คู่มือ! การใช้ มิกเซอร์อนาล็อก (Analog Mixer)

คู่มือมิกเซอร์อนาล็อก (Analog Mixer)

คู่มือมิกเซอร์อนาล็อก! สวัสดีครับกลับมาพบกันอีกครั้ง ผมนัทเอทีครับ บทความนี้ เราจะมาทำความรู้จัก ทำความเข้าใจ รวมถึง… คู่มือมิกเซอร์อนาล็อก
และการใช้งานเบื้องต้น ซึ่งถือว่าเป็นความรู้พื้นฐาน ที่คนทำงานด้านระบบเสียงจำเป็นต้องมีติดตัวเอาไว้ครับ

คู่มือมิกเซอร์อนาล็อก

ก่อนอื่นเรามาทำเข้าใจกันก่อน ว่า มิกเซอร์ (Mixer) คืออะไร

มิกเซอร์ (Mixer) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ในการผสม และปรับแต่งสัญญาณเสียง ไม่ว่าจะเป็นการจัดการความดังเบา , โทนเสียง , การจัด Balance (ความสมดุล) ของสัญญาณเสียงต่างๆ ที่ส่งสัญญาณข้ามาที่มิกเซอร์ เช่น เสียงร้องจาก ไมโครโฟน และเครื่องดนตรีต่างๆ ให้มีความสมดุล และมีความดังเบาที่เหมาะสม

เมื่อเรารู้แล้วว่า มิกเซอร์คืออะไร ก็ถึงเวลาที่จะได้ทำความรู้จักส่วนต่างๆ รวมถึง… คู่มือ มิกเซอร์อนาล็อก และการใช้งานกันเลย

(ในที่นี้ผมขอยกตัวอย่างเป็น มิกเซอร์อนาล็อก ยี่ห้อ Mackie รุ่น ProFX12v3)

เริ่มกันที่ ภาคอินพุต (Input) ส่วนนี้จะทำหน้าที่ ในการรับสัญญาณเสียง เข้าสู่มิกเซอร์ผ่านสายสัญญาณ และหัวเชื่อมต่อต่างๆ ซึ่งก็จะสังเกตุได้ว่า ช่องอินพุตแต่ละแชนแนล มีความแตกต่างกัน อธิบายตามรูปภาพได้ดังต่อไปนี้

หมายเลข 1 ที่แชนแนล 1 และ 2 เป็นหัวเสียบแบบ Combo ช่องแบบนี้สามารถใช้ หัวสัญญาณที่เป็นทั้ง XLR , TRS และ TS เสียบได้ แต่ต้องเลือกเสียบอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จะเสียบพร้อมกันทั้ง 3 ประเภทไม่ได้

หมายเลข 2 จะเห็นได้ว่าแชนแนล 3 และ 4 ที่มีอินพุตมาให้ 2 ช่อง ที่เป็น XLR หรือTRS ซึ่งเป็นสัญญาณ Balanced และ TS ที่เป็นสัญญาณ Unbalanced อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ ยกตัวอย่าง เช่น ไมโครโฟน แต่ต้องเลือกเสียบช่องใดช่องหนึ่งเท่านั้น

หมายเลข 3 จะเห็นได้ว่าใน 1 ช่องอินพุตที่แชนแนล 5/6 , 7/8 และ 9/10 มีอินพุตมาให้ถึง 3 ช่อง ประกอบไปด้วย XLR ซึ่งเป็นสัญญาณ Balanced อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ ยกตัวอย่าง เช่น ไมโครโฟน และยังมีช่องอินพุต L และ R ขนาด 1/4 นิ้ว เสียบได้ทั้งสัญญาณ Balanced และ Unbalanced ความพิเศษคือ เป็นแชนแนลที่มีการรับสัญญาณเสียงเป็นแบบ Stereo หรือก็คือรับสัญญาณได้ถึง 2 แชนแนลใน 1 ช่องอินพุตนั่นเอง  อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ ยกตัวอย่าง เช่น Line คีย์บอร์ดที่ต้องการให้ออกมาเป็น สเตอริโอ LR หรือสัญญาณสำหรับการปิดเพลง นั่นเอง

หมายเลข 4 ที่ Line In แชนแนล 11/12 ช่องอินพุตเป็นแบบแจ็ค mini 3.5 เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น Tablet หรือ สมาร์ทโฟน ใช้สำหรับเปิดเพลง หรือนำเสียงจาก Source อื่นเข้าสู่ระบบของมิกเซอร์ ในกรณีรุ่นนี้เมื่อเชื่อมต่อ USB เข้ากับคอมพิวเตอร์ ให้กดที่ปุ่ม USB 3-4 Switch เพื่อให้สัญญาณเสียงเข้าสู่แชนแนลนี้แทนที่ Line In ผ่านสาย USB นั่นเอง 

