เกร็ดความรู้ เรื่องมิกเซอร์

ความรู้เรื่อง Mixer

ความรู้เรื่อง Mixer | รวมบทความ “ความรู้เรื่องมิกเซอร์” จาก AT Prosound เช่น บทความรีวิว , บทความเปรียบเทียบสินค้า

และไกด์ไลน์ต่าง ๆ ที่เป็นเกร็ดความรู้ไม่มากก็น้อย มาให้ชาว AT ทุกท่านได้อ่านกันครับ

ความรู้เรื่องมิกเซอร์

 

 

สารบัญ

 

 

 

ปุ่ม HI-Z คืออะไร?

Mixer

 

ปุ่ม HI-Z คืออะไร?

ในมิกเซอร์อนาล็อกหลาย ๆ รุ่น รวมถึงซาวด์การ์ด Z เป็นสัญญลักษณ์แทนค่าความต้านทานรวมของวงจรไฟฟ้า หรือค่า Impedance
ดังนั้น HI-Z ก็คือ ค่าความต้านทานสูง

HI-Z Input มักอยู่ในมิกเซอร์อนาล็อกหลาย ๆ รุ่น รวมถึงซาวด์การ์ดด้วย เป็นช่องสำหรับต่อกับอุปกรณ์ที่มีค่า Impedance สูง ๆ
ยกตัวอย่างก็คือ เครื่องดนตรีที่ไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยง อย่างเช่น กีต้าร์ เบส ที่มีความต้านทานสูง

จึงต้องปรับความต้านทานของมิกเซอร์ให้เข้ากับเครื่องดนตรี ทำให้เพิ่มอัตราขยายของเสียงให้ดังเป็นปกติในภาคปรีแอมป์ ให้เสียงไม่บี้ ไม่ดรอป
โดยการกดปุ่ม HI-Z นั่นเอง

กลับสู่สารบัญ

 

 

 

ปุ่ม Comp บนมิกเซอร์อนาล็อก

 

Mixer

 

เชื่อว่าบางคนไม่ค่อยกล้าใช้ปุ่ม Comp หรือจริง ๆ แล้วก็คือ Compressor นั่นเอง เหมือนจะดูใช้ง่ายก็ว่าง่าย จะดูใช้ยากก็ว่ายาก

แล้วค่า Threshold , Ratio และ Make up Gain มันอยู่ในปุ่มเดียวกันได้อย่างไร ?

ที่จริงแล้ว… ค่าพารามิเตอร์ทั้ง 3 ค่า นั้นออกแบบให้ทำงานสอดคล้องกัน ดังนี้ :

  • กรณีไม่บิดปุ่ม : Threshold หรือจุดที่จะเริ่มการกดสัญญาณจะอยู่สูง , Ratio อัตราการบีบสัญญาณจะน้อยมาก หรือไม่มีเลย
    ดังนั้นจึงไม่มีการกดสัญญาณเกิดขึ้น
  • กรณีที่บิดปุ่มไปทางขวาสุด : Threshold อยู่ในระดับที่ต่ำลง สัญญาณใด ๆ ก็ตามที่สูงเกิน Threshold ขึ้นไปจะถูกกดสัญญาณลงมา
    Ratio อัตราการบีบสัญญาณก็จะเยอะตามไปด้วย และ Make Up Gain จะทำงานเพื่อชดเชยความดังที่เสียไป จากการถูกกดสัญญาณ
กลับสู่สารบัญ

 

 

 

ไฟ +48V หรือ Phantom

Mixer

 

ไฟ +48V หรือ Phantom

เป็นระบบไฟ DC กระแสต่ำ ๆ สำหรับเลี้ยงวงจร Active เช่น DI Box , Mic Condenser โดยขั้ว 1 เป็นกราวด์ ขั้วที่ 2 และ 3 ของ XLR
จะเป็นไฟกระแสตรงขั้วบวก (+)

ความต่างศักย์ของขา 2 และ 3 จึงเท่ากัน และไม่ส่งผลกระทบต่อสัญญาณเสียง ที่ใช้สายสัญญาณร่วมกัน แต่การใช้งานระบบไฟ +48V
ต้องใช้สายแบบ Balanced เท่านั้น

และอย่าเผลอกดปุ่ม Phantom เมื่อใช้กับอุปกรณ์อื่นที่ไม่ต้องการไฟเลี้ยง อุปกรณ์บางอย่างอาจเสียหาย เพราะไฟ 48V ได้

