สิ่งที่ควรรู้ !! เกี่ยวกับ “ไฟเวที” (Stage Lighting)

ไฟเวที (Stage Lighting) กับสิ่งที่คุณควรรู้ !!

ไฟเวที (Stage Lighting) | เช่นเดียวกับเสียง ที่ประกอบไปด้วยคลื่นความถี่ที่เราสามารถรับรู้ได้ด้วยหู ในขณะที่แสงไฟ “Light” ก็เป็นเพียงความยาวคลื่นความถี่สูง ที่เราสามารถตีความ และรับรู้ได้ด้วยตา โดยแสงที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้นับเป็นส่วนหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่อยู่ในช่วงความยาวคลื่น 400 ถึง 700 นาโนเมตร เรียกว่า “แสงที่ตามองเห็น” (Visible Light) ไฟเวที

เราจะเห็นได้ว่าในวงการเสียง งานคอนเสิร์ตต่าง ๆ นอกจากระบบเครื่องเสียงที่ดีแล้ว ระบบแสง ไฟ และสีที่ดีนั้น ก็เป็นสิ่งที่ขาดไปไม่ได้เช่นกัน ไฟบนเวที หรือ Stage Lighting นั้นไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่เพิ่มความสว่างบนเวทีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนทำหน้าที่สร้างสรรค์ เพื่อสื่ออารมณ์ให้กับการแสดงในเชิงศิลปะได้อีกด้วย ดังนั้นในบทความนี้.. เรามาว่ากันด้วยเรื่อง สิ่งที่ควรรู้ !! เกี่ยวกับ “ไฟเวที” (Stage Lighting) เพื่อความเข้าใจจุดประสงค์ในอุปกรณ์แสง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการแสดงบนเวทีกันครับ

 

จุดประสงค์ของการจัดไฟเวที (Stage Lighting)

จุดประสงค์ของการจัดไฟเวที ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงวัตถุประสงค์เดียวเท่านั้น โดยหลัก ๆ แล้ว จุดประสงค์ของไฟเวทีมีดังต่อไปนี้ครับ

  • ส่องสว่างบนเวที

วัตถุประสงค์พื้นฐานที่สุดสำหรับการจัด Lighting นั่นก็คือ การให้แสงสว่างแก่นักแสดง ฉาก และอุปกรณ์ประกอบฉาก เพื่อให้ผู้ชมสามารถมองเห็นทุกสิ่ง ที่พวกเขาต้องการเห็นบนเวทีได้อย่างชัดเจน หากแสงสว่างไม่เพียงพออาจทำให้ประสิทธิภาพ และคุณภาพของโปรดักชั่นนั้นถูกลดทอนลงได้ นอกจากนี้.. แสงและสี ก็มีความสำคัญต่อผู้ที่ทำการแสดงบนเวทีในด้านความปลอดภัยด้วยเช่นกัน เพื่อลดโอกาสที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนเวทีได้ ไม่ว่าจะเป็นนักแสดง นักเต้น และนักดนตรีเองก็ตาม

  • เน้นพื้นที่ต่าง ๆ 

การจัดไฟ Lighting ยังช่วยกำหนดทิศทางให้กับผู้ชมได้ว่า ควรโฟกัสไปที่ตำแหน่งใดบนเวที ยกตัวอย่าง เช่น ในกรณีที่มือกีตาร์กำลังทำการโซโล่อยู่ที่หน้าเวที หรือในเวลาที่พิธีกรกำลังขึ้นบรรยาย พื้นที่ส่วนใหญ่บนเวทีอาจมีความมืด โดยมีไฟสปอตไลท์เพียงไม่กี่ดวงที่โฟกัสไปยังตำแหน่งนั้น เพื่อชี้นำความสนใจของผู้ชมไปยังพื้นที่เฉพาะของผู้ที่อยู่เบื้องหน้าเวที

  • การสร้างบรรยากาศ

การจัดไฟ Lighting ยังช่วยให้คุณสร้างภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ให้กับบรรยากาศได้อีกด้วย ยกตัวอย่าง เช่น การสร้างภาพลวงตาด้วยแสง การใช้แสงที่เคลื่อนไหวเพื่อทำให้ดูเหมือนพระอาทิตย์กำลังขึ้น หรือทำให้เวทีมืดไปเมื่อถึงฉากที่นักแสดงกดสวิตช์ไฟ เป็นต้น

