เทคนิคพื้นฐานระบบเสียงของงานแสดงสด

เทคนิคพื้นฐานระบบเสียงของงานแสดงสด

เทคนิคพื้นฐานระบบเสียงของงานแสดงสด เพื่อให้การทำงานเกี่ยวกับการเเสดงสด มีประสิทธิภาพ พื้นฐานจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ อาจเข้าใจได้ยากในตอนแรก คู่มือนี้จะทำให้คุณเข้าใจในการแสดงสดมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน

 

เทคนิคพื้นฐานระบบเสียงของงานแสดงสด

สารบัญ

  1. การเรียงกันของสัญญาณเสียง
  2. Gain Staging
  3. มิกเซอร์คอนโซล
  4. ความแตกต่างระหว่าง อนาล็อกกับดิจิตอลมิกเซอร์
  5. ลำโพง PA
  6. ลำโพงมอนิเตอร์ เวที (Monitoring)
  7. วิธีหลีกเลี่ยง เสียงหอน (Feedback)

 

ประเภทของระบบเสียง PA (เทคนิคพื้นฐานระบบเสียงของงานแสดงสด)

ประเภทของระบบเสียง PA มีทั้งหมด 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

PA พกพา

เป็นอุปกรณ์ขยายเสียง ที่สร้างขึ้นสำหรับ นักร้อง นักดนตรี นักแสดง 1-2 คน ลักษณะเป็นลำโพงแบบมีเพาเวอร์แอมป์ (Active Speaker) พร้อมมิกเซอร์ และเอฟเฟคในตัว ซึ่ง PA แบบพกพานั้น เหมาะสำหรับ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร โฟล์คซองในงานต่าง ๆ ยกตัวอย่าง เช่น JBL EON ONE COMPACT เป็นต้น

PA อเนกประสงค์

จะมีความคล้ายเคียงกับ PA พกพา ต่างกันตรงที่ PA อเนกประสงค์ มีช่องสัญญาณ ความดังเสียง และครอบคลุมพื้นที่การรับฟังได้มากกว่า ตัวอุปกรณ์ขยายเสียงคล้าย PA ทั่วไป แต่สามารถ ถอดประกอบ และพกพาได้สะดวก ยกตัวอย่าง เช่น ลำโพง JBL PRX ONE ALL-IN-ONE, EIECTRO-VOLCE EV EVOLVE SERIES, LINEAR AUDIO เป็นต้น

PA มาตรฐาน 

หมายถึง อุปกรณ์ที่เห็นตามงานแสดงทั่วไป มีช่องเสียบสัญญาณ ให้ความดังเสียง และครอบคุมพื้นที่การรับฟังได้มากกว่า ระบบ PA อเนกประสงค์ จะมีอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น มิกเซอร์, เครื่องปรุงแต่งเสียง, ลำโพง PA , ลำโพงมอนิเตอร์ลำหรับนักดนตรี และการแสดง เป็นต้น

การเรียงกันของสัญญาณเสียง

ในระบบเสียงจะถูกเริ่มต้นด้วย Input และจบด้วย Output เสมอ ในที่นี้หมายถึงไมโครโฟน และลำโพง ซึ่งระบบเสียงที่มีขนาดใหญ่ จะเป็นมีความซับซ้อนของอุปกรณ์ต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบเสียงนั่นเอง ยกตัวอย่าง เช่น ไมโครโฟน → สายไมค์ → มิกเซอร์ → โปรเซสเซอร์ → เพาเวอร์แอมป์ → สายลำโพง → ลำโพง ซี่งหากเข้าใจในการเรียงของสัญญาณเสียง หากเกิดปัญหาจะสามารถแก้ไข ระบบของสัญญานเสียงได้อย่างถูกต้อง

