ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ชุดเครื่องเสียงพร้อมใช้
ชุดเครื่องเสียงพร้อมใช้
ชุดเครื่องเสียงพร้อมใช้
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
รวมผลงานติดตั้งโดย ATผลงานทั้งหมด
เครื่องเสียงห้องจัดเลี้ยง สัมมนา
ชุดเครื่องเสียง ห้องจัดเลี้ยง สัมมนา, ดนตรีสด, ระบบเสียง โรงแรม, เครื่องเสียงร้านอาหาร, เครื่องเสียงคอนเสิร์ต, ติดตั้งเครื่องเสียงห้องจัดเลี้ยง, ติดตั้งเครื่องเสียงห้องสัมมนา
เครื่องเสียงห้องจัดเลี้ยง สัมมนา คือ ระบบเสียงที่ทาง โรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า จัดหา เพื่อกระจายเสียง จัดงาน และสร้างความบันเทิง จึงจำเป็นต้องมีนำเสียงที่ดี ชัดเจน ในราคาที่เหมาะสม
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกใช้ชุดเครื่องเสียงใน ห้องจัดเลี้ยง
1.ความต้องการ ปรกติห้องจัดเลี้ยงจะต้องรองรับงานพูด พิธีกร เปิดเพลง เป็นหลัก ลำโพงที่ใช้จะเน้นไปที่ ลำโพงเสียงกลางแหลม เพื่อกระจายการสื่อสารที่คมชัดไปยังผู้ฟัง
แต่ในกรณีรองรับดนตรีสดด้วย เสียงต่ำอย่างลำโพงซับเบสจึงมีความสำคัญด้วยเช่นกัน ระบบเสียงจึงขึ้นอยู่กับความต้องการเป็นหลัก
2.ขนาดของสถานที่ ห้องจัดเลี้ยง มีผลต่อการเลือกใช้ประเภทลำโพง และจำนวน ยิ่งสถานที่มีความใหญ่ ระบบขยายเสียงก็จำเป็นต้องใหญ่ตาม ถ้าระบบขยายเสียงมีไม่เพียงพอ นอกจากจะไม่สามารถขยายเสียงให้ดังไปทั่วทั้งห้องได้แล้ว
อาจจะสร้างปัญหาอย่างเช่น เสียงไมค์หอน เสียงแตกพร่า จนถึงอุปกรณ์ระบบเสียงได้รับความเสียหายได้เลย ส่วนห้องที่มีปัญหาเสียงไม่ชัด มีเสียงสะท้อนเยอะ ลำโพงที่ใช้จะต้องเป็นลำโพง Line source เช่น ลำโพงคอลัมน์ ลำโพงไลน์อาเรย์ จะช่วยลดปัญหานี้ได้
3.จำนวน Input และ Output ที่ใช้ ห้องจัดเลี้ยง เพราะ จะเป็นตัวกำหนดความสามารถของ Mixer ที่ต้องใช้ ในกรณีใช้งานเฉพาะพูด พิธีกร เปิดเพลง ก็คงใช้แค่ไม่กี่ Line
แต่สำหรับรองรับดนตรีสด จะต้องรองรับ Line เสียงที่มากขึ้น มิกเซอร์ที่ใช้ต้องมีขั้นต่ำ 16ช่องสัญญาณ ขึ้นอยู่กับรองรับงานที่ใหญ่แค่ไหน ส่วน Output บางครั้งไม่ได้ส่งไปแค่ Main Pa แต่ยังมีทั้ง ลำโพงมอนิเตอร์บนเวที ลำโพง Delay ทีมถ่ายทอดเสียง การวางแผนล่วงหน้าจึงสำคัญ
4.ความสามารถของบุคลากรคุมงาน เป็นสิ่งที่หลายๆท่านมองข้ามไป เมื่อระบบเสียงมีความซับซ้อนมากขึ้น บุคลากรก็ต้องมีความสามารถมากขึ้นตามไปด้วย ค่าตอบแทนย่อมสูงตาม เพราะต้องออกเเบบ จัดการ รวมทั้งดูแลระบบเสียงเป็นประจำอยู่เสมอ ยิ่งระบบใหญ่มาก ผู้ดูแลย่อมต้องใช้จำนวนมากตาม
หลายที่จึงนิยมจัดระบบเสียงเฉพาะงานพูด เปิดเพลง เป็นหลัก ส่วนงานที่ต้องการความเป็น Professional จะนิยมจ้างทีมงานจากภายนอกมามากกว่า เพื่อลดต้นทุน และความผิดพลาดในจุดนี้
ระบบเสียง ชุดเครื่องเสียง ห้องจัดเลี้ยง สัมมนา ประกอบด้วย
ไมโครโฟนที่ใช้ในงานจัดเลี้ยง สัมมนา หรือสำหรับนักดนตรี สามารถใช้ได้ ทั้ง ไมโครโฟนแบบสาย และ ไมโครโฟนแบบไร้สาย ( Wireless Microphone ) ยังสามารถใช้ในการดำเนินพิธีการ สำหรับพิธีกร ( MC ) และการสัมมนาสำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนาต่าง ๆ
รวมไปถึงการใช้งานร่วมกับวงดนตรีเล่นสด เช่น การจ่อตู้กีต้าร์ ( Guitar Amplifier ) การจ่อกลอง ( Drum ) การร้องเพลง เป็นต้น