คู่มือมิกเซอร์อนาล็อก 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

สายสัญญาณเสียง Balance และ Unbalance ในสตูดิโอ

รูปแบบของสัญญาณ และสายสัญญาณ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿5,800.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿7,490.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿6,290.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿4,990.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿14,190.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿11,190.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿8,490.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿2,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿4,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿3,660.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿5,870.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿3,550.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿14,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿11,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿9,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿12,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

ต่อมา… คือ ส่วนของการปรับแต่งสัญญาณเสียง หลังจากที่ผ่านอินพุต เข้ามาในมิกเซอร์แล้ว อธิบายตามรูปภาพได้ดังต่อไปนี้

หมายเลข 1 Gain และ Compressor ในส่วนของ Gain นั้นจะทำหน้าที่ในการปรับแต่ง ความแรงของสัญญาณเสียง ที่เข้ามาผ่านอินพุตเพื่อขยาย หรือลดความแรงของสัญญาณ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมที่สุด และควรหลีกเลี่ยงการเปิด Gain ที่มากจนเกินไป เพื่อเลี่ยงการเกิดอาการแตกพร่า (Distortion) และ Compressor จะทำหน้าที่ในการควบคุม ความแรงของสัญญาณเสียง (Dynamic) ไม่ให้แรงเกินกว่าที่กำหนด หรือป้องกันเสียงกระชากนั่นเอง

หมายเลข 2 EQ (Equalizer) ทำหน้าที่ในการควบคุม เพิ่ม หรือลดย่านความถี่ของเสียง (Frequency) ให้โทนเสียงออกมาตามต้องการ ซึ่งโดยปกติแล้วมิกเซอร์หลายๆรุ่น จะมีปุ่มให้หมุนปรับได้อยู่ 3 ปุ่ม คือ เสียงสูง (Hi) , เสียงกลาง (Mid) และ เสียงต่่ำ (Low) บางรุ่นจะมี ปุ่มหมุนปรับ Eq Sweep ให้สามารถเลือกความถี่ที่ต้องการ เพิ่มและลดได้

หมายเลข 3 Phantom Switch ทำหน้าที่ในการจ่ายไฟ 48V ให้กับ ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ (Condenser) ซึ่งเป็น ไมโครโฟน ประเภทที่จำเป็นต้องใช้ไฟ DC เลี้ยง เพื่อให้สามารถทำงานได้นั่นเอง รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ไฟ 48V

หมายเลข 4 HI-Z Switch กดปุ่มนี้เมื่อต่อมิกเซอร์ กับอุปกรณ์ที่มีค่า Impedance ความต้านทานสูงๆ สัญญาณเป็น Unbalanced เช่น กีตาร์ หรือเบส เป็นต้น ปุ่ม HI-Z จะทำหน้าที่ปรับค่าความต้านทานของมิกเซอร์ให้เข้ากับเครื่องดนตรี ทำให้มีอัตราขยาย และโทนเสียง เป็นปกติ โดยไม่ต้องใช้ Di.box

หมายเลข 5 Low Cut Switch คือ ลักษณะการทำงานรูปแบบหนึ่งของ EQ โดยเป็นการตัดย่านความถี่เสียงที่ไม่ต้องการออกไป เช่น Low Cut 100Hz ความหมาย คือ ย่านความถี่ตั้งแต่ 100Hz ลงไปจะถูกตัดออกไปทั้งหมดนั่นเอง ซึ่งในมิกเซอร์บางรุ่นอาจจะใช้คำว่า High Pass Filter ก็ได้เช่นกัน   

คู่มือมิกเซอร์อนาล็อก

เมื่อเราปรับแต่งสัญญาณอินพุต ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว ต่อไปก็คือในส่วนของภาค Effect อธิบายตามรูปภาพได้ดังต่อไปนี้

หมายเลข 1 FX Presets คือเอฟเฟคที่ได้มีการ Built In เข้ามาอยู่ในตัวมิกเซอร์ โดยจะประกอบไปด้วยเอฟเฟคประเภท Modulation เป็นหลัก ตัวอย่างเช่น Delay , Chorus และ Reverb ซึ่งสามารถเลือกใช้ และเปิดปิดเอฟเฟคได้ด้วยการกด FX Mute Switch 

หมายเลข 2 FX Knob ทำหน้าที่ปรับความดังเบา จัดบาลานซ์ระหว่างสัญญาณเสียงจากอินพุต และเสียงเอฟเฟค ในแต่ละแชนแนล