Gain Staging

ความดังของเสียง

Gain การวัดค่า และบอกถึงอัตราการขยายของสัญญาณ ของอุปกรณ์ในระบบเสียง ซี่งไม่ใช่แค่ใน มิกเซอร์ หรือ เพาเวอร์แอมป์ แต่ยังรวมไปถึง Fader บนมิกเซอร์ทุก ๆ ตัว การใช้ EQ ในการ Boost / Cut ล้วนแล้วส่งผลต่ออัตราการขยาย หรือ ลดของเสียง

สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่ต้องทำความเข้าใจ เกี่ยวกับการขยายของสัญญาณ ทุกครั้งที่เพิ่มสัญญาณ ไม่เพียงเพิ่มสัญญาณรบกวนจากวงจรของเครื่องขยายเสียง แต่ยังเพิ่มสัญญาณรบกวนที่อยู่ด้วยนั่นเอง การเร่งมากจนเกินไปจึงเป็นสิ่งที่พึงระวัง

มิกเซอร์คอนโซล

เทคนิคพื้นฐานระบบเสียงของงานแสดงสด

การทำงานของมิกเซอร์แบบอนาล็อก และมิกเซอร์แบบดิจิตอล หลักการทำงานของมิกซ์คอนโซลนั้น ก็ยังคงทำหน้าที่เหมือนกัน คือ การรับอินพุตหลาย ๆ ตัวรวมเข้าด้วยกัน และส่งสัญญานเสียงไปยังเอาต์พุต โดยการเรียนรู้ถึง องค์ประกอบพื้นฐานส่วนต่าง ๆ  ของมิกเซอร์ จะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจ การเรียงสัญญาณของอุปกรณ์ได้ดีขึ้นนั่นเอง โดยองค์ประกอบพื้นฐานของมิกเซอร์มีดังต่อไปนี้

ช่องสัญญาณ

ช่องสัญาณ คือ ช่องสำหรับเสียบสายสัญญาณ ทั้งสัญญาณเข้าและออก ในมิกซ์คอนโซล ยกตัวอย่าง เช่น Input แต่ละช่อง สำหรับเสียบไมโครโฟน เครื่องดนตรี เครื่องเล่นเพลง , ช่อง Aux Bus และ Master สำหรับ ส่งสัญญาณไปยังแอมป์และลำโพง

ปรีแอมป์

ทำหน้าที่ขยายสัญญานเสียง หรือเร่งกำลังไฟให้มีมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ไมโครโฟนเสียบไปที่อินพุต กำลังไฟของไมโครโฟนจะมีเสียงที่เบา ปรีแอมป์จะทำหน้าที่เพิ่มกำลังไฟให้กับไมโครโฟน และมี Gain คอยปรับปรีแอมป์อีกที

Inserts

สำหรับต่อพ่วงกับอุปกรณ์เสียงจากภายนอก ยกตัวอย่างเช่น Equalizer, Compressor, Effect เป็นต้น

EQ (และการประมวลผลอื่นๆ)

EQ ส่วนใหญ่จะมีย่านเสียง เบส กลาง แหลม ในส่วนนี้ต้องใช้ประสบการณ์ในการปรับ โดยทั่วไปแล้ว EQ จะอยู่หลังปรีแอมป์ รวมถึงการประมวลผลไดนามิกต่างๆ เช่น คอมเพรสเซอร์ ประตู และ de-essers เป็นต้น

Aux

Aux พบได้ในแต่ละแชนเนล โดยจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณเสียงนักร้อง เสียงเครื่องดนตรี เป็นต้น ไปที่แหล่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่ PA ยกตัวอย่างเช่น มอนิเตอร์

Channel Faders

ช่องเฟดเดอร์ทำหน้าที่ควบคุมระดับเสียง โดยทั่วไปจะใช้เพื่อ เพิ่ม ลด เสียงในแต่ละ Channel นั้น ๆ ให้มีความ ดัง เบา ในระดับที่เราต้องการ

