Input Routing บนดิจิตอลมิกเซอร์ ทำงานอย่างไร

Input Routing / Input Patching

Input Routing บนดิจิตอลมิกเซอร์ หรือบางผู้ผลิตจะเรียกว่า Input Patching เป็นการกำหนดเส้นทางสัญญาณอินพุต ไปยังช่องสัญญาณที่ต้องการบนดิจิตอลมิกเซอร์ เพื่อการประมวลผล , การมิกซ์ และส่งสัญญาณนั้นไปยังภาคเอาท์พุตต่อไป โดยมีขั้นตอนตั้งแต่การเลือกอินพุต การใช้เอฟเฟค และการส่งมิกซ์บัสไปยังช่องเอาท์พุตที่ต้องการ ซึ่งคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการทำงานของการทำ Input Patching บนดิจิตอลมิกเซอร์มีดังต่อไปนี้

input routing

1.) เลือกอินพุต [Select Input]

อันดับแรกเริ่มต้นด้วยการเลือกอินพุตที่ต้องการ Patching ไม่ว่าจะเป็นอินพุตจากไมโครโฟน , เครื่องดนตรี , หรือ Line Input และ Virtual Input เช่น อุปกรณ์สตรีมเสียงแบบดิจิตอล อย่างคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์อื่น ๆ

2.) กำหนดอินพุตให้กับช่องสัญญาณ [Assign Input to Channel]

เมื่อเลือกอินพุตได้แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการกำหนดอินพุตนั้น ให้กับช่องสัญญาณบนมิกเซอร์ โดยขั้นตอนนี้สามารถที่จะทำผ่านหน้าเมนูของมิกเซอร์ หรือทำผ่านโปรแกรมอินเทอร์เฟซของมิกเซอร์รุ่นนั้น ๆ ก็ได้เช่นกัน ในแต่ละช่องสัญญาณบนมิกเซอร์ สามารถนำสัญญาณเสียงไปใช้ในขั้นตอนการประมวลผล และการมิกซ์ได้อย่างอิสระ

3.) ปรับแต่งค่าอินพุต [Adjust Input Setting]

หลังจากทำการกำหนดอินพุตให้กับช่องสัญญาณแล้ว หากต้องการปรับการตั้งค่าต่าง ๆ ของอินพุต เช่น Gain , EQ และการจัดการเรื่องไดนามิก (Compression , Gating) ในขั้นตอนการตั้งค่าเหล่านี้อาจจะมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของมิกเซอร์ที่ใช้ และข้อกำหนด หรือข้อจำกัดของแหล่งกำเนิดเสียง (Source)

4.) กำหนดช่องสัญญาณไปยังมิกซ์บัส [Route Channel to Mix Buses]

เมื่อทำการปรับค่า Gain , EQ หรืออะไรต่าง ๆ ที่อินพุตเสร็จแล้ว ก็สามารถ Routing กำหนดเส้นทางช่องสัญญาณ ไปยังมิกซ์บัสหนึ่งหรือหลายช่องพร้อมกันได้ โดยมิกซ์บัสใช้เพื่อรวมช่องอินพุตหลายช่องให้เป็นกรุ๊ปเดียวกัน ช่วยให้มีความสะดวกในการมิกซ์ยิ่งขึ้น ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้มิกซ์บัสนั้น ๆ เช่น ใช้เป็นบัสมอนิเตอร์สำหรับนักดนตรี หรือ Main Mix สำหรับผู้ชม เป็นต้น

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

5.) การใช้เอฟเฟกที่มิกซ์บัส [Apply Effects to Mix Buses]

มิกซ์บัสแต่ละบัสยังสามารถใช้เอฟเฟกเพิ่มเติม หรือ Signal Processing ได้ตามต้องการ ซึ่งรวมถึงการใช้ Reverb , Delay , Equalizer หรือ Dynamic Processor ต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงเสียงโดยรวมของมิกซ์บัสนั้น ๆ

6.) การกำหนดมิกซ์บัสไปยังช่องเอาท์พุต [Route Mix Buses to Outputs]

ในขั้นตอนสุดท้าย.. คือการ Patching มิกซ์บัสไปยังช่องเอาท์พุตที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นลำโพงหลักหน้าเวที (Main PA) , ภาคมอนิเตอร์บนเวที หรืออุปกรณ์บันทึกเสียงอื่น ๆ เป็นต้น

7.) คำแนะนำเพิ่มเติม

สิ่งสำคัญที่ควรทราบก็คือขั้นตอน และคำศัพท์เฉพาะอาจแตกต่างกันเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตมิกเซอร์รุ่นนั้น ๆ การอ่านคู่มือผู้ใช้ และคำแนะนำโดยละเอียด เกี่ยวกับการ Routing และรวมถึงฟังก์ชั่นอื่น ๆ บนมิกเซอร์ของคุณ นอกจากนี้.. ดิจิตอลมิกเซอร์สมัยใหม่หลาย ๆ รุ่นยังมาพร้อมกับตัวเลือกการ Patching ที่ยืดหยุ่น ช่วยให้สามารถปรับแต่งขั้นตอนการทำงานของมิกเซอร์ ให้มีความสะดวกสบาย และใช้งานง่ายตรงตามความต้องการของคุณได้

ตัวอย่างการทำ Input Routing บน Behringer X32

ติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook AT Prosound

บทความโดย : ณัฐพจน์ วิจารัตน์


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น