ Output หลังจากที่สัญญาณเสียงผ่านอุปกรณ์โปรเซสเซอร์ หรือการปรุงแต่งเสียงมาแล้วนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการปรับ Gain และ Volume ก็ควรจะปรับให้มีความเหมาะสม สอดคล้อง และสมดุลกันด้วย

 

 

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

วิธีการปรับอย่างไรให้เหมาะสม

ในเรื่องของการปรับ Gain และ Volume อย่างไรให้เหมาะสมนั้น จะขอยกกรณีตัวอย่างง่าย ๆ ครับ เช่น ในกรณีที่เราต้องการบันทึกเสียงการแสดงสดของวงดนตรี ลงบนโปรแกรม DAW หลังจากที่ติดตั้งอุปกรณ์ระบบเสียงต่าง ๆ ในระบบเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนแรกในการซาวด์เช็ค เราจะต้องตรวจสอบสัญญาณ Gain Input ที่แต่ละแชนแนลซะก่อน ก่อนที่จะปล่อยสัญญาณเสียงนั้นเข้าสู่โปรเซสเซอร์เพื่อปรุงแต่งเสียงต่อไป ซึ่งบนมิกเซอร์จะมีไฟสถานะ Gain และ Volume อยู่ ซึ่งเราสามารถปรับความดังของเสียง โดยอิงจากไฟสถานะได้เลย แต่… ระวัง!! อย่าให้ดังเกินไป ที่อุปกรณ์ของท่านจะรับไหว ตัวอย่างเช่น ลำโพง เป็นต้น (เพราะเพื่อนแอดมินเคยพลาดมาแล้ว อิอิๆ)

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการปรับ Gain และ Volume ก็คือ Headroom โดยปกติแล้วอุปกรณ์ระบบเสียง จะมีเพดานความดังสูงสุดของเสียงที่อุปกรณ์นั้นจะสามารถรับได้ ถ้าความแรงสัญญาณมีความดังเกินเพดานนี้ จะทำให้เสียงเกิดการ Clipping หรือ Distortion (เสียงแตกพล่า) ดังนั้นในการปรับ Gain ควรจะเผื่อพื้นที่สำหรับความดังของเสียง ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดเอาไว้ด้วย ซึ่ง Headroom ก็คือ พื้นที่ ๆ เผื่อเอาไว้นั่นเอง 

 

ความดังของเสียง

ขอบคุณรูปภาพจาก : WallpaperCave

 

 

สรุป

ถ้าพูดกันแบบง่าย ๆ เลยก็คือ…

ปุ่ม Gain มีหน้าที่ปรับขยายสัญญาณที่ภาค Input

ปุ่ม Volume มีหน้าที่ควบคุมความดังของเสียงโดยรวมที่ภาค Output

และ Gain ไม่ใช่ Volume ย้ำนะครับ… Gain ไม่ใช่ Volume ดังนั้นแนะนำว่า ระวังในการใช้ปุ่ม Gain และ Volume ผิดวัตถุประสงค์ เพราะนั่นอาจจะทำให้คุณภาพเสียงในงานของคุณ ออกมาไม่เป็นมิตรกับหูเอาซะเลย และที่สำคัญในการปรับ Gain และ Volume อย่าลืมที่จะเผื่อ Headroom ไว้เสมอ

 

 

ติดตาม Facebook AT Prosound

บทความโดย : ณัฐพจน์ วิจารัตน์


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,400.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿5,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น