Master Fader

การทำงานของช่อง มาสเตอร์เฟดเดอร์ คือ การควบคุมระดับความดังเสียงทั้งหมดที่ออกจากมิกเซอร์

Group Faders

หากมิกเซอร์รองรับ Channel Group จะสามารถกำหนดแชนเนลแต่ละแชนเนล ให้เป็นกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่มได้ และยังควบคุมเฟดเดอร์ที่กำหนดไว้ด้วยเฟดเดอร์กรุ๊บเดียว ทำให้ง่ายต่อการควบคุม ส่วนใหญ่จะใช้ในเครื่องดนตรีที่มีหลาย ๆ ชิ้น ยกตัวอย่างเช่น กลองชุด วงเครื่องสาย เครื่องทองเหลือง วงคอรัส เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่าง อนาล็อกกับดิจิตอลมิกเซอร์

อินพุต

  • อนาล็อก  — อินพุตจะตรงกับแชนเนลนั้น ๆ
  • ดิจิตอล    — มีอินพุตมากกว่าช่องสัญญาณที่มองเห็นได้จากมิกเซอร์

ช่องสัญญาณเสียง

  • อนาล็อก —  แต่ละแชนเนลมีชุดการควบคุมของตัวเอง แต่ Faders มีจำนวนการใช้งานที่จำกัด
  • ดิจิตอล   —  Faders สามารถควบคุมการใช้งานได้หลายช่องสัญญาณ

การประมวลผล ปรับแต่งในช่องสัญญาณ

  • อนาล็อก — โดยปกติแล้วจะจำกัดอยู่ที่ EQ ธรรมดาที่มองเห็นได้ในแต่ละช่อง
  • ดิจิตอล —  มีอุปกรณ์ให้เลือกใช้อย่างมากมายในแต่ละช่อง ยกตัวอย่างเช่น Pre mic, EQ , Compressor, Gate เป็นต้น

การรับและส่งต่อสัญญาณ (Routing)

  • อนาล็อก — การกำหนดสัญญานเสียงสามารถมองเห็นได้ ไม่มีอะไรที่ซับซ้อน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเสียบอินพุต 1 สัญญานเสียงก็จะอยู่ในแถบอินพุตที่ 1 และสามารถปรับเสียงตามช่องสัญญานนั้นได้เลย
  • ดิจิตอล   — การกำหนดสัญญานเสียงมีความยืดหยุ่นไม่เป็นไปในสิ่งที่มองเห็น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเสียบอินพุต 1 แต่สามารถทำให้ไปออกในช่องอินพุตที่ 16 ได้ เป็นต้น
฿28,350.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿99,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้ามีรุ่นทดแทน
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿6,990.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
-10%
฿22,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿134,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿224,200.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

 

ลำโพง PA

ในที่สุดเราก็มาถึงปลายอีกด้านของเส้นทางสัญญาณ คือ ลำโพง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้

๋JBL BRX308-4LA SYSTEM

ประเภทที่ 1 คือ ลำโพง Main PA สำหรับส่งเสียงไปยังผู้รับชมการแสดง

ประเภทที่ 2  คือ ลำโพง Stage monitors ใช้สำหรับการแสดงบนเวทีเพื่อให้นักดนตรีได้ยินเสียงที่ต้องการ

 

ลำโพง PA

ก็มีความแตกต่างกันออกไป เช่น บางตัวก็มี Power amp ในตัว บางตัวก็อาจมีมิกเซอร์ในตัว ในที่นี้เราจะแบ่งลำโพง Main PA ออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ ลำโพง PA แอคทีฟ (Active Speaker) และ พาสซีฟ (Passive Speaker)

ความแตกต่างระหว่างลำโพงแอคทีฟ (Active Speaker) และ ลำโพงพาสซีฟ (Passive Speaker) คือลำโพงแอคทีฟ จะมี Power amp ติดตั้งอยู่ภายในลำโพง ส่วนลำโพงพาสซีพ จะมีแต่เฉพาะตัวตู้และดอกลำโพง ไม่มีกำลังขยายในตัว ซึ่งลำโพงทั้ง 2 ประเภท ต่างมีทั้งข้อดี และข้อเสียที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น

