สอนใช้ Compressor ตั้งแต่พื้นฐาน ครบจบในบทเดียว

Compressor ใช้งานอย่างไร

สอนใช้ Compressor ตั้งแต่พื้นฐาน ครบจบในบทเดียว | คอมเพรสเซอร์ คืออะไร ? ใช้งานอย่างไร ? มีเทคนิคปรับค่าอย่างไร ? เป็นหัวข้อที่มือซาวด์คนมิกซ์เสียงพูดคุยกันมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่กลุ่มผู้ไม่มีประสบการณ์ หรือแม้แต่กลุ่มมืออาชีพเองก็ตาม และในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกกันครับ ว่าคอมเพรสเซอร์คืออะไร ไปจนถึงเทคนิคการปรับค่าอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลยครับ

Compressor

คอมเพรสเซอร์ คืออะไร

คอมเพรสเซอร์เป็นเครื่องมืออันทรงพลัง ที่ช่วยบีบอัดไดนามิกของสัญญาณเสียง เพื่อสร้างความเป็นธรรมชาติให้กับสัญญาณเสียงนั้น โดย Dynamic Range หมายถึง ช่วงความแตกต่างระหว่างระดับเสียงที่ดังที่สุด กับระดับเสียงที่เบาที่สุดในสัญญาณเสียงนั้น คอมเพรสเซอร์จะทำการกดระดับเสียงที่ดังที่สุดลงมา เพื่อให้ได้ระดับความดังเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกัน

คอมเพรสเซอร์ ใช้งานอย่างไร

ในขั้นตอนการเรียนรู้วิธีใช้งาน คอมเพรสเซอร์ ก่อนอื่นเราจะต้องมีความเข้าใจกันก่อนว่า การควบคุมในแต่ละส่วนมีผลต่อเสียงอย่างไร เรามาดูส่วนควบคุมคอมเพรสเซอร์ที่พบบ่อยที่สุด และหน้าที่ของมันกันดีกว่า

1. Threshold

เป็นส่วนทำหน้าที่กำหนดระดับที่คอมเพรสเซอร์เริ่มทำงาน เมื่อสัญญาณเสียงดังถึงหรือสูงกว่าระดับ Threshold ที่ตั้งค่าเอาไว้ คอมเพรสเซอร์ก็จะเริ่มบีบอัดสัญญาณในจุดนั้น ขณะที่สัญญาณที่ต่ำกว่าระดับ Threshold จะไม่เปลี่ยนแปลงใด ๆ

สอนใช้

สอนใช้ Compressor ตั้งแต่พื้นฐาน ครบจบในบทเดียว
ขอบคุณรูปภาพจาก masteringthemix.com

2. Ratio

ส่วนนี้เป็นการกำหนดอัตราส่วนการบีบอัดสัญญาณ โดยใช้ dB เป็นหน่วยวัดอ้างอิงการบีบอัด เช่น Ratio 2:1 หมายความว่า มีสัญญาณเข้าทุก ๆ 2dB ก็จะออก 1dB เป็นต้น ในกรณีที่ตั้งค่า Ratio ไว้ที่ 1:1 นั่นหมายความว่า ไม่มีการบีบอัดสัญญาณเลย

สอนใช้ Compressor ตั้งแต่พื้นฐาน ครบจบในบทเดียว
ขอบคุณรูปภาพจาก masteringthemix.com

Low Ratio : ให้เสียงที่เป็นธรรมชาติ และโปร่งใส

Medium Ratio : ให้ไดนามิกที่นุ่มนวล แต่ยังคงความเป็นธรรมชาติไว้

Heavy Ratio : ให้เสียงที่มีความดุดัน แต่ความ Punch จะลดลง

Limiting : สัญญาณเสียงจะไม่เกินระดับ Ceiling ไม่เกิด Peak แต่ความ Punch ความชัดเจน และรายละเอียดเสียงจะลดลง

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

 

3. Attack & Release

การตั้งค่า Attack และ Release จะเป็นตัวกำหนดความเร็วของคอมเพรสเซอร์ ที่จะทำการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับสัญญาณเสียง โดย Attack จะทำหน้าที่เริ่มกระทำ ณ จุดเริ่มเกิดสัญญาณเสียง และ Release จะทำหน้าที่กำหนดความช้า-เร็ว ในการคลายการบีบอัดสัญญาณของคอมเพรสเซอร์

สอนใช้ Compressor ตั้งแต่พื้นฐาน ครบจบในบทเดียว
ขอบคุณรูปภาพจาก masteringthemix.com