กลับสู่สารบัญ

 

 

 

AES/EBU

Mixer

 

เป็นพอร์ตเชื่อมต่อ รับ/ส่ง เสียงแบบดิจิตอล พบได้ในอุปกรณ์เสียงดิจิตอลแบบมืออาชีพ ใช้งานกับสายสัญญาณ Balanced (110 โอห์ม)
และ Unbalanced (75 โอห์ม) เท่านั้น

กลับสู่สารบัญ

 

 

 

Flamma FM 10 ทำอะไรได้บ้าง

Mixer

 

มิกซ์ดิจิตอลตัวเล็ก ราคา 4,990.-

ควบคุมมิกเซอร์ผ่าน USB Type C พร้อมจ่ายไฟเลี้ยงไม่ต้องเสียบปลั๊ก

กลับสู่สารบัญ

 

 

 

Pre Amplifier

Mixer

 

Pre Amplifier (ปรีแอมพลิไฟเออร์)

เป็นวงจรหนึ่งของอุปกรณ์เครื่องเสียง ทำหน้าที่ขยายสัญญาณ ซึ่งสิ่งที่ทำให้มีโทนเสียงที่แตกต่างกัน

จะโทนอุ่นหนา หรือปลายแหลมใส หรือมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ก็เป็นเพราะภาคขยายสัญญาณครับ เหตุที่ทำให้มิกเซอร์บางรุ่นมีราคาที่สูง
ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่าคุณภาพภาคขยายสัญญาณ

Pre Amplifier มี 2 ประเภทครับ แบ่งเป็น

  • Valve / Vacuum Tube : ประเภทหลอดสูญญากาศ ส่วนใหญ่พบได้ในแอมป์กีตาร์บางรุ่น
  • Solid State :ใช้ทรานซิสเตอร์ พบได้ในอุปกรณ์เสียงทั่วไป
กลับสู่สารบัญ
สินค้ามีรุ่นทดแทน
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿6,990.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้ามีรุ่นทดแทน
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿3,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿2,480.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿2,170.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
-10%
฿22,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
-10%
฿15,660.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿1,910.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿2,290.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿2,800.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

 

 

 

มิกซ์เล็กตัวไหนถูกใจกว่ากัน

Mixer

 

มิกซ์เล็กตัวไหนถูกใจกว่ากัน

มิกซ์เล็ก ๆ ที่ตอบโจทย์การใช้งาน และฮิตที่สุด ณ ตอนนี้ คงต้องยกให้ 3 รุ่นนี้ครับ 

  • ALTO ZMX100 มิกเซอร์ที่เป็นได้ทั้ง Audio Interface เชื่อมต่อได้ทั้งสมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ ทั้งยังมีเอฟฟกต์ในตัวจาก Alesis อีกด้วย
    ที่สำคัญคือมีราคาที่ถูก
  • FLAMMA FM10 มิกเซอร์รุ่นใหม่มาแรง ที่เป็นได้ทั้ง Audio interface ฟังก์ชั่นเยอะคุ้มราคา ควบคุมเสียงผ่านคอมด้วยซอร์ฟแวร์ดิจิตอล พร้อม USB Type C 
  • YAMAHA AG06 การันตรีคุณภาพเสียงแบบมืออาชีพ มิกเซอร์ประสิทธิภาพสูง ประมวลผลด้วยความละเอียด 24-bit/192kHz กระทัดรัด
    ดีไซน์หรูระดับพรีเมี่ยม

 

Mixer

 

กลับสู่สารบัญ

 

 

 

3 เหตุผลที่คนยังใช้มิกซ์อนาล็อก

Mixer

 

3 เหตุผลที่คนยังใช้มิกเซอร์อนาล็อก

แม้ว่า Mixer Digital จะราคาถูกลงแล้ว แต่ทำไมถึงยังมีคนที่นิยมใช้แบบอนาล็อกอยู่ เหตุผลคือ