ลำโพงแอคทีฟ (Active Speaker)

Phantom Active Back

ข้อดี

  • ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องขยายเสียง( Power amp) จากภายนอก
  • ง่ายต่อการติดตั้ง เคลื่อนย้าย
  • มี DSP ( Digital Signal Processing ) ออนบอร์ดในตัว เช่น EQ, Limiter สำหรับป้องกันลำโพงขาด

ข้อเสีย

  • มีราคาค่อข้างแพง
  • แอมพลิฟายเออร์ในตัว ทำให้มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น
  • ต้องจ่ายไฟ AC ให้ลำโพงแต่ละตัวแยกกัน

ลําโพงมอนิเตอร์ เวที มีแอมป์ในตัว

VL AUDIO Viva 715D ลำโพง 15 นิ้ว 2 ทาง แอมป์ในตัว 1400 วัตต์ ความดัง 136 dB

฿16,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿29,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿45,050.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้ายกเลิกการผลิต
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿48,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
-10%
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿28,400.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

 

ลำโพงพาสซีฟ (Passive Speaker)

ข้อดี

  • ไม่มีแอมพลิฟายเออร์ภายใน ทำให้น้ำหนักเบาสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
  • มีการออกแบบที่เรียบง่าย และมีความทนทานเป็นพิเศษ
  • ไม่ต้องใช้สายไฟสำหรับลำโพงแต่ละตัว
  • ราคาถูกกว่ารุ่นที่มี Power amp ในตัว ในสเปคที่เท่า ๆ กัน

ข้อเสีย

  • อาจมีความยุ่งยาก ในการต่อใช้อุปกรณ์เครื่องเสียง การต่อสายต่าง ๆ
  • ต้องใช้อุปกรณ์ประมวลผลจากภายนอก ยกตัวอย่าง เช่น มิกเซอร์, โปรเซสเซอร์, เพาเวอร์แอมป์ เป็นต้น
  • หาก Power amp ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหา จะทำให้ลำโพงหลาย ๆ ใบหยุดการทำงาน
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿14,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿7,840.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿11,770.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿22,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿29,800.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

 

อ่านบทความที่เกี่ยวของ เทคนิคพื้นฐานระบบเสียงของงานแสดงสด เพิ่มเติมได้ที่

-คู่มือมิกเซอร์อนาล็อก (Analog Mixer)

-Gain และ Volume ต่างกันอย่างไร

-ครบเครื่อง เรื่องลำโพง PA

ลำโพงมอนิเตอร์ เวที (Monitoring)

Stage-Monitors

เป็นสิ่งที่ต้องใช้ในการแสดงดนตรีสด เพื่อให้นักแสดงได้ยินเสียงที่ต้องการ นั่นคือที่มาของลำโพงมอนิเตอร์บนเวที ซึ่งมอนิเตอร์บนเวที จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Stage Monitors และ Personal Monitors

Stage Monitors

โดยทั่วไปจะเรียกว่า Stage wedges ลำโพงมอนิเตอร์เวที มักจะอยู่ที่ด้านหน้าของเวที แล้วหันมายังนักแสดง

ข้อดี

  • ราคาไม่แพง
  • ติดตั้งง่าย
  • ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม

ข้อเสีย

  • ทำให้เกิดเสียง หอน (Feedback) บนเวทีได้ง่าย
  • เพิ่มเสียงรบกวนบนเวทีได้ ทำให้ยากต่อการมิกเสียง
  • ไม่สามารถเคลื่อนย้ายอย่างอิสระเวลาแสดงได้
สินค้ามีรุ่นทดแทน
฿9,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿145,300.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿17,280.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿27,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
-10%
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿186,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
-10%
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿35,100.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