หมายเลข 3 FX Fader ทำหน้าที่ปรับความดังเบา ของสัญญาณเอฟเฟคเสียงโดยรวม

หมายเลข 4 FX Send ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เอฟเฟคภายนอกอื่นๆ 

หมายเลข 5 Insert ทำหน้าที่รับการต่อพ่วง กับอุปกรณ์เสียงภายนอก เช่น Compressor Gate Effect เป็นต้น

หมายเลข 6 Foot Switch ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ Foot Switch Controller เพื่อใช้ในการสั่งเปิดปิด FX Presets แทนการใช้ปุ่ม FX Mute 

คู่มือมิกเซอร์อนาล็อก

ในส่วนต่อไปก็จะเป็นในส่วนของภาค เอาต์พุต (Output) เป็นส่วนที่นำสัญญาณเสียงที่เข้ามาสู่มิกเซอร์ ส่งออกไปยังอุปกรณ์ขยายเสียงต่อไป จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง อธิบายตามรูปภาพได้ดังต่อไปนี้

หมายเลข 1 Pan Knob ทำหน้าที่ปรับเปลี่ยน เคลื่อนย้ายตำแหน่งของเสียงให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น ถ้าหมุน Knob ไปทางซ้าย (L) ตำแหน่งของเสียงก็จะออกมาทางด้านซ้าย ถ้าหมุน Knob ไปทางขวา (R) ตำแหน่งของเสียงก็จะออกมาทางด้านขวา หรือถ้าหมุนมาอยู่ตรงกลาง (C) ตำแหน่งของเสียงก็จะอยู่ตรงกลางนั่นเอง 

หมายเลข 2 Mute Switch ทำหน้าที่เปิดปิดสัญญาณเสียงที่เข้ามาในมิกเซอร์ผ่าน Input เพื่อไม่ให้สัญญาณเสียงถูกส่งไปยังภาค Output ซึ่งแต่ละปุ่มก็จะควบคุมในแต่ละแชนแนลได้อย่างอิสระ

หมายเลข 3 Channel Fader ทำหน้าที่เพิ่ม ลด และจัดบาลานซ์ ความดังเบาในแต่ละแชนแนล ก่อนที่สัญญาณเสียงจะถูกส่งไปยัง Main Output นั่นเอง

หมายเลข 4 Main Out Fader ทำหน้าที่เพิ่มลดความดังเบาของสัญญาณเสียง ที่ถูกส่งไปยัง Main Output 

หมายเลข 5 Break Switch (Mutes All Channels) ปุ่มนี้จะทำหน้าที่ในการเปิดปิดสัญญาณเสียงที่ถูกส่งไปยังช่อง Main Output

หมายเลข 6 Main Output Meters ทำหน้าที่แสดงผลความดังเบาของสัญญาณเสียงที่ถูกส่งออกไปยัง Main Output 

หมายเลข 7 Main Output ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับอปกรณ์ขยายเสียงต่างๆ เช่น เพาเวอร์แอมป์ หรือ ลำโพงขยายเสียง เป็นต้น เพื่อส่งสัญญาณเสียงจากมิกเซอร์ทั้งหมด ไปยังอุปกรณ์ขยายเสียงต่อไป ซึ่งพอร์ทในการเชื่อมต่อสัญญาณจะเป็นทั้ง XLR และ TRS ที่เป็นสัญญาณ Balanced และ TS ที่เป็นสัญญาณ Unbalanced แต่ในการเชื่อมต่อ ต้องเลือกเชื่อมต่อในรูปแบบใด รูปแบบหนึ่งเท่านั้น 

หมายเลข 8 Headphone Volume ทำหน้าที่เพิ่มลดความดังเบาของสัญญาณเสียง ที่ถูกส่งไปยังหูฟัง Headphone Output 

หมายเลข 9 Headphone Output ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ Headphone (หูฟัง) เพื่อส่งสัญญาณเสียงจากมิกเซอร์ทั้งหมด ไปยังหูฟังนั่นเอง 

หมายเลข 10 Blend Knob ในกรณีที่เชื่อมต่อ USB กับคอมพิวเตอร์ จะทำหน้าที่จัดการบาลานซ์ ความดังเบาของสัญญาณเสียง จาก Input และ USB ยกตัวอย่าง เมื่อหมุน Knob มาทาง Input จะเป็นการเพิ่มความดังสัญญาณเสียงจาก Input และลดความดังสัญญาณเสียงจาก USB นั่นเอง 

