หูไม่ดี ที่อยากให้ดู (Human Auditory)

หูไม่ดี ที่อยากให้ดู มิกซ์เสียง

หลายคนคงเคยประสบปัญหา มีเป้าหมายอยากเป็นนักฟังที่ดี มิกซ์เสียง ปรับเเต่เสียงที่เก่ง เเต่ไม่รู้จะเริ่มต้นจากไหนก่อน บทความนี้ จึงอยากเเนะนำให้ย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นของการฟังสำหรับมนุษย์ทุกคน ซึ่งเป็นอวัยวะที่ติดตัวมาตั้งเเต่เกิด นั่นก็คือหูนั่นเอง เลยขอมาอธิบายถึงความรู้พื้นฐานเรื่องการได้ยินของมนุษย์ ในเเบบที่เข้าใจไม่ยากกันก่อน

หูไม่ดี ที่อยากให้ดู มิกซ์เสียง สารบัญ

1. Human Auditory Range

2. Equal Loudness Contour

3. สรุป

 

มิกซ์เสียง

Human Auditory Range

เริ่มต้นมนุษย์สามารถได้ยินความถี่เสี่ยงตั้งเเต่ 20Hz – 20kHz เเละมีช่วงห่างของระดับเสียงที่ดังสุดและเบาสุดอยู่ที่ 120dB ซึ่งเเต่ละคนจะได้ยินไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับ กรรมพันธุ์ อายุ ความเสื่อมของหู เป็นต้น ทีนี้ระดับเสียงที่ดังสุดและเบาสุดที่มนุษย์ได้ยิน ในเเต่ละความถี่ก็จะเเตกต่างกันออกไป

 

มิกซ์เสียง

(ขอบคุณรูปจาก http://www.cochlea.org/en/hear/human-auditory-range)

 

จากรูปเเนวนอน คือ ความถี่เสียง หน่วยเป็นHz ส่วนเเนวตั้ง คือ ระดับความดังเสียง หน่วยเป็นdB ในส่วนพื้นที่สีเขียว Auditory Field คือ ระดับเสียงที่ดังสุดและเบาสุด ในเเต่ละความถี่ที่ หู มนุษย์ได้ยินเเล้วสามารถเเยกเเยะความดังเบาของเสียงได้ ถ้าต่ำหรือสูงกว่าพื้นที่สีเขียว หมายถึง มนุษย์จะไม่สามารถเเยกเเยะความดังในความถี่นั้นๆได้เลย ยกตัวอย่างเช่น จากในรูปที่ความถี่ 1kHz – 2kHz จะมีความดังเสียงที่เบาที่สุด ที่สามารถเเยกเเยะความดังเสียงได้ประมาณ 5dB ส่วนระดับความดังเสียงสูงสุดที่สามารถแยกแยะได้จะอยู่ประมาณ 125dB ถ้าเสียงมีระดับที่ดังกว่านี้ จะไม่รู้สึกว่าดังขึ้นนั่นเอง เเละความสามารถในการแยกแยะระดับความดังเสียงจะค่อยๆลดลงเรื่อยๆในความถี่ที่เสียงสูงขึ้น และความถี่เสียงที่ต่ำลง

Equal Loudness Contour

ต่อมา แม้จะปล่อยเสียงที่มีระดับความดังเสียงที่เท่ากันในทุกๆความถี่ เเต่ไม่ได้หมายความว่า หู มนุษย์จะรับรู้ได้ว่าทุกๆความถี่มีระดับความดังเสียงที่เท่ากัน สังเกตุได้จากกราฟ Equal Loudness Contour ซึ่งเป็นกราฟเปรียบเทียบการได้ยินของมนุษย์ โดยที่เเนวนอน คือ ความถี่เสียง หน่วยเป็นHz ส่วนเเนวตั้ง คือ ระดับความดังเสียง หน่วยเป็นdB จากกราฟจะเห็นเส้นโค้งต่างๆสูงขึ้นในความถี่เสียงต่ำ แสดงให้เห็นว่า ถ้าอยากให้คนรับรู้ความดังในความถี่เสียงต่ำเท่ากับในความถี่เสียงสูง ระดับความดังในความถี่เสียงต่ำ จะต้องมีระดับความดังเสียงที่มากกว่านั่นเอง ตัวอย่าง เส้นสีฟ้ามีระดับความดังเสียง 10dB ที่ความถี่ 1,000Hz เเล้วในเส้นเดียวกันที่ความถี่ 33.5Hz ต้องใช้ระดับความดังเสียงสูงถึง 69dB เพื่อจะให้มีความรู้สึกถึงความดังเท่ากับที่ 1,000Hz จะเห็นได้ว่ามีความต่างกันถึง 59dB

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องได้ที่

 

 

เปรียบเทียบกับ เส้นสีส้มที่มีความดัง 80dB ที่ความถี่ 1,000Hz แล้วในเส้นเดียวกันที่ความถี่ 33.5Hz ต้องใช้ระดับความดังเสียงสูงขึ้นเป็น 110dB เพื่อที่จะให้มีความรู้สึกถึงความดังเท่ากับที่ 1,000Hz จะเห็นได้ว่ามีความต่างกันลดลงเหลือแค่ 30dB จากตัวอย่างแรก

สรุป จะเห็นได้ว่า ความต่างกันระหว่างความถี่เสียงต่ำ 33.5Hz กับความถี่เสียงกลาง 1000Hz จะมีความเเตกต่างกันน้อยลงเมื่อระดับความดังเสียงที่เพิ่มขึ้น สู่บทสรุปที่ว่า เวลาเปิดเพลง หรือSound check ในระดับความดังเสียงที่ไม่ดังมาก มิกซ์เสียง บาลานซ์เสียงเบส เสียงกลางได้ดีเเล้ว พอเวลาโชว์ ใช้เสียงที่ดังขึ้นอาจทำให้บาลานซ์เสียได้ ในการเซตอัพระบบเสียงก็เช่นกัน ยิ่งในงานดนตรีสด ความดังของ Sub woofer จึงต้องมากกว่าเสียงกลางเพราะ หู ฟังเเบบนั้นนั่นเอง

ติดตามช่องทางต่างๆของ AT PROSOUND

FACEBOOK ATPROSOUND

YOUTUBE ATPROSOUND

บทความโดย เอกพัฒน์ มั่นคง

 


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น