7 เทคนิค การมิกซ์เสียงด้วย “หูฟัง”

เทคนิคการเลือกหูฟัง มิกซ์เสียง

เทคนิคการเลือกหูฟัง

เทคนิคการเลือกหูฟัง ผมได้ยินคำถามประมาณนี้อยู่บ่อยๆว่า “ไม่มีลำโพงมอนิเตอร์ สามารถใช้หูฟังมอนิเตอร์มิกซ์เสียงได้ไหม” ด้วยประสบการณ์ส่วนตัวของแอดมินนั้น คอนเฟิร์มเลยว่า “ได้แน่นอน” แต่ถ้าความเห็นผมมันยังหนักแน่นไม่พอสำหรับเพื่อนๆ ยังมี มิกซิ่งเอนจิเนียร์ระดับโลก อย่าง Andrew Scheps ซึ่งเป็นคนที่เคยร่วมงานกับศิลปินระดับโลกอย่าง อะเดล เรดฮอตชิลีเพปเปอส์ เมทัลลิกา และ บียอนเซ่ เคยให้สัมภาษว่า เค้ามิกซิ่งด้วยหูฟังอยู่บ่อยๆเนื่องจากตัวเค้าต้องเดินทางอยู่บ่อยๆและเค้าก็พอใจกับผลลัพธ์ที่ได้

ข้อจำกัดของการมิกซ์เสียงด้วยหูฟัง

แต่แม้การมิกซ์เสียงด้วยหูฟังให้ดีจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แต่เราก็ยังจำเป็นที่จะต้องเช็คเพลงของเรากับลำโพงหลายๆแบบ เพราะว่าข้อจำกัดของการมิกซ์เสียงด้วยหูฟังคือมิติที่เราได้ยินจะไม่เหมือนกับฟังในลำโพง

ในการฟังเสียงด้วยหูฟังเราจะได้ยินเสียงจาก Driver ข้างซ้ายเข้าสู่หูซ้ายโดยตรง Driver ด้านขวาเข้าสู่หูขวาโดยตรง หูสองข้างเราจะฟังเสียงแยกกันอย่างสิ้นเชิง แต่ในการกลับกันการฟังเสียงด้วยลำโพง หูทั้งสองข้างของเราจะได้ยินเสียงจากดอกลำโพงทั้งซ้ายทั้งขวามาผสมกันซึ่งเรียกว่า Crossfeed และยังได้ยินเสียงสะท้อนจากสภาพแวดล้อมของห้องอีก
ด้วยเหตุผลตามที่บอกทำให้ เวลาเราฟังเสียงจากหูฟัง เราจะได้ยิน Stereo Image ที่กว้างกว่าความเป็นจริง รวมถึงเลเวลบาลานซ์ต่างๆของเครื่องดนตรีจะไม่เหมือนกับฟังในลำโพง

การฟังเสียงจากลำโพง หูแต่ละข้างของเราจะได้ยินเสียงจากลำโพงทั้งสองข้าง และ ยังได้ยินเสียงที่สะท้อนจากสิ่งแวดล้อมในห้องด้วย

ลำโพง เป็นสื่อที่นิยมเปิดเพลงมากกว่าหูฟัง ในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นลำโพงมือถือ ลำโพงรถยนต์ ลำโพงโทรทัศน์ ลำโพงในห้างสรรพสินค้า
ทำให้สื่อหลายๆเจ้าแนะนำให้ทำการมิกซ์เสียงด้วยลำโพงมากกว่าหูฟังซึ่งก็ไม่ผิด
เพราะส่วนตัวแอดมินก็คิดว่า มิกซ์เสียงในลำโพงให้เสียงดีในหูฟัง ง่ายกว่า มิกซ์เสียงในหูฟังให้เสียงดีในลำโพง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องได้ที่

฿8,990.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

หูฟังครอบหู (Over-Ear)

Franken MHP-02WE

฿1,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿2,400.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿1,850.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿29,250.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

หูฟังครอบหู (Over-Ear) สตูดิโอ

Bowers & Wilkins Px8 McLaren Edition

฿29,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

หูฟังครอบหู (Over-Ear) สตูดิโอ

Bowers & Wilkins Px8

฿27,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

หูฟังครอบหู (Over-Ear) สตูดิโอ

Shure SRH1140

฿13,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

หูฟังครอบหู (Over-Ear) สตูดิโอ

AUDIX A152

฿9,480.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

หูฟังครอบหู (Over-Ear) สตูดิโอ

Superlux HD660

฿1,590.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

หูฟังครอบหู (Over-Ear) สตูดิโอ

Avantone PRO Planar

฿18,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

หูฟังครอบหู (Over-Ear)

