ภาวะสูญเสียการได้ยิน (Hearing Loss) อาการที่ไม่ควรมองข้าม!!!

การสูญเสียการได้ยิน (Hearing Loss)

การสูญเสียการได้ยิน (Hearing Loss) การทำงานที่เกี่ยวข้องกับเสียงอย่าง ซาวด์เอนจิเนียร์ นักร้อง หรือนักดนตรี หูต้องเจอกับเสียง อยู่ทุกวันเป็นประจำ ซึ่งในบางครั้งเราต้องฟังเสียงที่ดังเป็นเวลานาน หรือ ได้รับเสียงที่ดังเกินไป แม้จะไม่ได้ฟังนานก็ตาม มักจะเจอกับอาการ “หูดับ” หรือ “หูตึง” เป็นอาการที่หูมีการเสื่อมของการได้ยิน ซึ่งบางคนยังคงทำงานเป็นปกติต่อไป ไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ หรือไม่รู้วิธีป้องกันที่ดี อาจจะเกิดอันตรายต่อการได้ยิน ซึ่งมีผลต่อสุขภาพและงานที่ทำอยู่อย่างแน่นอน

วันนี้ มีความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ อาการ สูญเสียการได้ยิน (Hearing loss) มาบอกกัน พร้อมกับวิธีป้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอาการนี้มาฝากกันครับ

สารบัญ

อาการและสัญญาณของภาวะสูญเสียการได้ยิน

อาการนี้อาจเกิดแบบกระทันหัน หรือในบางครั้งนั้น ก็เป็นการสะสมอาการจากเบาๆแล้วเริ่มมีอาการหนักขึ้นเรื่อยๆจนสูญเสียการได้ยินในที่สุด ซึ่งสัญญาณที่บ่างบอกว่าคุณกำลังเสี่ยง หรืออาการเริ่มต้นของอาการ สูญเสียการได้ยิน (Hearing loss) นั้นมีดังนี้

  • ได้ยินคนอื่นพูดไม่ชัดเจนและเข้าใจผิด โดยเฉพาะเมื่ออยู่กับกลุ่มคน
  • เริ่มถามให้คนอื่นทวนประโยค
  • ฟังเพลงหรือเปิดโทรทัศน์เสียงดังกว่าปกติ
  • เริ่มได้ยินเสียงเรียกเข้าหรือเสียงกริ่งประตูยากขึ้น
  • ไม่สามารถหาทิศทางต้นกำเนิดของเสียงได้

ระดับของภาวะ สูญเสียการได้ยิน

หูดับ-pobpad

ระดับของการสูญเสียการได้ยินนั้นสามาถแบ่งออกเป็น 4 ระดับ โดยใช้เกณฑ์แบ่งจากระดับเสียงเบาที่สุดที่แต่ละคนสามารถได้ยินได้ในหน่วยเดซิเบล (decibels : dB) ดังนี้

1. หูตึงระดับอ่อน : คนที่มีภาวะ สูญเสียการได้ยิน ระดับอ่อน จะมีระดับการได้ยินที่เบาที่สุดคือ 21-40 dB ภาวะหูตึงระดับอ่อนนี้ อาจทำให้ฟังบทสนทนาได้ลำบากบ้างในบางครั้ง โดยเฉพาะหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง

2. หูตึงระดับปานกลาง : คนที่มีภาวะ สูญเสียการได้ยิน ระดับปานกลางนั้น จะมีระดับการได้ยินที่เบาที่สุดคือ 41-70 dB โดยอาจฟังลำบากมากเมื่อไม่ได้ใช้เครื่องช่วยฟัง

3. หูตึงระดับรุนแรง : คนที่มีภาวะ สูญเสียการได้ยิน ระดับรุนแรง จะมีระดับการได้ยินที่เบาที่สุดคือ 71-90 dB ผู้อยู่ในระดับการได้ยินระดับนี้มักจะต้องใช้การอ่านริมฝีปากหรือใช้ภาษามือสื่อสาร แต่ก็ยังสามารถใช้เครื่องช่วยฟังร่วมด้วยได้