 

Personal Monitors

เทคนิคพื้นฐานระบบเสียงของงานแสดงสด

สำหรับนักดนตรีทีต้องการเพิ่มลดเสียงมอนิเตอร์ ให้ได้ตามความต้องการ โดยที่เสียงของตนเอง จะไม่ไปรบกวนสมาชิกในวงคนอื่น ๆ Personal Monitors จึงเป็นทางเลือกที่ดี ระบบนี้เป็นการส่งสัญญาณเสียงไปยังหูฟังของแต่ละคน มีทั้งแบบมีสาย และไร้สาย โดยหูฟังส่วนใหญ่มักใช้หูฟังแบบ In ear เพื่อความสะดวกในการแสดง และป้องกันเสียงอื่นๆได้ดี หรือเรียกสั้นๆว่า In Ear Monitor (IEM) ซึ่ง ระบบ Personal Monitors ต่างก็มีทั้งข้อดี และข้อเสีย ยกตัวอย่างเช่น

ข้อดี

  • ลดระดับเสียงของบนเวทีลงอย่างมาก ทำให้ง่ายต่อการมิกซ์เสียง
  • นักแสดงสามารถเลือกระดับความดังเบาได้โดยไม่รบกวนสมาชิกภายในวง
  • สะดวกในการจัดเก็บอุปกรณ์

ข้อเสีย

  • ระบบมีความซับซ้อนมากขึ้น ยุ่งยากต่อการตั้งค่าการใช้งาน
  • หากในหูฟังของนักแสดงเกิดข้อผิดพลาด จะยากต่อ Sound Engineer หรือ ผู้ดูแลบนเวที จะสามารถรับรู้ถึงข้อผิดพลาดได้
  • อาจทำให้นักแสดงบางคนที่ไม่คุ้นชินกับระบบ สับสนในการใช้ระบบ Personal Monitors
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ระบบเอียร์มอนิเตอร์

Xvive U4R Bodypack

฿3,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ระบบเอียร์มอนิเตอร์

Xvive U4R2 Digital Wireless In-Ear Monitor System

฿9,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

ระบบเอียร์มอนิเตอร์

Xvive U4R4 Digital Wireless

฿16,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

หูฟังอินเอียร์

หูฟัง In ear CCA-C10

฿1,090.00฿1,150.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

วิธีหลีกเลี่ยง เสียงหอน (Feedback) เทคนิคพื้นฐานระบบเสียงของงานแสดงสด

เสียงหอนคืออะไร? เสียงหอน คือ เสียงที่แย่มาก ๆ เป็นเสียงกรีดร้องในระบบเสียง มีทั้งแบบเสียงสูง และต่ำ ตามย่านการตอบสนองความถี่ของเสียง แต่!! โชคดีมีวิธีที่หลีกเลี่ยงมันได้

เสียงหอนเกิดจาก เสียงจากไมโครโฟนส่งไปที่มิกเซอร์ จากนั้นจากมิกเซอร์ส่งไปขยายออกลำโพง และเสียงจากลำโพงวนกลับไปยังไมโครโฟนอีกครั้ง เกิดการขยายออกซ้ำ ๆ จนเสียงบางย่านความถี่ดังขึ้นเรื่อยๆ เกิดขึ้นได้จาก การจัดวางตำแหน่งลำโพง ไมโครโฟนอย่างไม่เหมาะสม ตลอดจนอะคูสติกของห้องนั้น ๆ  เสียงหอนที่ได้ยินจะเป็นเพียงย่านความถี่แคบ โดยมักเกินขึ้นบ่อยกับความถี่เสียงกลางสูง ยิ่งปล่อยทิ้งไว้นานความดังเสียงหอนจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เพียงคนฟังเท่านั้นที่จะวิ่งหนี แต่มันยังอาจทำลายระบบเสียง PA ลำโพง ให้เสียหายได้ด้วยเช่นกัน