Audient EVO SR2000

฿2,590.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

ข้อดีของการมิกซ์เสียงด้วยหูฟัง

แม้จะมีข้อจำกัดแต่หูฟังก็มีข้อดีที่ลำโพงให้ไม่ได้เช่นกัน

  • หูฟังไม่แคร์อะคูสติกห้อง
    อย่างที่บอกเวลาเราฟังลำโพง เราจะได้ยินเสียงสะท้อนจากสิ่งแวดล้อมภายในห้องด้วย ถ้าตำแหน่งวางลำโพงไม่สมมาตรหรือห้องเรามีปัญหาอะคูสติกที่แก้ไม่ได้ การใช้หูฟังจึงเป็นทางเลือกที่ดีครับ
  • ให้รายละเอียดเสียงที่ดีกว่า
    สำหรับผมหูฟังจะให้อารมณ์คล้ายๆ ซูมแว่นขยายดูเวฟฟอร์มใน DAW
    อย่างที่บอกนะครับการฟังเสียงจากลำโพงเราจะได้ยินเสียงสะท้อนจากห้องมาด้วย ซึ่งอาจจะกลบปัญหาบางส่วนที่เราต้องแก้ไขได้ ในส่วนนึ้หูฟังจึงได้เปรียบลำโพง เพราะไม่มีเรื่อง อะคูสติกห้อง เข้ามาเกี่ยว
  • ใช้ที่ไหนก็ได้
    ข้อนี้แอดมินชอบมาก เวลาอยากเปลี่ยนบรรยากาศเวลาทำงาน การจะยกลำโพงออกไปด้วยมันอาจจะลำบาก หูฟังนี่แหละครับสะดวกสุด ไม่ว่าจะไปร้านกาแฟ เที่ยวทะเลภูเขา เราก็เอาไปได้ พอเที่ยวเสร็จเราก็อาจจะเอาเพลงที่มิกซ์ไปลองเปิดในลำโพงที่บ้านหรือในรถเพื่อนตรวจสอบได้

อย่างไรก็ตามจุดประสงค์หลักอย่างหนึ่งของการมิกซ์ไม่ว่าจะมิกซ์ด้วยลำโพงหรือหูฟัง ก็คือให้เพลงของเราเนี่ยเสียงฟังดีที่สุดในทุกๆ อุปกรณ์ ทุกๆสถานะการณ์

เดี๋ยวเรามาดูกันว่ามีเทคนิกการมิกซ์ด้วยหูฟังที่แอดมินจะมานำเสนอวันนี้ทั้ง 9 ข้อมีอะไรบ้าง

1.ใช้หูฟังที่มีคุณภาพ

ในการมิกซ์เสียงควรเลือกใช้หูฟังที่มีคุณภาพ และ ตอบสนองย่านความถี่ที่ครบและไม่มีย่านไหนโดดออกมา ซึ่งส่วนใหญ่หูฟังสำหรับงานสตูดิโอ ผู้ผลิตเค้าก็จะใส่คำว่า Studio Monitor หรือ Studio Headphone อะไรพวกนี้อยู่ในชื่อรุ่นหรือกล่องของหูฟังอยู่แล้ว แต่ถ้าเรายังเลือกไม่ถูกก็สามารถเข้าไปเลือกได้ที่เว็บไซต์
http://www.atprosound.com/product-category/studio-and-recording/headphones/headphones-over-ear/
ได้เลยครับ


2.เช็คเพลงของคุณกับลำโพงอะไรสักอย่าง

ถึงแม้เราจะไม่มีลำโพงสตูดิโอมอนิเตอร์ดีๆ แต่แอดมินมั่นใจว่าทุกคนต้องมีลำโพงอะไรสักอย่างในบ้านที่สามารถเอาเพลงเราไปลองเปิดได้ อาจจะเป็นลำโพงในรถ ลำโพงทีวี ลำโพงฟังเพลงของพ่อ แม้แต่ลำโพงโทรศัพท์ก็ได้ จากนั้นลองฟัง วิเคราะห์ จดบันทึกส่วนที่ขาดเกิน เพื่อนำไปแก้ไขเพลงของเราครับ


3. ระวังเรื่อง Stereo Image

ในหูฟังเราจะได้ยิน Stereo image ที่กว้างเกินความจริง เพราะหูซ้ายหูขวาเราได้ยินเสียงจากชาแนลซ้าย ขวา แยกกันเลย ไม่เหมือนกับเวลาฟังลำโพงที่หูข้างนึงขอเราจะได้ยินจากลำโพงทั้งสองข้างผสมกัน
ซึ่งปัญหานี้อาจจะทำให้เราตัดสินใจ Pan ยากขึ้น เช่น อย่างตัวแอดมินเองเคยเจอปัญหาว่าฟังในหูฟังแล้วกว้างพอดีแล้วแต่พอไปฟังในลำโพงกลับแคบกว่าที่คิดมาก
ฉะนั้นเวลามิกซ์ด้วยหูฟังให้พยายามคิดเรื่อง Stereo image เวลาไปฟังในลำโพงด้วย


