สร้างสีสันให้โซโล่ด้วย 7 โมด (Mode) ในบันไดเสียงเมเจอร์

7 model for solo in major scale

7 model for solo in major scale บันไดเสียงเมเจอร์ เป็นบันไดเสียงที่ใคร ๆ ก็รู้จัก และคุ้นชินกันเป็นอย่างดี เพราะว่าจะยุคไหนบันไดเสียงเมเจอร์ก็ถูกใช้ในการแต่งเพลงอยู่เป็นประจำ  ไม่ว่าจะเป็นเพลงแนวป็อป ร็อค แจ๊ส บลู ฯลฯ แต่ในบันไดเสียงยังมีบางสิ่งบางอย่างที่ซ่อนอยู่ข้างใน ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่จะสามารถนำมาสร้างสีสันให้กับโซโล่ และทำของเพลงของคุณได้ ซึ่งนั่นก็คือ “โมด” (Mode) ซึ่งในบันไดเสียงเมเจอร์ก็จะมีทั้งหมด 7 โมด ได้แก่

1.ไอโอเนียน (Ionian)

2.โดเรียน (Dorian)

3.ฟริเจียน (Phygian)

4.ลิเดียน (Lydian)

5.มิกโซลิเดียน (Mixolydian)

6.เอโอเลียน (Aeolian)

7.โลเครียน (Locrian)

เมื่อถามว่าเจ้า 7 โมด ที่กล่าวมาคืออะไร “มันก็คือบันไดเสียงที่ซ่อนอยู่ในบันไดเสียงเมเจอร์” ***ซึ่งทั้ง 7 โมดก็จะเรียงลำดับตามที่กล่าวไปข้างต้น โดยโมดทั้ง 7 โมด จะเป็นโมดลำดับ ที่ 1 2 3 4 5 6 7 ในบันไดเสียงเมเจอร์ (อยู่ในคีย์เดียวกัน) และสรุปได้ว่าโมดแต่ละลำดับ จะเริ่มด้วยโน้ตในบันไดเสียงลำดับเดียวกันบันไดเสียงเมเจอร์ ซึ่งบันไดเสียงเมเจอร์ ก็จะมีลำดับของโน้ตเช่นกัน คือลำดับที่ 1 2 3 4 5 6 7 ดังนี้

1.ไอโอเนียน (Ionian) ขึ้นด้วยโน้ตลำดับที่ 1 ของบันไดเสียงเมเจอร์

2.โดเรียน (Dorian) ขึ้นด้วยโน้ตลำดับที่ 2 ของบันไดเสียงเมเจอร์

3.ฟริเจียน (Phygian) ขึ้นด้วยโน้ตลำดับที่ 3 ของบันไดเสียงเมเจอร์

4.ลิเดียน (Lydian) ขึ้นด้วยโน้ตลำดับที่ 4 ของบันไดเสียงเมเจอร์

5.มิกโซลิเดียน (Mixolydian) ขึ้นด้วยโน้ตลำดับที่ 5 ของบันไดเสียงเมเจอร์

6.เอโอเลียน (Aeolian) ขึ้นด้วยโน้ตลำดับที่ 6 ของบันไดเสียงเมเจอร์

7.โลเครียน (Locrian) ขึ้นด้วยโน้ตลำดับที่ 7 ของบันไดเสียงเมเจอร์

อาจจะฟังดูงง มาชมตัวอย่างกันดีกว่าครับ โดยจะยกตัวอย่างในบันไดเสียง C เมเจอร์ ซึ่งประกอบไปด้วยโน้ต C (โด),  D (เร), E (มี), F (ฟา), G (โซล), A (ลา) และ B (ที) ซึ่งเป็นโตน้ตลำดับที่ 1 2 3 4 5 6 7 ตามลำดับ

1.ไอโอเนียน (Ionian) ขึ้นด้วยโน้ต C

2.โดเรียน (Dorian) ขึ้นด้วยโน้ต D

3.ฟริเจียน (Phygian) ขึ้นด้วยโน้ต E

4.ลิเดียน (Lydian) ขึ้นด้วยโน้ต F

5.มิกโซลิเดียน (Mixolydian) ขึ้นด้วยโน้ต G

6.เอโอเลียน (Aeolian) ขึ้นด้วยโน้ต A

7.โลเครียน (Locrian) ขึ้นด้วยโน้ต B

ซึ่งจะเรียกชื่อโมดดังนี้

1.C ไอโอเนียน

2.D โดเรียน

3.E ฟริเจียน

4.F ลิเดียน

5.G มิกโซลิเดียน

6.A เอโอเลียน

7.B โลเครียน

โดยโน้ตทุกตัวของแต่ละโมดอยู่ในบันไดเสียง C เมเจอร์ (โน้ตในโมดจะเปลี่ยนตามบันไดเสียงหลักที่เราเลือกมา อยู่ที่ว่าโมดนั้นเป็นโมดลำดับที่เท่าไหร่ ที่เราหยิบมาใช้) เมื่อถามว่า จะนำโมดเหล่านี้มาใช้งานอย่างไร เวลาใช้โมดหรือบันไดเสียงต่าง ๆ สิ่งที่ต้องดูคือคอร์ด เราจะดูว่าคอร์ดนั้นเป็นคอร์ดอะไร คอร์ดประเภทไหน จึงจะเลือกใช้ได้ถูก ***ต่อจากตัวอย่างข้างตั้น ในบันไดเสียงเมเจอร์ก็จะมีลำดับคอร์ดเช่นกัน นั้นก็คือลำดับที่ 1 2 3 4 5 6 7 เหมือนกับโมด และโน้ตในบันไดเสียง พอจะนึกออกหรือยังครับว่ามันจะสัมพันธ์กันอย่างไร