  • มิกเซอร์อนาล็อกใช้ง่าย มีปุ่มไหนเห็นหมดไม่ซ่อนหน้า
  • โทนเสียงคือของแท้ ๆ ตามแบบฉบับ เสียงไปตามมือหมุน มิกเซอร์ดิจิตอลบางรุ่นยังให้ความรู้สึกนี้ไม่ได้ Sound Engineer ของศิลปินบางท่าน
    ก็ยังเลือกใช้มิกเซอร์อนาล็อก
  • บางการใช้งาน ก็ไม่ต้องการฟังก์ชั่นละเอียดเหมือนดิจิตอล เช่นงานพูด งานบรรยายทั่วไป ก็จะใช้ง่ายติดตั้งง่ายกว่ามิกเซอร์ดิจิตอล
กลับสู่สารบัญ

 

 

 

มิกเซอร์ดิจิตอล DiGiCo

Mixer

 

มิกเซอร์ดิจิตอล DiGiCo ที่ได้การยอมรับว่า เป็นมิกเซอร์ที่ดีที่สุดในโลก

หน้าตาอาจจะดูไม่สะดุดตาเท่าไหร่ แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การทำงาน คุณภาพเสียงที่เป็นที่ยอมรับ จึงทำให้ติดอยู่ใน Rider List ของศิลปินระดับโลก เช่น

  • Bruno Mars
  • Madonna
  • และอื่น ๆ อีกมากมาย

ด้วยราคาที่สูงเกือบสิบล้านอย่างรุ่น SD7 จึงพบเห็นได้น้อยในบ้านเรา แต่ DiGiCo ก็ได้ผลิตรุ่นเล็กอย่าง S series ในราคาที่เอื้อมถึง
อย่างในรูปเป็นรุ่น S31 ราคา 454,000.-

รองรับสูงสุด 48 ช่อง ที่ความละเอียดเสียง 96kHz คุณภาพสูงมาก ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้อยากใช้มิกเซอร์แบนรด์ระดับโลก
ในราคาหลักแสน

กลับสู่สารบัญ

 

 

 

กราฟเทียบความแตกต่างระหว่าง 44.1kHz กับ 96kHz

Mixer

 

กราฟเทียบความแตกต่างระหว่าง 44.1kHz กับ 96kHz

เมื่อเป็นมิกเซอร์ดิจิตอล ก็ต้องแปลงสัญญาณเสียงจากอนาล็อค เป็นดิจิตอล

ดังนั้น คุณภาพของภาคประมวลผล “ยิ่งสูง ยิ่งดี”

เพื่อที่จะได้ความละเอียดของเสียง มีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น

กลับสู่สารบัญ

 

 

 

มิกซ์เสียงแล้วรก Gate ช่วยได้

Mixer

 

มิกซ์เสียงแล้วรก Gate ช่วยได้

มิกซ์เสียงเท่าไหร่ก็ไม่ได้ดั่งใจสักที ไม่ชัด ไม่เคลียร์ เพราะเครื่องดนตรีกวนกันเยอะ แนะนำให้ใช้ Gate เครื่องมือที่ใช้เพื่อตัดเสียงรบกวนออก

วิธีปรับโดยการเปรียบเทียบอัตราสัญญาณเครื่องดนตรีหลัก กับเสียงรบกวนจากเครื่องดนตรีชิ้นอื่น ระดับความดังจะต่างกันพอสมควร

ตั้งอัตรา Attack และ Release ให้เหมาะสมของเสียงดนตรีหลัก และเสียงเครื่องดนตรีชิ้นอื่นที่เข้ามารบกวน ก็จะช่วยให้เสียงออกมาเคลียร์ขึ้น

กลับสู่สารบัญ

 

 

 

dBu กับ dBFS ต่างกันอย่างไร

Mixer

 

dBu กับ dBFS ต่างกันอย่างไร

dB scale ของมิกซ์ดิจิตอลและอนาล็อก..ไม่เท่ากัน!

ไฟที่วิ่งตามความดัง เรียกว่า dB Scale คนที่อยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านจากมิกซ์อนาล็อก เป็นดิจิตอลก็คงสับสนกันบ้าง เพราะมาตรฐานไม่เท่ากัน

  • มิกซ์อนาล็อกใช้ dBu มีจะจุดอ้างอิงที่ 0 dBu (0.775 V )
  • มิกซ์ดิจิตอลใช้ dBFS มีจะจุดอ้างอิงที่ -18 dBFS ( 1.228 V )

ห่างกันถึง 0.453 V หากเกิดความสับสนในการใช้งานว่าควรอ้างอิง dB Scale แบบไหน มีทริคให้ดูที่สีไฟสถานะ สีแดงแปลว่าอันตราย
หรืออ้างอิงตามมิกเซอร์ที่เราใช้ได้เลย