  • สื่ออารมณ์ให้การแสดง

ที่สำคัญ.. การจัดไฟ Lighting ยังส่งผลอย่างมากต่ออารมณ์อีกด้วย โดยหลักการแล้วคือการจับคู่แสงกับอารมณ์เนื้อหา หรือสถานการณ์บนเวที เพื่อกระตุ้นอารมณ์ที่เหมาะสมให้กับผู้ชม ซึ่งอาจหมายถึงแสงที่นุ่มนวล และอบอุ่นสำหรับฉากที่มีความสุขในละคร หรือโทนสีเย็นที่สลัว ๆ สำหรับเพลงเศร้า ๆ ในคอนเสิร์ต ซึ่งสีมีความเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่าง เช่น สีโทนเย็น มักเกี่ยวข้องกับความโศกเศร้า และสีโทนร้อน เกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่รุนแรง เป็นต้น

 

ประเภทของไฟเวที

ไฟเวทีที่ใช้เป็นองค์ประกอบบนเวทีกันทั่วไป มีอยู่หลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทได้รับการออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนั้นบนเวทีใดเวทีหนึ่งจะไม่ได้มีอยู่แค่ไฟประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น ในหัวข้อนี้ผมได้รวบรวมประเภทของไฟเวทีที่พบกันได้บ่อย ๆ ดังนี้ครับ 

  • Ellipsoidal

ไฟเวที Ellipsoidal หรือ “Reflector Spotlight ทรงรี” ให้ลำแสงที่เข้มข้น และชัดเจน นิยมใช้สำหรับเป็นไฟที่ให้แสงด้านหน้าของเวที เป็นไฟที่สามารถปรับโฟกัสของแสงไฟให้มีความนุ่มนวล หรือให้มีความคมมากขึ้นได้ อีกทั้งยังสามารถปรับรูปร่างของแสง เพื่อป้องกันไม่ให้แสงไหลผ่านเข้าสู่บริเวณที่ยังคงต้องการให้มืดได้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างสีสันได้อีกด้วย

ไฟเวที

  • Followspot

Followspot เป็นไฟสปอตไลท์ประเภทหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นโฟกัสให้กับนักแสดง หรือนักดนตรีที่เคลื่อนไหวไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ของเวที ไฟประเภทนี้จำเป็นต้องมีการตอบสนอง ต่อผู้ที่ทำการแสดงอยู่ที่หน้าเวทีได้แบบเรียลไทม์ ดังนั้นไฟ Followspot จึงเป็นไฟที่ต้องควบคุมด้วยตนเอง นอกจากนี้ก็ยังสามารถปรับขนาด ระดับความเข้มข้นของแสง และปรับสีได้อย่างง่ายดาย ด้วย Built-in Panel ในตัว

  • Fresnel

Fresnel หรือมีอีกคำที่เรียกว่า “Wash Lights” เป็นไฟที่ตั้งชื่อตามนักประดิษฐ์ ที่ชื่อว่า “Augustin Fresnel” สิ่งที่ทำให้ไฟประเภทนี้มีเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัว นั่นก็คือ เลนส์ที่ทำจะมีลักษณะเป็นวงแหวนที่มีจุดศูนย์กลาง และแสงไฟจะสว่างที่สุด ณ จุดศูนย์กลางของวงแหวน แต่จะมีความจางที่ขอบ เป็นไฟประเภทที่ให้แสงสว่างเฉพาะจุดแบบปรับโฟกัส และปรับลำแสงได้

ไฟเวที

  • Par

PAR หรือย่อมาจาก “Parabolic Aluminized Reflector” เป็นส่วนประกอบหลักในการให้แสงสว่างบนเวที โดยไฟ PAR เป็นโคมไฟลำแสงปิดผนึกในโลหะทรงกระบอก ไฟประเภทนี้จะคล้าย ๆ กับไฟหน้ารถ และมีการออกแบบที่เรียบง่าย คุณสามารถใช้ไฟ PAR เพื่อสร้างลำแสงในแนวนอน หรือแนวตั้งได้ โดยมาตรฐานแล้วมักจะสามารถใช้เจล หรือฟิลเตอร์สีเพื่อสร้างสีให้กับแสงไฟได้ แต่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนรูปทรงของลำแสงได้

  • Floodlight

เป็นโคมไฟที่ใช้ ชิป LED ในการส่องสว่าง ให้มุมการกระจายแสงที่กว้างกว่าโคมไฟทั่วไป ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะสับสนกับโคมไฟสปอตไลท์ ที่มีหน้าตาคล้าย ๆ กัน จึงทำให้หลายคนเข้าใจผิด เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างโคมไฟ Floodlight กับโคมไฟสปอตไลท์ นั่นก็คือ ไฟสปอตไลท์จะให้แสงสว่างเฉพาะจุด มีมุมกระจายของแสงไม่กว้างเท่า Floodlight ดังนั้นลำแสงของสปอตไลท์ จะเป็นแสงที่พุ่งตรงเพื่อใช้โฟกัสจุดใดจุดหนึ่งนั่นเอง

ไฟเวที

 

  • Cyclorama

ไฟเวที Cyclorama หรือย่อสั้น ๆ ว่า “Cyc” ส่วนใหญ่แล้วมักพบได้บนเวทีสำหรับการแสดงละครเวที เป็นไฟสำหรับส่องสว่างให้กับฉากหลัง หรือ Backdrop โดยไฟ Lighting ประเภทนี้นี้ จะให้คุณลักษณะของการกระจายแสงที่สม่ำเสมอ และมีมุมกระจายแสงที่กว้าง ซึ่งไฟ Lighting เภทนี้สามารถวางบนพื้น หรือแขวนไว้ใกล้กับฉากหลัง เพื่อให้สามารถครอบคลุมฉากหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • Strip Light

Strip Light จะมีความคล้ายกับไฟ Cyc อยู่บ้างเล็กน้อย ตรงที่ประกอบไปด้วยโคมไฟหลายดวง เรียงกันเป็นแถวแนวนอน แต่ไฟ Strip Light จะมีความครอบคลุมของแสงมากกว่าไฟ Cyc ซึ่งไฟประเภทนี้ คือสิ่งที่ Lighting Designer หลายคนใช้ เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของสีจำนวนมากให้กับเวที 

ไฟเวที

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

 

ตำแหน่งการจัดไฟเวที

หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดแสงไฟบนเวทีประการหนึ่ง ที่ต้องทำความเข้าใจก็คือ “ตำแหน่งการจัดไฟ” ซึ่งตำแหน่งการจัดไฟบนเวที ที่ Lighting Designer คำนึงถึงในการออกแบบ มีดังต่อไปนี้ครับ

  • Front Light

Front Light หรือไฟด้านหน้า เป็นตำแหน่งสำคัญหลัก ๆ สำหรับการจัดไฟเวที เพราะเป็นตำแหน่งที่ให้ความส่องสว่างแก่ผู้ที่ทำการแสดง หรือผู้ที่บรรยายอยู่บนเวทีไม่ว่าจะเป็นนักร้อง นักดนตรี นักแสดง และพิธีกร เป็นต้น ทำให้ผู้ชมได้เห็น และเข้าใจองค์ประกอบต่าง ๆ รวมถึงเนื้อหาของการแสดงบนเวทีได้อย่างชัดเจน 

  • Back Light

ตำแหน่งการจัดไฟ Back Light เป็นตำแหน่งที่ทำให้เวที และองค์ประกอบต่าง ๆ บนเวทีมีมิติมากขึ้น โดยที่ Back Light จะอยู่ด้านหลังของเวที หรือด้านหลังของนักแสดง ซึ่งสามารถจัดตำแหน่งไฟ Back Light ตามจุดต่าง ๆ ด้วยไฟ PAR ในแนวตั้งได้ เนื่องจากไฟ PAR สามารถติดตั้งได้ดีในตำแหน่งไฟ Back Light โดยเฉพาะ และสามารถปรับเปลี่ยนสี และความเข้มของแสงไฟได้

