วัดเสียง จูนเสียง ทำให้เสียงดีขึ้น เรื่องจริงหรือหลอกเด็ก?

จูนเสียง วัดเสียง ทำให้เสียงดีขึ้น จริงหรือไม่?

จูนเสียง วัดเสียง ในยุคที่การวัดเสียง การจูนเสียง สามารถพบเห็นได้ทั่วๆไปไม่ยากเหมือนแต่ก่อน ทั้งผู้ผลิต ตลอดจนเครื่องเช่าต่างโชว์เส้นกราฟสวยๆ เพื่อดึงดูดความสนใจว่า ระบบเสียงที่ใช้อยู่ หรือที่จำหน่ายอยู่ได้ผ่านการวัด การจูนเสียงเรียบร้อยแล้ว ทีนี้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า จูนลำโพงคืออะไร? จูนแล้วเสียงจะดีขึ้นจริงหรือไม่? การออกแบบตู้มีผลกระทบต่อการจูนเสียงหรือไม่? ตู้ลำโพงเเบบไหนที่ต้องจูนเสียง? ความเชี่ยวชาญของผู้จูนเสียงมีผลต่อเสียงที่ออกมาหรือไม่? บทความนี้มีคำตอบครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

จูนตู้ลำโพงคืออะไร ทำไมต้องจูนตู้ลำโพง?

การออกแบบตู้มีผลกระทบต่อการจูนหรือไม่?

ตู้ลำโพงเเบบไหนที่ต้องจูน?

ความเชี่ยวชาญของผู้จูนเสียงมีผลต่อเสียงที่ออกมาหรือไม่?

 

จูนตู้ลำโพงคืออะไร ทำไมต้องจูนตู้ลำโพง? เริ่มต้นการจูนลำโพงจะเเบ่งเป็น 2ส่วนหลักๆ คือ จูนในส่วนของความถี่ และจูนในส่วนของเวลา ซึ่งทั้ง 2ส่วน ต่างส่งผลกระทบต่อเฟสด้วยกันทั้งสิ้น ระบบเสียงที่ใช้งานอยู่แน่นอนว่าเต็มไปด้วยดอกลำโพงหลากหลายขนาดที่ทำงานไปพร้อมๆกัน ไม่ว่าจะเป็นลำโพงเสียงเบส กลาง แหลม พอติดตั้งภายในตู้ลำโพง หรือจัดวางในตำแหน่งที่ต่างกันออกไป ทำให้เสียงจากแต่ละแหล่งกำเนิดเสียงมาถึงผู้ฟังในเวลาที่ต่างกัน ทำให้เสียงขาดความเป็น ธรรมชาติ เพราะความถี่เสียงทุกๆความถี่ ต่างเดินทางในอากาศด้วยความเร็วที่เท่ากัน เเถมยังมีโอกาสเกิดการหักล้างของเสียงได้ในบางความถี่เสียงที่ทำงานร่วมกันอีกด้วย

 

จูนเสียง

(ขอบคุณรูปจาก https://www.ikmultimedia.com/products/iloudmm/)

 

การจูนระบบเสียงจึงเข้ามาช่วยจัดการเรื่องเวลาก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อให้เสียงที่ออกมาจากตู้ลำโพงมีเวลาที่ถูกต้อง ลดการหักล้างกันของความถี่เสียงที่ทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่าง ให้ Woofer และ Tweeter ตัดกันที่ความถี่ 2kHz จะเห็นได้ว่าทั้ง Tweeter และ Woofer มีความถี่ที่ทำงานร่วมกันช่วง 2kHz ทีนี้ความยาวคลื่นของ 2kHz อยู่ที่ประมาณ 0.176 เมตร แต่ระยะห่างระหว่างแหล่งกำเนิดเสียง Woofer และ Tweeter อยู่ห่างกันที่ 88มิลลิเมตร หรือ 0.088เมตร ซึ่งเป็น λ/2 ของความถี่ 2kHzพอดี เกิด Out of phase ที่ความถี่ 2kHz ที่กลางตู้ แต่เมื่อเอียงไปทางดอก Woofer ระยะทางจากดอก Woofer กับ Tweeter จะใกล้เคียงกันมากขึ้น เกิดการ Inphase ในจุดที่อยู่ข้างตู้เเทน ทำให้เสียงเมื่อฟังข้างตู้จะได้ยินความถี่ 2kHzโดดออกมา แต่ไม่มีบริเวณกลางตู้ ซึ่งทำให้ไม่บาลานซ์กับความถี่อื่นๆนั่นเอง