กลับสู่สารบัญ
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿28,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿622,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿134,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿25,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿4,990.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿29,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿8,650,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

 

7 ย่านความถี่เสียง อยู่ช่วงไหน

Mixer

7 ย่านความถี่เสียง อยู่ช่วงไหน

หูคนได้ยินตั้งแต่ 20Hz ถึง 20,000 Hz ในทางระบบเสียง มีการแบ่งช่วงย่านความถี่เป็น 7 ย่าน เพื่อเวลาแก้ไขปัญหาเสียงหรือทำ EQ ก็จะทำงานง่ายขึ้นนั่งเอง

– ย่าน ซับ จะรับรู้ได้ถึงความรู้สึกมากกว่าได้ยิน อยู่ในช่วง 20 ถึง 60 Hz เช่น เสียงกระเดื่อง
– ย่าน เบส สร้างความหนาให้กับเสียง อยู่ในช่วง 60 ถึง 250 Hz เช่น เสียงเบส
– ย่าน มิด โลว มีในเครื่องดนตรีเกือบทุกชนิดจึงต้องจัดการความถี่ให้ดีๆ อยู่ในช่วง 250 ถึง 500 Hz
– ย่าน กลาง อยู่ทั้งในเครื่องดนตรีและไมค์ร้องการปรับอาจทำให้โทนเสียงเปลี่ยนอย่างชัดเจน อยู่ในช่วง 500 ถึง 2 kHz
– ย่าน กลาง แหลม ตอบสนองการได้ยินของเรามากที่สุด อยู่ในช่วง 2 ถึง 4 kHz ทำให้เสียงชัดใส
– ย่าน แหลม สร้างความเคลียร์ บอกถึงตำแหน่งเสียงสูง มีมิติ อยู่ในช่วง 4 ถึง 6 kHz
– ย่าน แอร์ สร้างความโปร่งให้กับเสียงร้องและเครื่องดนตรีจะมีความซิบๆของเสียง อยู่ในช่วง 6 ถึง 20 kHz

หากเราทำความเข้าใจแบ่งแยกย่านความถี่ ในแต่ละช่วงออกได้การทำงานด้านระบบเสียงก็จะรวดเร็ว แม่นยำ ประหยัดเวลามากขึ้นด้วยครับ

กลับสู่สารบัญ

ทำไมไฟ Phantom ต้อง 48V

Mixer

ทำไมไฟ Phantom ต้อง 48V

ในปี ค.ศ. 1966 มีไมโครโฟนแบบทรานซิสเตอร์ชนิดใหม่เกิดขึ้น และผลิตมาเพื่อใช้กับไฟ Phantom เนื่องจากในสตูดิโอสมัยนั้นมีระบบไฟฉุกเฉินที่ใช้ไฟ Phantom 48 โวลต์ อยู่แล้ว ไฟ Phantom จึงถูกใช้เพื่อจ่ายไฟให้กับไมโครโฟนรุ่นใหม่นี้ด้วย (รุ่น KM 84) ต่อมาไฟ Phantom ก็ได้รับมาตรฐานในภายหลังและถูกติดตั้งมาในมิกเซอร์ และไมค์หลายๆรุ่นก็ผลิตมาให้ใช้กับไฟ Phantom 48 โวลต์ นั้นเองครับ
แหล่งข้อมูลอ่านเพิ่มเติม https://en.wikipedia.org/wiki/Phantom_power
สาเหตุที่ไฟ VU ไม่ขึ้น เพราะปุ่มปุ่ม PFL
Mixer
สาเหตุที่ไฟ VU ไม่ขึ้น เพราะปุ่มปุ่ม PFL
บางทีมักเจอปัญหาไฟ VU ของมิกเซอร์ไม่ขึ้น จนงง แล้วมาอ๋อภายหลังว่าเราเผลอไปกด PFL แล้วลืม
PFL คือ Pre-Fade Listen เป็นปุ่มที่ใช้กดฟังเสียงของ CH นั้นก่อนที่จะสไลด์เฟสเดอร์ขึ้น ปุ่ม PFL มักจะอยู่ด้านบนของช่อง Fader ใน ถ้ากดจะมีไฟ LED สีแดงจะติดขึ้นเสียงจะถูกส่งไปออกที่ช่องหูฟังโดยไม่ขึ้นกับ Fader ถ้าเราไปกด PFL ช่องใดช่องหนึ่งค้างไว้ จะทำให้ไฟ VU แสดงเสียงรวมของ MAIN MIX ไม่ขึ้น ฉะนั้นหลักจากกดเช็คสัญญาณเสียงด้วย ปุ่ม PFL แล้วต้องกดออกทุกครั้ง หรือต้องตรวจสอบว่ามีช่องใดกด PFL ค้างไว้หรือไม่ เพื่อให้ไฟ VU ของมิกเซอร์ขึ้นปกติครับ
สรุปง่ายๆคือ PFL เราเอาไว้กดฟังเสียงของชาแนลนั้นในหูฟังนั้นเองครับ หากกดแล้วก็ควรกดออกเพื่อให้ VU มิกเซอร์แสดงผลปกตินั้นเองครับ