  • Down Light

อีกหนึ่งวิธีในการเพิ่มมิติให้กับเวที ก็คือการใช้ดาวน์ไลท์ โดยเป็นตำแหน่งที่วางอยู่บนพื้นเวที และส่องไฟขึ้นด้านบนเพดานเวที ซึ่งดาวน์ไลท์อาจมีความเข้มของแสงที่ต่างกันออกไปครับ

  • Side / High Side Light

Side Light เป็นไฟที่จัดวางในตำแหน่งด้านข้างของเวที เพื่อให้แสงสว่างจากด้านใดด้านหนึ่งแก่นักแสดง นักดนตรี และพิธีกร ในส่วน High Side ก็อยู่ในตำแหน่งด้านข้างเช่นกัน เพียงแต่จะจัดวางให้มีตำแหน่งที่สูงกว่า เป็นตำแหน่งที่ส่องไฟไปที่ศีรษะ และไหล่ของผู้ที่อยู่บนเวที ซึ่งการจัดวางแสงไฟในตำแหน่งเหล่านี้ มีความสำคัญต่อการให้ผู้ชมได้เห็นใบหน้าของผู้ที่อยู่บนเวทีได้อย่างชัดเจน

 

เทคนิคการใช้สีของแสงไฟ

ในเรื่องสีของแสงไฟ เป็นส่วนที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการสร้างบรรยากาศให้กับเวที และสื่ออารมณ์ต่าง ๆ ให้กับผู้ชม โดยเทคนิคหลัก ๆ ในการใช้สีของแสงไฟ มีดังต่อไปนี้ครับ

  • Monochromatic

เป็นเทคนิคการเลือกใช้สีต่าง ๆ ที่อยู่ในเฉดสีเดียวกันตาม Color Wheel หรือเรียกว่า “สีเอกรงค์” ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ดีหากต้องการจัดแสงไฟ Lighting ให้มีความเรียบง่าย หรือเน้นสีเดียวครับ

  • Complementary

เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่ใช้สีคู่ตรงข้ามกันตาม Color Wheel หรือสีที่ตัดกันอย่างรุนแรง เพื่อลดความสดของแต่ละสี อาจจะใช้เป็นวิธีการตัดกัน เช่น ใช้สีที่หนึ่งเป็นสีหลัก เป็นสีที่มีพื้นที่มากกว่า และใช้สีที่สอง (สีตรงข้าม) ซึ่งใช้พื้นที่สีน้อยกว่าในการตัด หรืออาจจะใช้เป็นวิธีนำทั้งสองสีมาผสมกันก็ได้ ยกตัวอย่าง เช่น แดงกับเขียว , ม่วงกับเหลือง , น้ำเงินกับส้ม เป็นต้น

  • Triads

เทคนิค Triads Color เป็นการใช้คู่สี 3 เฉด ที่เป็นคู่สีแยกตรงข้ามตาม Color Wheel ที่แยกเป็นทางซ้าย และขวาในลักษณะรูปสามเหลี่ยม ยกตัวอย่าง เช่น แดง/เหลือง/น้ำเงิน หรือ เขียว/ส้ม/ม่วง เป็นต้น เพื่อเพิ่มความหลากหลายในโทนสีของเวทีนั่นเองครับ

  • Adjacent (Analogous)

เป็นเทคนิคที่ใช้สีที่อยู่ข้างเคียงกันทั้งซ้าย และขวาตาม Color Wheel เป็นสีที่มีความคล้ายคลึงกัน เพื่อสร้างความกลมกลืนกัน และลดความขัดแย้งของสี ยกตัวอย่าง เช่น แดง/ส้มแดง/ส้ม หรือ ส้มเหลือง/เหลือง/เขียวเหลือง เป็นต้น 