4. เช็คเพลง กับหูฟังอื่นๆ

เช่นเดียวกับข้อที่ให้ไปเช็คเพลงของเรากับลำโพงอื่นๆเลย หูฟังแต่ละรุ่นก็มีคาแรคเตอที่แตกต่างกันออกไป อาจจะต้องไปลองฟังกับพวกหูฟังที่แถมสมาร์ทโฟน หรือพวกหูฟังเกมมิ่ง เพราะคนฟังเพลงส่วนใหญ่คงไม่ได้ใช้หูฟังคุณภาพเดียวกับที่เราใช้ในการมิกซ์เสียงฟังอยู่แล้ว


5. หาเพลงเป็น เรฟเฟอเรนซ์

ข้อนี้สำคัญมาก การที่เราหาเพลงสักเพลงซึ่งอาจจะเป็นแนวเดียวกับเพลงที่เรามิกซ์ หรือเพลงที่เราชอบซาวน์ มาเปิดในโปรเจคขณะมิกซ์ด้วยเพื่อฟังเปรียบเทียบขณะที่คุณมิกซ์เสียง เรฟเฟอเรนซ์จะช่วยให้เราตัดสินใจปรับเสียงในเพลงของเราได้เร็วขึ้น
โดยให้เราพยายามเลี่ยนแบบสิ่งที่ชอบในเพลงนั้นๆได้เลย ไม่ว่าจะเป็นบาลานซ์เลเวล การแพนเสียงเครื่องดนตรี เป็นต้น


6. ให้ซอฟต์แวร์ช่วย

ทุกวันนี้มีปลั๊กอินสำหรับ DAW เยอะแยะมากมายที่จะช่วยให้เรามิกซ์เสียงในหูฟังได้ดีขึ้น เช่น
Sonarwork reference 4 เป็นปลั๊กอินที่ทำให้หูฟังเราเสียง Flat ขึ้น
Wave nx ที่เป็นปลั๊กอินจำลองว่าเราฟังเสียงจากลำโพงมอนิเตอร์อยู่โดยฟังผ่านหูฟัง โดยปลั๊กอินตัวนี้ก็ทำการจำลองการ Crossfeed ของเสียงทำให้หูข้างนึงของเราได้ยินเสียงจากชาแนลซ้ายขวาผสมกันและเสียงสะท้อนของห้องเหมือนกับฟังผ่านลำโพง
นอกจากนี้ยังมีปลั๊กอินฟรีเช่น
DeeSpeaker Monitor Simulator ที่จำลองให้เหมือนกับเราฟังเสียงจากลำโพง ทั้งที่จริงๆแล้วเราใส่หูฟังเหมือนกัน Wave nx

Beyerdynamic – VIRTUAL STUDIO จำลองการฟังเสียงจากลำโพงในสถานะการต่างๆ เช่น ฟังเสียงจากลำโพงระบบ 5.1 จำลองลำโพงรถยนต์ เป็นต้น


7. อย่าโดนหูฟังหลอก

เรามักจะบาลานซ์เสียงด้วยหูฟังได้ยาก เพราะเสียงต่างๆที่ฟังจากหูฟังมันอยู่ติดกับหูของเราเลย ทำให้มันรู้สึกดังและคมชัดเกินจริง ทำให้เกิดปัญหาเช่น ปรับเครื่องดนตรีบางเครื่องเบาเกินไป หรือใส่รีเวิร์บเยอะเกินไปเป็น หรือบางครั้งก็ปรับเสียงร้องเบาไปเพราะเวลาฟังหูฟังเรารู้สึกว่ามันดังมาก
พอไปฟังกับลำโพงเสียงที่เคยดังเกินกลับถูกกลบหายไป เสียงร้องที่เคยดังในหูฟังแล้วเราไปเบาไว้ ก็จมกับไปกับเสียงดนตรี

ปัญหาพวกนี้ก็จะเกิดขึ้นได้บ่อยๆเมื่อมิกซ์กับหูฟังครับ ฉะนั้นเมื่อเรามิกส์เสียงกับหูฟังก็พยายามนำไปเปิดทดสอบกับลำโพงอื่นๆ เพื่อเช็คบาลานซ์กันด้วยนะครับ


ติดตามช่องทางต่างๆของ AT PROSOUND

FACEBOOK ATPROSOUND

YOUTUBE ATPROSOUND


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

หูฟังครอบหู (Over-Ear)

Franken MHP-02

฿1,350.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

หูฟังครอบหู (Over-Ear)

Audio-Technica ATH-M50x Headphone

฿5,990.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

หูฟังครอบหู (Over-Ear)

beyerdynamic DT770 Pro 80 Ohm

฿7,490.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

หูฟังครอบหู (Over-Ear) สตูดิโอ

beyerdynamic DT990 Pro 250 Ohm

฿7,990.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

หูฟังครอบหู (Over-Ear)

beyerdynamic DT770 Pro 32 Ohm

฿7,490.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น