ในส่วนสุดท้าย นั่นก็คือในส่วนของการแสดงผลลัพธ์ (Monitor) และการทำ Group หรือ Bus อธิบายตามรูปภาพได้ดังต่อไปนี้

หมายเลข 1 Auxiliary (Aux-Send) ทำหน้าที่ในการจ่ายสัญญาณเสียงจาก Input ในแต่ละแชนแนลไปยังลำโพงมอนิเตอร์ เพื่อเป็นการช่วยให้ผู้ทำการแสดงอยู่บนเวทีได้ยินเสียงของตนเอง ซึ่งแต่ละแชนแนลสัญญาณ จะมี Knob ควบคุมความดังเบา ของการจ่ายสัญญาณเสียง ในแต่ละแชนแนลได้อย่างอิสระ 

หมายเลข 2 Aux Master ทำหน้าที่เพิ่มลดความดังเบาโดยรวมของการจ่ายสัญญาณเสียง ที่ถูกส่งไปยังลำโพงมอนิเตอร์

หมายเลข 3 FX To Monitor ทำหน้าที่เพิ่มลดดังเบาของเสียงเอฟเฟคต่างๆที่ส่งไปยังลำโพงมอนิเตอร์

หมายเลข 4 Monitor Send ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อกับลำโพงมอนิเตอร์ เพื่อส่งสัญญาณเสียงไปยังลำโพงมอนิเตอร์นั่นเอง ซึ่งสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งสัญญาณ Balanced และ Unbalanced 

หมายเลข 5 L-R (Assign Switch to Main) เมื่อกดปุ่มนี้จะเป็นการกำหนดให้แชนแนลนั้นๆ ส่งสัญญาณเสียงไปที่ Main Output ซึ่งแต่ละแชนแนลก็จะมีปุ่มนี้เพื่อที่จะสามารถควบคุมได้อย่างอิสระ 

หมายเลข 6 To Phone/Control Room Switch เมื่อกดปุ่มนี้จะเป็นการส่งสัญญาณส่งสัญญาณไปยังห้องควบคุมระบบเสียง ต่อเข้ากับลำโพงมอนิเตอร์ เพื่อเป็นการฟังสัญญาณเสียงที่ถูกส่งออกไปยัง Main Out 

หมายเลข 7 Control Room Volume ทำหน้าที่เพิ่มลดความดังเบาของสัญญาณเสียง ที่ถูกส่งไปยัง Control Room

หมายเลข 8 Control Room Output ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเสียงของ Control Room โดยเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ขยายเสียงต่างๆ เช่น ลำโพงขยายเสียง พอร์ทในการเชื่อมต่อสัญญาณ สามารถเชื่อมต่อได้ทั้ง TRS ที่เป็นสัญญาณ Balanced และ TS ที่เป็นสัญญาณ Unbalanced 

หมายเลข 9 1-2 (Assign Switch to SUB) เมื่อกดปุ่มนี้ จะเป็นการกำหนดให้แชนแนลนั้นๆ ส่งสัญญาณเสียงไปที่แชนแนล SUB 1-2 เพื่อที่จะสามารถควบคุม ความดังเบาสัญญาณเสียงของทุกแชนแนล ที่ถูกส่งมาได้พร้อมๆกัน โดยการเลื่อน SUB Fader หรือพูดง่ายๆ ก็คือการทำ Group หรือ Bus นั่นเอง

หมายเลข 10 SUB Fader ทำหน้าที่ เพิ่มลดความดังเบาสัญญาณเสียงทุกแชนแนล ที่ถูกส่งมายังแชนแนล SUB 1-2 นั่นเอง และการกดปุ่ม L-R ก็จะเป็นการส่งสัญญาณเสียงที่ถูก Bus รวมกันในแชนแนลนี้ ไปยัง Main Output อีกด้วย

หมายเลข 11 SUB Output ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเสียงของแชนแนล SUB 1-2 หรือ ฺBus โดยเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ขยายเสียงต่างๆ เช่น ลำโพงขยายเสียง พอร์ทในการเชื่อมต่อสัญญาณ สามารถเชื่อมต่อได้ทั้ง TRS ที่เป็นสัญญาณ Balanced และ TS ที่เป็นสัญญาณ Unbalanced 

หมายเลข 12 PFL SOLO สำหรับกดฟังเสียงแชนแนลที่ต้องการ ผ่านหูฟัง หรือสตูดิโอมอนิเตอร์ 

 

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

มิกเซอร์

Mackie MainStream

฿13,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿26,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿880,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿1,100,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿1,980,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿376,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿66,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿35,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿47,078.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿53,499.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿306,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿255,800.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿5,556,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿1,530,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