  • Cool / Warm

เป็นเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอุณหภูมิของสี และเป็นเทคนิคที่สามารถสร้างบรรยากาศได้อีกด้วย Cool Color หรือสีโทนเย็น ประกอบไปด้วย 3 เฉดหลัก ๆ นั่นก็คือ สีเขียว สีน้ำเงิน และสีม่วง เป็นโทนสีที่ให้ความรู้สึกสุภาพ สงบ ลึกลับ เยือกเย็น ในทางจิตวิทยาสีโทนเย็นมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกหดหู่ และเศร้าครับ ในส่วนของ Warm Color หรือสีโทนร้อน บางคนก็เรียกว่าสีโทนอุ่น ประกอบไปด้วย 3 เฉดหลัก ๆ เช่นกัน นั่นก็คือ สีแดง สีส้ม และสีเหลือง เป็นโทนสีที่ให้ความรู้สึกตื่นตา มีพลัง อบอุ่น สนุกสนาน และดึงดูดความสนใจได้ดีครับ

 

  • เกร็ดความรู้เพิ่มเติม

สีของแสงไฟ Lighting บนเวที เป็นสิ่งที่สามารถสื่อ และกระตุ้นอารมณ์บางอย่าง หรือส่งผลต่อความรู้สึกโดยรวมต่อฉาก และการแสดงได้ แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมด เพราะนอกจากนี้ โทนของสียังเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นสัญลักษณ์ ความเชื่อมโยงกันกับธีมหลักของการแสดง และเวทีได้อีกด้วยครับ

 

คำศัพท์ ! ที่ควรรู้ เกี่ยวกับแสงไฟ

  • Wash

Wash ในภาษาไทยที่แปลว่า “ล้าง” เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกไฟที่มีลักษณะของลำแสงที่กว้าง ครอบคลุมได้อย่างสม่ำเสมอทั้งเวทีนั่นเองครับ

  • Intensity

Intensity หรือ “ความเข้ม” คือศัพท์ที่ Lighting Designer ใช้เพื่ออธิบายระดับความสว่างของแสงไฟเวที 

  • Diffusion

Diffusion ในภาษาไทยแปลว่า “การกระจาย” หมายถึง การที่แสงสะท้อน หรือกระทบกับตัวกลางที่มีพื้นผิวไม่เรียบ และกระจายทิศทางการสะท้อน หรือการนำแสงโดยไม่อิงกับแนวฉาก ทำให้วัตถุที่สะท้อนมีความสว่าง

  • Gel

Gel หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ฟิลเตอร์สี” คือสิ่งที่ Lighting Designer ใช้ในการเปลี่ยนสีของแสงไฟ เจลสี หรือฟิลเตอร์สีจะเป็นในลักษณะของแผ่นพลาสติกสีโปร่งแสง ซึ่งคุณสามารถใช้แสงไฟเดียวกันเพื่อใส่สีต่าง ๆ ได้มากมาย

 

สรุป

ไม่ว่าจะเวทีคอนเสิร์ต หรือเวทีละคร นอกจากเรื่องของระบบเสียงที่ดีแล้ว สิ่งที่ทำให้งานนั้นออกมามีคุณภาพที่สุด ระบบแสงไฟเวทีที่ดีก็เป็นสิ่งที่ดึงดูดความน่าสนใจของผู้ชม และขาดไปไม่ได้เช่นกันครับ ที่กล่าวมาทั้งหมดในบทความนี้ ยังเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของสาระน่ารู้ในเรื่องระบบแสงไฟเวทีเท่านั้น ในบทความต่อไปของ AT Prosound เราจะมาขยายเนื้อหากันต่อในเรื่องของระบบแสงไฟเวทีเช่นเดิม แต่รายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น รอติดตามกันได้เลยครับ 

หากท่านมีความสนใจ หรือต้องการติดต่อสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสินค้า หรืองานติดตั้งระบบเสียงต่าง ๆ กับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ท่านสามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ :

  • Tel. : 098-785-5549
  • Facebook : AT prosound-shop
  • Line : @atprosound
  • E-mail : [email protected]

เวลาทำการ

Monday 9:00 — 18:00
Tuesday 9:00 — 18:00
Wednesday 9:00 — 18:00
Thursday 9:00 — 18:00
Friday 9:00 — 18:00
Saturday 10:00 — 19:00
Sunday Closed

AT Prosound ยินดีให้บริการครับ

 

ติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook AT Prosound

อ้างอิงจาก : Stage Lighting 101 By illuminated Integration

บทความโดย : ณัฐพจน์ วิจารัตน์


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น