ใช้ได้ทั้งเครื่องผสมสัญญาณเสียง สำหรับใช้งานใน ห้องจัดเลี้ยง หรือห้องสัมมนา สามารถเลือกใช้งานได้ทั้งมิกเซอร์ดิจิตอล ( Digital Mixer ) และ มิกเซอร์อนาล็อก ( Analog Mixer ) และยังมี เพาเวอร์มิกเซอร์ มาเป็นตัวเลือกอีกหนึ่งตัวเลือก สำหรับ ห้องจัดเลี้ยง ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากได้อีกด้วย
โดยสิ่งที่ต้องควรคำนึงถึงในการเลือกใช้มิกเซอร์ ก็คือ จำนวนแชนแนล ( Channel ) หรือ จำนวนช่องสัญญาณในการใช้งาน ว่าเพียงพอสำหรับการใช้งานหรือไม่ ถ้าใช้งานแค่งานสัมมนา หรืองานเลี้ยงที่รองรับวงดนตรีสด ขนาดเล็ก สามารถใช้ มิกเซอร์ ที่มีจำนวนแชนแนลไม่เยอะได้
แต่ถ้าต้องรองรับงานขนาดใหญ่ แนะนำให้ใช้เป็น มิกเซอร์ดิจิตอล จำนวน 16 ถึง 32 แชนแนล ขึ้นไป จะทำให้เพียงพอต่อการใช้งานมากกว่า และ มิกเซอร์ดิจิตอล ในรุ่นสูง ๆ จะมีฟังก์ชั่น ( Function ) หรือลูกเล่นเสริมต่าง ๆ มาให้เลือกใช้ได้หลากหลาย ทำให้ง่าย และสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
มอนิเตอร์บนเวที ( Monitor ) คือ ตู้ลำโพง สำหรับ ไว้ใช้ให้ ประธาน พิธีกร นักดนตรี ที่ต้องยืนอยู่บนเวที ได้ยินเสียงตนเอง ถ้าเป็นเวทีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะใช้เป็นตู้แบบพ้อยซอส วางกับพื้น สามารถพบเห็นได้ทั้งแบบ Active และแบบ Passive มีขนาดตั้งแต่ 8 นิ้ว ไปจนถึง 15 นิ้ว
แต่ถ้าเป็นในเวทีขนาดใหญ่ สามารถเลือกใช้เป็นตู้แขวน แบบ Line Array เพื่อเป็นมอนิเตอร์ไว้สำหรับใช้ฟังเสียงบนเวทีได้ครับ
( Digital Signal Processor ) เป็นอุปกรณ์สำหรับจัดการสัญญาณเสียง ที่ออกจาก มิกเซอร์ ( Mixer ) ก่อนจะส่งสัญญาณต่อไปเข้า ที่ เพาเวอร์แอมป์ ( Power Amp ) โดยอุปกรณ์ตัวนี้ จะรวมการปรับแต่งหลาย ๆ อย่างเอาไว้ภายในเครื่องเดียว เช่น การปรับแต่ง EQ ( Equalizer ) , การปรับแยกความถี่สัญญาณเสียง ( Crossover ) , การควบคุมระดับสัญญาณเสียง ( Limiter ) , หรือการแยกโซนในการกระจายเสียง ได้อีกด้วย
แต่ถ้าเป็นตู้ลำโพงแบบมีแอมป์ในตัว อาจไม่จำเป็นต้องใช้ ครอสโอเวอร์ครับ เพราะลำโพงแบบ Active จะมีการจัดการสัญญาณเสียงภายในตัวอยู่แล้ว
คือ เครื่องขยายสัญญาณเสียง ในการเลือกเพาเวอร์แอมป์ เพื่อใช้งานใน ห้องจัดเลี้ยง หรือสัมมนา ควรมีการคำนวนกำลัง วัตต์ ( Watt ) ให้เหมาะสมกับตู้ลำโพง ( Speaker ) ที่เลือกใช้งาน เพื่อให้ได้เสียงที่มีคุณภาพ เต็มกำลัง และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับลำโพง หรือ เพาเวอร์แอมป์ได้
แต่ถ้าในกรณีที่ใช้เป็นตู้ลำโพงแบบมีแอมป์ในตัว ( Active ) ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เพาเวอร์แอมป์แยกเช่นกันครับ
การเลือกใช้ตู้ลำโพง สำหรับ ห้องจัดเลี้ยง หรือ ห้องสัมมนานั้น สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ การคำนวนขนาดพื้นที่ มุมกระจายเสียงของลำโพง และปริมาณความดังที่ต้องการ ให้เหมาะสม ตู้ลำโพงที่ ใช้งานในห้องจัดเลี้ยง สัมมนา มีให้เลือกใช้งานได้หลากหลายประเภทด้วยกัน
แต่ที่นิยม จะมี ตู้ลำโพงแบบ พ้อยซอส ตู้ลำโพงแบบคอลัมน์ สามารถใช้ร่วมกับ Subwoofer หรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการ และ ตู้ลำโพงแบบ Line Array สำหรับห้องขนาดใหญ่
เครื่องเสียงห้องจัดเลี้ยง AT Prosound มีอุปกรณ์ระบบเสียงติดตั้งที่เหมาะสมกับ เครื่องเสียง ห้องจัดเลี้ยง สัมมนา ไม่ว่าจะเป็น ไมโครโฟน, ไมโครโฟนไร้สาย, ไมค์ลอย, ไมค์สาย, มิกเซอร์, มิกเซอร์ดิจิตอล, มิกเซอร์อนาล็อก, ลำโพง, สายสัญญาณ เป็นต้น