นอกจากนี้มิกเซอร์ยังถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท นั่นคือ อนาล็อกมิกเซอร์ (Analog Mixer) , ดิจิตอลมิกเซอร์ (Digital Mixer) และพาเวอร์มิกเซอร์ (Power Mixer)

  • อนาล็อกมิกเซอร์ (Analog Mixer) เป็นมิกเซอร์ที่ผู้ใช้ต้องควบคุมด้วยมือตัวเองทุกอย่าง ไม่มีเพาเวอร์แอมป์ในตัวเอง จึงทำให้มิกเซอร์ประเภทนี้มีราคาที่ถูก มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่หลายช่องสัญญาณ มิกเซอร์ประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ และประเภทของงานที่ไม่ต้องการความซับซ้อนยุ่งยากนั่นเอง

 

  • ดิจิตอลมิกเซอร์ (Digital Mixer) ขึ้นชื่อว่าเป็น “ดิจิตอล” แน่นอนว่าต้องมีความทันสมัยกว่า อนาล็อกมิกเซอร์ มิกเซอร์ประเภทนี้มีความหลากหลาย และมีอิสระในการใช้งาน มากกว่ามิกเซอร์ประเภทอื่นๆ อีกทั้งในเรื่องของแอพพลิเคชั่น ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมมิกเซอร์ได้จากระยะไกล โดยใช้คอมพิวเตอร์ , Tablet หรือ iPad แถมยังมีฟังก์ชั่น save scene ที่ทำให้เราสามารถบันทึกการปรับแต่งเสียงต่างๆเอาไว้ เพื่อที่จะสามารถนำค่าที่บันทึกไว้กลับมาใช้งานได้อีก ถือสะดวกสบาย และประหยัดเวลาในการติดตั้งระบบเสียงไปได้มากเลยทีเดียว แต่ก็จะทำให้มีราคาที่สูงกว่าอนาล็อกมิกเซอร์ตามไปด้วย

 

  • เพาเวอร์มิกเซอร์ (Power Mixer) เป็นมิกเซอร์ที่มีเพาเวอร์แอมป์ Built In เข้ามาในตัวนั่นเอง เหมาะสำหรับงานที่ใช้ชุดลำโพง PA แบบ Passive ซึ่งจะสะดวกสบายในการขนย้าย เนื่องจากหมดปัญหาที่ต้องขนไปทั้งมิกเซอร์ ทั้งเพาเวอร์แอมป์นั่นเอง เพราะมิกเซอร์ประเภทนี้ได้รวมเพาเวอร์แอมป์มาให้คุณแล้ว ในส่วนของการควบคุมเพาเวอร์มิกเซอร์นั้น ส่วนใหญ่แล้วยังคงต้องควบคุมด้วยระบบอนาล็อก หรือด้วยมือตัวเอง

ติดตาม Facebook AT Prosound

บทความโดย : ณัฐพจน์ วิจารัตน์

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿9,490.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เพาเวอร์มิกเซอร์

myNPE GT-630

฿5,150.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เพาเวอร์แอมป์ระบบประกาศ-ระบบประชุม-แบ็คกราวด์มิวสิค

Bose FREESPACE IZA 2120-LZ DM+FS EQ

฿41,800.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

เพาเวอร์มิกเซอร์ระบบประกาศ

NPE CF-50A

฿7,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เพาเวอร์มิกเซอร์ระบบประกาศ

NPE LDA-550

฿9,720.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

เพาเวอร์มิกเซอร์

PROEUROTECH PMX-MC4200

฿4,850.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เพาเวอร์มิกเซอร์

PROEURO TECH PMX-P12450FX

฿11,020.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เพาเวอร์มิกเซอร์

PROEURO TECH PMX-P8650FX

฿11,020.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เพาเวอร์มิกเซอร์

PROEURO TECH PMX-P8450FX

฿9,890.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เพาเวอร์มิกเซอร์

PROEURO TECH PMX-P8300FX

฿8,550.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เพาเวอร์มิกเซอร์

PROEURO TECH PMX-P6650FX

฿10,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เพาเวอร์มิกเซอร์

PROEURO TECH PMX-P6450FX

฿9,270.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เพาเวอร์มิกเซอร์

PROEUROTECH PMX-ML12650FX

฿9,580.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เพาเวอร์มิกเซอร์

PROEUROTECH PMX-ML6650FX

฿7,200.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เพาเวอร์มิกเซอร์ระบบประกาศ

MUSIC MKL-3000

฿40,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ปรีแอมพลิฟายเออร์

ITC T-6232

฿35,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น