โดยจะยกตัวอย่างบันไดเสียง C เมเจอร์

คอร์ดลำดับที่ 1 => Cmaj7

คอร์ดลำดับที่ 2 => Dm7

คอร์ดลำดับที่ 3 => Em7

คอร์ดลำดับที่ 4 => Fmaj7

คอร์ดลำดับที่ 5 => G7

คอร์ดลำดับที่ 6 => Am7

คอร์ดลำดับที่ 7 => Bm7(b5)

ทีนี้ก็จะได้ความสัมพันธ์ในการใช้โมดกับคอร์ดดังนี้

1.ไอโอเนียน (Ionian) ใช้กับ คอร์ดลำดับที่ 1 => C ไอโอเนียน ใช้กับ Cmaj7

2.โดเรียน (Dorian) ใช้กับ คอร์ดลำดับที่ 2 => D โดเรียน ใช้กับ Dm7

3.ฟริเจียน (Phygian) ใช้กับ คอร์ดลำดับที่ 3 => E ฟริเจียน ใช้กับ Em7

4.ลิเดียน (Lydian) ใช้กับ คอร์ดลำดับที่ 4 => F ลิเดียน ใช้กับ Fmaj7

5.มิกโซลิเดียน (Mixolydian) ใช้กับ คอร์ดลำดับที่ 5 => G มิกโซลิเดียน ใช้กับ G7

6.เอโอเลียน (Aeolian) ใช้กับ คอร์ดลำดับที่ 6 => A เอโอเลียน ใช้กับ Am7

7.โลเครียน (Locrian) ใช้กับ คอร์ดลำดับที่ 7 => B โลเครียน ใช้กับ Bm7(b5)

จากตัวอย่างข้างต้นทำให้เรารู้ว่า โมดชนิดใดใช้กับคอร์ดประเภทอะไร อธิบายได้ดังนี้

1.ไอโอเนียน (Ionian) ใช้กับคอร์ดเมเจอร์ 7

2.โดเรียน (Dorian) ใช้กับคอร์ดไมเนอร์ 7

3.ฟริเจียน (Phygian) ใช้กับคอร์ดไมเนอร์ 7

4.ลิเดียน (Lydian) ใช้กับคอร์ดเมเจอร์ 7

5.มิกโซลิเดียน (Mixolydian) ใช้กับคอร์ดดอมินันท์ 7

6.เอโอเลียน (Aeolian) ใช้กับคอร์ดไมเนอร์ 7

7.โลเครียน (Locrian) ใช้กับคอร์ดไมเนอร์ 7 แฟล็ต 5

ทีนี้ในการใช้งานจริงเพื่อสร้างสีสัน เราจะมาประเภทของคอร์ดว่าเป็นคอร์ดประเภทใด ไม่ว่าจะเป็น คอร์ดเมเจอร์ 7, คอร์ดไมเนอร์ 7, คอร์ดดอมินันท์ 7 และคอร์ดไมเนอร์ 7 แฟล็ต 5 ผู้ใช้โมดที่เป็นนักดนตรีแจ๊สส่วนมาก จะมองเพียงประเภทคอร์ด แล้วนำโมดที่สามารถใช้ได้กับประเภทนั้นมาใช้เลย ยกเว้นแต่คอร์ดนั้นจะเป็นคอร์ดลำดับที่ 2 และลำดับที่ 5 อาจจะต้องใช้ลำดับโหมดให้ตรงเพื่อการแสดงให้เห็นว่าเพลงที่บรรเลงอยู่ในบันใดเสียงอะไร (อยู่ในคีย์อะไร) ที่นี้เมื่อเราเจอประเภทคอร์ดที่ต่างกัน แล้วเราจะใช้โมดอะไรในการบรรเลงหรือสร้างทำนองนั้น สามารถดูได้ดังต่อไปนี้

คอร์ดเมเจอร์ 7 => ไอโอเนียน และลิเดียน

คอร์ดไมเนอร์ 7 => โดเรียน, ฟริเจียน (ไม่นิยม) และเอโอเลียน

คอร์ดดอมินันท์ 7 => มิกโซลิเดียน

และคอร์ดไมเนอร์ 7 แฟล็ต 5 => โลเครียน

จากที่กล่าวมาข้างต้น คงจะรู้ว่า เราสามารถนำโมดไปใช้ได้อย่างไร หวังว่าทุกท่านจะนำไปฝึก และสามารถนำไปใช้งานกันนะครับ

อ่านบทความเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องได้ที่

เข้าชมเพจ AT Prosound


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น