4. หูหนวก : คนที่มีภาวะหูหนวก (Profound deafness) เสียงที่เบาที่สุดที่สามารถได้ยินคือมากกว่า 90 dB ขึ้นไป ซึ่งสามารถเข้ารับการปลูกถ่ายคอเคลีย (ส่วนหูชั้นในรูปหอยโข่ง) ได้ และต้องใช้การอ่านริมฝีปากหรือใช้ภาษามือในการสื่อสาร

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีป้องกันและลดความเสี่ยงต่ออาการ สูญเสียการได้ยิน

Hearing Loss jh
  1. ทดสอบการได้ยินอย่างน้อยปีละครั้งโดย นักโสตสัมผัสวิทยา (Audiologist) หรือ หรือศัลยแพทย์ ENT ซึ่งสามารถรู้ผลได้ทันทีว่าการได้ยินของหูแต่ละข้างเปลี่ยนไปมากขนาดไหน ผลทดสอบสามารถชี้วัดเป็นย่านความถี่ได้เลย
Hearing Loss จุก
  1. จุกโฟมอุดหูใช้แล้วทิ้งเป็นวิธีป้องกันการ สูญเสียการได้ยิน ที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะสามารถลดความดังเสียงลงได้ถึง 12-15dB
  1. ถ้าเป็นช่างเสียง มือซาวด์ ที่ต้องมิกซ์เสียง แนะนําให้ใช้จุกอุดหูที่ไม่เปลี่ยนรูปความถี่ เช่น “Etymotic High-Definition Earplugs” ซึ่งสามารถลดความดังได้ถึง 20dB โดยไม่เปลี่ยนรูปความถี่ ป้องกันการ สูญเสียการได้ยิน หูปลอดภัย ได้งานที่ดีด้วย
Hearing Loss ไม่ลด
  1. ปฏิบัติตามมาตรฐานของ Occupational Safety and Health Administration (OSHA) เกี่ยวกับคําเตือนเรื่องระยะเวลาสูงสุดในการฟังตามระดับความดังต่างๆ เพื่อป้องกันการ สูญเสียการได้ยิน ดังนี้

90dB SPL ไม่ควรฟังเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน

100dB SPL ไม่ควรฟังเกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน

110dB SPL ไม่ควรฟังเกิน 30 นาทีต่อวัน

115dB SPL ไม่ควรฟังเกิน 15 นาทีต่อวัน

OSHA

สรุป

สำหรับชาวเสียงไม่ว่าจะเป็น มือซาวด์ นักร้องนักดนตรี หรือแม้แต่คนฟังเพลง ต้องใช้ชีวิต คลุกคลีกับระบบเสียงอยู่เป็นประจำ เรียกว่า เสียงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเลยก็ว่าได้นั้น หากมีการใช้หูฟังเสียงที่ดังมากเกินไป หรือใช้หูเป็นเวลานานเกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ อาจจะเป็นอันตรายต่อการได้ยินได้ จนถึงขั้นการ สูญเสียการได้ยิน ผมจึงมองเห็นและตระหนักถึงภัยร้ายนี้ที่มีผลต่อชาวเสียงทุกท่าน จึงอยากให้คนที่ทำงานด้านเสียงทุกคนได้รู้เรื่องนี้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านเอง แต่ถ้สาหากใครทราบเรื่องนี้ดีแล้วก็ขอฝากบทความนี้ไว้ให้ท่านได้บอกต่อคนที่ยังไม่รู้เรื่องภัยไกล้ตัวเพื่อเตรียมตัวป้องกัน มีความสุขกับการทำงานที่รักที่ชอบกันต่อไป

#ส่งต่อคุณภาพเสียงส่งต่อความสุข

ที่มา

honestdocs

thaiaudioclub

ติดตามช่องทางต่างๆของ AT PROSOUND

FACEBOOK ATPROSOUND

YOUTUBE ATPROSOUND


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น