ปุ่ม PAN ทำหน้าที่อะไรบนมิกเซอร์

Mixer

ปุ่ม PAN ทำหน้าที่อะไรบนมิกเซอร์

“ สิ่งที่ทำให้เกิดมิติสเตอริโอ ก็คือปุ่ม Pan “

เป็นปุ่มที่เราสามารถเลือกการ Pan ไปด้านซ้ายหรือขวาของแต่ละช่อง ว่าจะให้มีผลต่อตำแหน่งของสัญญาณไปทางไหน โดยส่วนมากปุ่มคำสั่งนี้จะใช้เพื่องานบันทึกเสียงหรือการกำหนดตำแหน่งของสัญญาณเสียงให้เกิดมิติซ้ายขวาในงาน Live Sound และยังทำหน้าที่เป็น ตัวถ่ายโอนสัญญาณร่องเสียง (track) เพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องบันทึกเทปอีกด้วยครับ

เราทำความเข้าใจกับปุ่มต่างๆ ได้ง่ายๆโดยสังเกตจากอักษรที่อยู่กับปุ่มนั้น เช่น ปุ่ม PAN ก็สังเกตที่ปุ่มส่วนมากจะมีอักษร L R ซึ่งเป็นอักษรที่แสดงทิศทาง ซ้าย ขวา ที่เราต้องการปรับเพื่อกำหนดตำแหน่งสัญญาณของช่องนั้น นั่นเองครับ

AES/EBU คืออะไร ใช้งานอย่างไร

Mixer
AES/EBU คืออะไร ใช้งานอย่างไร
AES/EBU คือช่อง Output ดิจิตอลที่เป็นสเตอริโอในช่องเดียว
AES/EBU ที่เราเคยเห็นเป็นช่องเสียบแบบ XLR อยู่หลังมิกเซอร์หรือโปรเซสเซอร์บางตัว เป็นการส่งสัญญาณเสียงแบบดิจิตอล 2 แชนแนลในสายเส้นเดียว AES/EBU หรือ AES3 เป็นแบบ PCM (Pulse Code Modulation) ซึ่งสามารถพบเห็นได้ไม่ยากในระบบเสียงปัจจุบัน โดยการส่งสัญญาณเสียงจะเป็นดิจิตอลตลอดเส้นทาง โดยไม่ต้องถูกแปลงสัญญาณ 0 ไปมา ดังนั้นระบบ AES3 จึงมีไว้เพื่อคงคุณภาพของเสียงเอาไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ในการใช้งานระบบ AES3 จะใช้ได้ระหว่างอุปกรณ์เสียงที่มีการรองรับพอร์ตเชื่อมต่อแบบ AES3 เท่านั้น และควรเลือกใช้สายสัญญาณดิจิตอลให้ตรงตามอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น หากอุปกรณ์เสียงรุ่นที่ใช้มีพอร์ตเชื่อมต่อ XLR ให้เลือกใช้เป็นสาย Balanced ที่มีค่า Impedance ที่ 110 ohms หรือสาย Unbalanced มีค่า Impedance ที่ 75 ohms หากเป็นพอร์ตเชื่อมต่อ S/PDIF ควรเลือกใช้เป็นสาย Optical ครับผม

#ส่งต่อคุณภาพเสียงส่งต่อความสุข

เข้าชมบทความอื่นๆ จาก AT Prosound

ติดตามเพจ AT Prosound

บทความโดย เอกพัฒน์ มั่นคง

 


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น