Compressor และ Limiter ต่างกันอย่างไร ?

คอมเพรสเซอร์ VS ลิมิตเตอร์

Compressor และ Limiter ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของ Plug-In หรืออุปกรณ์ DSP ในระบบเสียงกลางแจ้ง ต่างก็มีหน้าที่ในการจัดการเรื่องไดนามิกของเสียง เพื่อจัดการไดนามิกของเสียงให้มีความนิ่ง และไพเราะมากยิ่งขึ้น โดยการกด หรือบีบอัดสัญญาณ และรักษาระดับความดังเฉลี่ยให้ใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามทั้งคอมเพรสเซอร์ และลิมิตเตอร์ ต่างก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ ในส่วนของความแตกต่างนั้นจะคืออะไร ติดตามได้ในบทความนี้ครับ

Compressor

คอมเพรสเซอร์ และลิมิตเตอร์ คืออะไร ?

  • คอมเพรสเซอร์

Compressor คือ เครื่องมือที่ช่วยบีบอัดไดนามิกของสัญญาณเสียง เพื่อสร้างความเป็นธรรมชาติให้กับสัญญาณเสียงนั้น โดย Dynamic Range หมายถึง ช่วงความแตกต่างระหว่างระดับเสียงที่ดังที่สุด กับระดับเสียงที่เบาที่สุดในสัญญาณเสียงนั้น คอมเพรสเซอร์จะทำการกดระดับเสียงที่ดังที่สุดลงมา เพื่อให้ได้ระดับความดังเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกัน

  • ลิมิตเตอร์

ในส่วนของ Limiter คือ เครื่องมือสำหรับการประมวลผลสัญญาณเสียง ที่เกี่ยวข้องกับ Dynamic Range คล้าย ๆ กันกับคอมเพรสเซอร์ แต่จะต่างกันตรงที่ลิมิตเตอร์จะบล็อก Amplitude ของสัญญาณเสียง ไม่ให้ดังเกินกว่าค่าที่กำหนดเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการ Peak หรือ Clip แม้ว่าเราจะทำการ Make-up Gain แค่ไหน ลิมิตเตอร์ก็จะบล็อกไม่ให้ Amplitude ของเสียงสูงขึ้นไปกว่านี้

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

 

การปรับค่าคอมเพรสเซอร์

คอมเพรสเซอร์จะมีปุ่ม Knob ต่าง ๆ ไว้สำหรับการตั้งค่า เช่น Threshold , Ratio , Knee , Attack Time , Release Time และอื่น ๆ โดยปุ่มปรับค่าต่าง ๆ มีหลักการทำงานดังนี้ครับ :

Compressor

  • Threshold

Threshold คือ การกำหนดระดับเกณฑ์ที่คอมเพรสเซอร์จะเริ่มทำงาน เช่น หากเราตั้งค่าระดับ Threshold ไว้ที่ -10 dB ดังนั้นเมื่อระดับสัญญาณถึง หรือสูงกว่า -10 dB ขึ้นไป Compressor ก็เริ่มทำการกดไดนามิกของสัญญาณเสียง โดยเป็นการกดเฉพาะจุดที่สูงกว่า Threshold ที่กำหนดไว้

  • Ratio

Ratio คือ อัตราส่วนการบีบอัดสัญญาณ โดยใช้ dB เป็นหน่วยวัดอ้างอิงการบีบอัด ยกตัวอย่าง เช่น Ratio 1:1 หมายถึง หากมีสัญญาณเข้า 1 dB ก็จะออก 1 dB พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ “ไม่มีการบีบอัดเลย” แต่ถ้าหากตั้งค่า Ratio ไว้ที่ 2:1 นั่นก็หมายถึง หากมีสัญญาณเข้า 2 dB ก็จะออกเพียง 1 dB เท่านั้น เป็นต้น ในกรณีที่ใช้งานจริง สมมุติว่าสัญณาณเข้ามาที่ 16 dB และคุณปรับ Ratio ที่ 4:1 นั่นแปลว่า คอมเพรสเซอร์จะทำการบีบอัดสัญญาณ ให้ออกเพียงแค่ 4 dB เท่านั้นครับ

  • Knee

Knee คือ การกำหนดความเป็นธรรมชาติ ในการเปลี่ยนสถานะของสัญญาณเสียง จากสัญญาณที่ยังไม่ถูกบีบอัด ไปสู่การเป็นสัญญาณที่ถูกบีบอัดแล้ว โดยในคอมเพรสเซอร์หลาย ๆ รุ่นก็สามารถปรับค่าได้อย่างละเอียด ในขณะที่อีกหลาย ๆ รุ่นก็จะมีให้เลือกเพียงระหว่าง “Soft Knee” (ค่อย ๆ บีบอัดสัญญาณ) และ “Hard Knee” (บีบอัดสัญญาณอย่างรุนแรง)

  • Attack Time

Attack Time หมายถึง ความเร็วของเวลา ที่ใช้ในการเข้าทำบีบอัดสัญญาณอย่างเต็มที่ หลังจากสัญญาณถึงเกณฑ์ของ Threshold ที่กำหนดไว้ โดยใช้หน่วยวัดเป็น ms (milliseconds) 