ฟังดูน่ากลัวใช่มั้ย? แต่สามารถป้องกันได้ โดยทำตามวิธีดังต่อไปนี้

  • ระมัดระวังในการวางตำแหน่งลำโพง PA อย่าวางลำโพง PA ไว้ข้างหลังนักแสดงของคุณอย่างเด็ดขาด
  • วางไมโครโฟนให้ห่างจากลำโพงมอนิเตอร์เวที เพราะเสียงหอนเพียงเล็กน้อยอาจทำให้ผู้แสดงไม่พอใจ
  • การเพิ่มเสียงจากนักร้อง นักแสดง ยิ่งเค้ามีเสียงที่ดังมากเท่าใด การขยายเสียงของระบบเสียงจะยิ่งน้อยลง และขจัดเสียงรบกวนรอบข้างได้มากขึ้นเท่านั้น รวมถึงเสียงจากลำโพง
  • ใช้ไมโครโฟนที่มีรูปแบบการรับเสียงแบบคาร์ดิออยด์ คือเน้นรับเสียงที่อยู่ด้านหน้าไมโครโฟน แล้วลดเสียงรบกวนรอบข้าง รวมไปจนถึงไม่รับเสียงจากด้านหลังไมโครโฟน
  • ใช้ระบบ Personal Monitors ช่วยให้คุณลดระดับเสียงโดยรวมในสถานที่จัดงานได้ เพราะเสียงจากลำโพง PA ไม่ได้แข่งกับเสียงบนเวทีอีกต่อไป ข้อดีคือมันทำให้วงดนตรีฟังง่ายขึ้นจริง ๆ

วิธีจัดการกับเสียงหอน (feedback)

แน่นอนว่าการป้องกันดีกว่าการแก้ไข โดยมี 2 วิธีดังต่อไปนี้

ความรู้อีควอไลเซอร์

ใช้ EQ จัดการ

วิธีการแบบเก่าแต่ได้ผล นั่นคือ

  1. ในระบบเสียงต้องมี EQ ยิ่งมีแบนด์ให้ปรับมาก ยิ่งดี
  2. ต่อ EQ เข้ากับระบบเสียง ก่อน Power amp
  3. ตั้งไมค์ไว้บนเวที แล้วค่อยๆ เพิ่มระดับเสียงที่มิกเซอร์จนกว่าจะได้ยินเสียงหอนออกลำโพง โดยเสียงที่ใช้แนะนำเป็น Pink noise
  4. หาย่านความถี่ที่เกิดเสียงหอนให้เจอ แล้วลดความดังโดยการใช้ EQ ที่ต่อไว้
  5. เพิ่มระดับเสียงจนกว่าเสียงหอนจะดังอีกครั้ง ค้นหาความถี่เสียง ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ความดังที่ต้องการ และไม่มีเสียงหอนอีกต่อไป

เทคนิคพื้นฐานระบบเสียงของงานแสดงสด

ใช้อุปกรณ์กำจัดเสียงหอน feedback suppressor

อุปกรณ์พวกนี้จะทำงานโดยอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นเครื่องมือ แต่บางครั้งอุปกรณ์พวกนี้ยังอยู่ในรูปแบบ ซอฟต์แวร์ ในไมโครโฟน มิกซ์คอนโซล หรือแม้แต่ในลำโพง

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

อุปกรณ์กันหอน

dbx AFS2

฿17,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

เทคนิคพื้นฐานระบบเสียงของงานแสดงสด สรุป

จากคู่มือนี้ หวังว่าจะช่วยให้ผู้ใช้มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิค ด้านเสียงงานเเสดงสดได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมต่อการใช้งาน  หากสนใจสินค้าชิ้นไหน และมีคำถามเกี่ยวกับการใช้งาน หรือข้อมูลเพิ่มเติม สามารถ ติดต่อได้ที่ ATProsound

 


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น