การตั้งค่า Attack เร็ว สามารถป้องกันโอกาสเกิด Peak ได้ดี เพราะคอมเพรสเซอร์จะตอบสนองต่อสัญญาณเสียงแทบจะทันที จุดที่ควรระวังคือ Attack ที่เร็วเกินไป อาจทำให้ความมีชีวิตชีวาของเสียงลดน้อยลง

การตั้งค่า Attack ช้า จะช่วยให้ Transient ของเสียงมีความชัดขึ้น หนักแน่น และพุ่ง แต่ก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิด Peak ได้ดีเท่าไหร่นัก จุดที่ควรระวังคือ Attack ที่ช้าเกินไป อาจทำให้ Transient มีความลอย

Compressor

สอนใช้ Compressor ตั้งแต่พื้นฐาน ครบจบในบทเดียว
ขอบคุณรูปภาพจาก masteringthemix.com

การตั้งค่า Release ช้า ไดนามิกของเสียง และการคลายสัญญาณของคอมเพรสเซอร์จะฟื้นตัวได้อย่างราบเรียบ ช่วยให้คาแร็คเตอร์เสียงมีความเรียบเนียน แต่หากตั้งเวลา Release ไว้ช้าเกินไป ความชัดของ Transient ก็ลดลงเช่นกัน

การตั้งค่า Release เร็ว คอมเพรสเซอร์จะทำการคลายสัญญาณได้อย่างรวดเร็ว ให้เสียงมีความดุดัน มีความ Punch ฟังดูมีความกระแทกของ Transient จุดที่ควรระวังคือ Release ที่เร็วเกินไปไดนามิกเสียงจะมีความโดด เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายก็คือ เหมือนกับการขับรถตกหลุมนั่นเอง

4. Knee

เป็นส่วนกำหนดความเป็นธรรมชาติในการเปลี่ยนสถานะของสัญญาณเสียง จากสัญญาณที่ยังไม่ถูกบีบอัด ไปสู่การเป็นสัญญาณที่ถูกบีบอัดแล้ว โดยในคอมเพรสเซอร์หลาย ๆ รุ่นก็สามารถปรับค่าได้อย่างละเอียด ในขณะที่อีกหลาย ๆ รุ่นก็จะมีให้เลือกเพียงระหว่าง “Soft Knee” (ค่อย ๆ บีบอัดสัญญาณ) และ “Hard Knee” (บีบอัดสัญญาณอย่างรุนแรง)

ขอบคุณรูปภาพจาก theproaudiofiles.com

ประเภทของคอมเพรสเซอร์ ที่นิยมใช้กันมากที่สุด

1. Optical Compressor

เรียกสั้น ๆ ว่า “Opto” ทำงานด้วยการใช้ Light-Dependent Resistor (LDR) เป็นตัวควบคุม Gain Reduction ให้คาแร็คเตอร์เสียงที่มีความ Smooth และโปร่งใส ส่วนใหญ่มักใช้กับเสียงร้อง และการบันทึกเสียงเครื่องดนตรี

Compressor

Warm Audio WA-2A

2. FET Compressor

ย่อมาจาก “Field Effect Transistor” เป็นคอมเพรสเซอร์ที่ถูกใจชาวร็อค ด้วยการตอบสนองของ Attack และ Release ที่ไวเป็นพิเศษ ให้คาแร็คเตอร์เสียงที่มีความดุดัน และให้ความ Punch ส่วนใหญ่มักใช้กับเสียงเบส สแนร์ และกระเดื่อง

WesAudio Beta76

3. VCA Compressor

ย่อมาจาก “Voltage-Controlled Amplifier” วงจรทำงานด้วยการอาศัยแรงดันไฟฟ้า ควบคุมอัตราขยายสัญญาณขาออก ให้คาแร็คเตอร์เสียงที่มีความโปร่งใส และสะอาด มักใช้เป็น Bus Compressor ไปจนถึงขั้นตอนการ Mastering

Arturia Comp VCA-65

4. Variable MU Compressor

เป็นคอมเพรสเซอร์ที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่ยุค 50’s ทำงานด้วยการใช้ Tube และ Transformer เป็นตัวควบคุม Gain Reduction แบบ Soft-Knee Compression ให้คาแร็คเตอร์เสียงที่มีความ Vintage และมีความอบอุ่น มักใช้กับการบันทึกเสียงเครื่องดนตรีแบบ Stereo และการ Mastering

Manley Variable Mu Stereo

ติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook AT Prosound

บทความโดย : ณัฐพจน์ วิจารัตน์


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น