 

(ขอบคุณรูปจาก http://education.lenardaudio.com/en/06_x-over_4.html)

 

 

การออกแบบตู้มีผลกระทบต่อการจูนหรือไม่? เรียกได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด การจูนลำโพงเป็นเพียงขั้นตอนสุดท้ายหลังจากการออกเเบบตู้ที่ถูกต้อง เลือกดอกลำโพง หาจุดตัดจากระยะของดอกลำโพงเพื่อลดการแทรกสอดของคลื่นเสียง โดยเฉพาะตู้ลำโพงที่มี Network ตัดความถี่เสียงในตัว ระยะการวางดอกลำโพงภายในตู้ กับการออกแบบ Network เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะไม่สามารถใช้ Processor แก้ไขในเรื่องของ Time delay ระหว่างดอกได้นั่นเอง

 

 

 

 

 

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เปลี่ยนตู้ลำโพงให้เสียงดี ด้วยอุปกรณ์จูนลำโพงเบื้องต้น

5 นาที เข้าใจ FFT ในโปรแกรมวัดเสียง

เทคนิค จูนระบบเสียง ด้วยงบ 0บาท

 

 

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ไมค์ RTA

PreSonus PRM1

฿4,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ไมค์ RTA

Earthworks TC20

฿21,230.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ไมค์ RTA

Earthworks QTC50mp

฿148,790.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ไมค์ RTA

Earthworks QTC50

฿77,370.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ไมค์ RTA

Earthworks m50

฿66,910.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ไมค์ RTA

Earthworks M30

฿36,010.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ไมค์ RTA

Earthworks M23R

฿31,400.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

จัดชุดอุปกรณ์จูนเสียง

GENELEC GLM 2.0 User Kit

฿14,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

ไมค์ RTA

Behringer ECM8000

฿1,650.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ไมค์ RTA

Earthworks M23

฿25,710.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

จัดชุดอุปกรณ์จูนเสียง

Superlux ECM 888B SET ชุดจูนระบบเสียง

฿15,650.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿8,590.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

 

ตู้ลำโพงเเบบไหนที่ต้องจูน? บอกได้เลยครับว่าทุกตู้ลำโพงต้องผ่านการจูนเพื่อหาปัญหา เเนวทางการแก้ไข และรีดประสิทธิ์ภาพออกมาให้ได้อย่างสูงสุด แม้กระทั่งตู้ลำโพงแบรนด์ดังระดับโลก ก็ล้วนแล้วต้องผ่านขั้นตอนการจูนเสียงมาทั้งสิ้น เสร็จแล้วก็นำค่าที่ได้ใส่ไว้ใน Digital Signal Processor สำหรับจำหน่ายทั้งระบบเสียง

 

 

 

จูนเสียง

ความเชี่ยวชาญของผู้จูนเสียงมีผลต่อเสียงที่ออกมาหรือไม่? เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะผู้จูนเสียงจะต้องวิเคราะห์ หาสาเหตุของปัญหาจากผลที่วัดได้ พร้อมกับตัดสินใจว่าจะลด หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการใด ซึ่งถ้าผู้จูนระบบเสียงปราศจากความเข้าใจย่อมส่งผลให้เสียงที่ได้ออกมาไม่ดีเท่าที่ควรหรืออาจสร้างความเสียงหายเเก่ระบบเสียงได้นั่นเอง

 

 

 

จูนเสียง

 

 

 

สรุป การวัด จูนระบบเสียง ทำให้เสียงดีขึ้นได้อย่างแน่นนอน แต่ต้องอาศัยปัจจัยหลายๆอย่าง ทั้งการออกแบบตู้ลำโพงที่ถูกต้อง ความสามารถของผู้ที่จูนระบบ เพื่อให้ระบบเสียงสามารถทำงานได้อย่างสอดคล้องกันนั่นเอง

 

อ่านบทความเรื่องการจูนระบบเสียงเรื่องอื่นๆ

ติดตามช่องทางต่างๆของ AT PROSOUND

FACEBOOK ATPROSOUND

YOUTUBE ATPROSOUND

บทความโดย เอกพัฒน์ มั่นคง

 


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿35.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿36.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿42.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿185.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿42.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿36.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

หนึ่งความเห็นสำหรับ “วัดเสียง จูนเสียง ทำให้เสียงดีขึ้น เรื่องจริงหรือหลอกเด็ก?

ใส่ความเห็น