  • Release Time

Release เป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกันกับ Attack Time ซึ่งหมายถึง เวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะสัญญาณที่ถูกบีบอัดแล้ว กลับคืนสถานะสัญญาณเดิมที่ยังไม่ถูกบีบอัด โดยใช้หน่วยเป็น ms เช่นกัน ซึ่งการบีบอัดสัญญาณต่อ 1 ครั้ง จะนาน หรือสั้นแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับการปรับค่า Release Time ครับ

  • Output Gain (Make-up Gain)

Output Gain หรือ Make-up Gain แล้วแต่ผู้ผลิตแต่ละแบรนด์จะใช้เรียกแบบไหน แต่ทั้ง 2 คำนี้มีความหมายเดียวกัน นั่นคือ ส่วนที่ทำหน้าที่ในการชดเชยความดังระดับสัญญาณ ที่สูญเสียไปจากการบีบอัดนั่นเอง

การปรับค่าลิมิตเตอร์

เมนูฟังก์ชั่นต่าง ๆ ของ Limiter จะมีความเหมือนกับ Compressor อยู่บ้าง เพียงแต่ลิมิตเตอร์จะไม่มีการปรับ Knee และ Ratio โดยลิมิตเตอร์จะมีเมนูฟังก์ชั่นสำหรับการปรับค่า ที่ต่างจากคอมเพรสเซอร์ดังนี้ครับ : 

Limiter

  • Ceiling Output

การปรับค่า Ceiling Output ของลิมิตเตอร์ ค่อนข้างจะมีความคล้ายกับ Threshold ของคอมเพรสเซอร์ นั่นก็คือ การกำหนดระดับเกณฑ์ที่ลิมิตเตอร์จะเริ่มทำงาน หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ การกำหนดเพดานสัญญาณเสียง ที่ไม่ต้องการให้เกิด Peak หรือ Clip ยกตัวอย่าง เช่น หากกำหนด Ceiling Output ไว้ที่ -0.1 dB เมื่อระดับเสียงถึงเพดานที่กำหนดไว้ หรือทำการ Make-up Gain ขึ้น ระดับ Amplitude สูงสุดของสัญญาณเสียงนั้น ก็จะถูกบล็อกไว้ไม่ให้เกิน -0.1 dB ครับ

  • Loudness Metering

Loudness Metering จะเป็นในลักษณะของกราฟ สำหรับการวัดระดับความดังของเสียง โดยปกติแล้วใช้หน่วยวัดเป็น LUFS (Loudness Units Full Scale) สำหรับ Sound Engineer ในสตูดิโอก็จะใช้หน่วยวัดนี้ เพื่อทำการ Mastering เพลง ให้มีความดังที่เหมาะสมกับแพลตฟอร์มต่าง ๆ แต่ในส่วนงานระบบเสียงกลางแจ้ง ลิมิตเติอร์ก็มีความสำคัญเช่นกัน ในการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อดอกลำโพงนั่นเองครับ

สรุป ความแตกต่างของ Compressor และ Limiter

ในคอมเพรสเซอร์บางรุ่น เราอาจจะพบว่ามีการ Built-in ลิมิตเตอร์มาให้ในตัว แต่โดยทั่วไปที่เราพบเห็นกันส่วนใหญ่นั้น คอมเพรสเซอร์ และลิมิตเตอร์จะทำงานแยกส่วนออกจากกัน เพราะสิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างสองสิ่งนี้ นั่นก็คือ คอมเพรสเซอร์ จะทำหน้าที่ในการ “กด” ไดนามิกของเสียงที่ดัง ลงมาให้อยู่ในระดับเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกัน ส่วนลิมิตเตอร์ จะทำหน้าที่ในการ “บล็อก” Amplitude ของเสียง เพื่อไม่ให้เกิดการ Peak หรือ Clip เพื่อความปลอดภัยของดอกลำโพง ทั้งคอมเพรสเซอร์ และลิมิตเตอร์เองนั้น ไม่ได้มีหน้าที่ทำให้เสียงที่เบาดังขึ้น เพราะสิ่งที่ทำให้ไดนามิกของสัญญาณดังขึ้นจริง ๆ นั่นก็คือการ “Make-up Gain” ครับ

หากท่านมีความสนใจ หรือต้องการติดต่อสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสินค้า หรืองานติดตั้งระบบเสียงต่าง ๆ กับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ท่านสามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ :

  • Tel. : 098-785-5549
  • Facebook : AT prosound-shop
  • Line : @atprosound
  • E-mail : [email protected]

เวลาทำการ

Monday 9:00 — 18:00
Tuesday 9:00 — 18:00
Wednesday 9:00 — 18:00
Thursday 9:00 — 18:00
Friday 9:00 — 18:00
Saturday 10:00 — 19:00
Sunday Closed

AT Prosound ยินดีให้บริการครับ

 

ติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook AT Prosound

บทความโดย : ณัฐพจน์ วิจารัตน์


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น