การออกแบบ และการติดตั้งระบบเสียง สำหรับวงดนตรีสด

การออกแบบ การติดตั้งระบบเสียง

การติดตั้งระบบเสียง | การแสดงดนตรีสด เป็นวิธีนำเสนอเพลงสู่ผู้ชมที่สมจริงที่สุด เพื่อให้ผู้ชมได้ประสบการณ์การฟังดนตรีสดที่ดีนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับระบบเสียงบนเวที เทคนิคการทำซาวด์ รวมถึงคุณภาพของอุปกรณ์อีกด้วย การออกแบบ และ การติดตั้งระบบเสียงที่ถูกต้อง จะช่วยมอบความบันเทิงที่ยอดเยี่ยมให้กับผู้ชมได้อย่างดี บทความนี้จะเป็นการแนะนำ การออกแบบ และ การติดตั้งระบบเสียง สำหรับวงดนตรีสดเบื้องต้น หวังเพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านได้ไม่มากก็น้อยครับ 

การติดตั้งระบบเสียง

การออกแบบ และ การติดตั้งระบบเสียง สำหรับวงดนตรีสดมีองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งในเชิงกลยุทธ์ และเทคโนโลยีที่ต้องพิจารณา ดังต่อไปนี้ครับ :

การเลือกลำโพง

การเลือกลำโพง ควรขึ้นอยู่กับข้อกำหนดด้านความครอบคลุม และขนาดของสถานที่ คุณต้องการลำโพงที่ดีที่สุดที่งบประมาณของคุณเอื้ออำนวย เริ่มต้นด้วยการหาสิ่งที่คุณสามารถยอมจ่ายได้ แล้วจากนั้นจึงค่อยพิจารณาดูว่า อะไรที่เหมาะสมที่สุดในช่วงราคานั้น และที่สำคัญ.. ถ้าเป็นไปได้ ควรลองฟังก่อนตัดสินใจซื้อเสมอ เพราะลำโพงแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ ถึงแม้จะอยู่ในช่วงราคาใกล้เคียงกัน แต่มันก็จะมีสิ่งที่แตกต่างกันเสมอ ยกตัวอย่าง เช่น Frequency Response (การตอบสนองความถี่) , SPL Output (ระดับความดันเสียง หรือ ค่าความดังสูงสุด) รวมถึงมุมกระจายเสียง กำลังวัตต์ และค่า Impedance (ความต้านทาน Ω)

ลำโพง Full-range ที่มีการตอบสนองความถี่ 60Hz ถึง 18kHz อาจจะใช้ได้กับดนตรีหลายสไตล์ เช่น คันทรี่ โฟล์ค หรือโฟล์คร็อค ที่ไม่ต้องเน้นเสียงกระเดื่องกลอง หรือเสียงเบส แต่ถ้าสำหรับดนตรี Full-band เช่น ร็อค , เมทัล , ป็อป , ฮิปฮอป , EDM ฯลฯ คุณอาจจะต้องมีลำโพงซับวูฟเฟอร์ เพื่อขยายการตอบสนองความถี่ที่ต่ำลงไป และจะช่วยให้ลำโพง Full-range มี Headroom ที่เพิ่มขึ้น     

Frequency Spectrum
การออกแบบ และ การติดตั้งระบบเสียง
(ขอบคุณรูปภาพจาก B&H

SPL Output ของลำโพงจะเป็นตัวกำหนดว่าลำโพงตัวนั้นดังแค่ไหน ในระยะที่กำหนด (โดยปกติแล้วคือ 1 เมตร) ซึ่งข้อมูลในจุดนี้จะมีบอกอยู่ในคู่มือสเปคของลำโพงแต่ละตัว โดยค่า SPL Output จะลดทอนลงทุก ๆ 6dB ในระยะทางที่เพิ่มเป็น 2 เท่า ยกตัวอย่าง เช่น หากลำโพงตัวหนึ่ง มีค่าความดังสูงสุดอยู่ที่ 135dB ที่ระยะ 1 เมตร ดังนั้นเมื่อระยะห่างเพิ่มเป็น 2 เมตร จะมีค่าความดังสูงสุดอยู่ที่ 129 dB หรือเมื่อเพิ่มระยะเป็น 2 เท่า เช่น 4 เมตร ลำโพงตัวนั้นก็จะมีค่าความดังสูงสุด หรือ SPL Output อยู่ที่ 123dB นั่นเอง แต่ถ้าหากในกรณีที่เพิ่มลำโพงเป็น 2 เท่า ก็จะส่งผลให้มีค่าความดังที่เพิ่มขึ้นทีละ +3dB เช่น ลำโพงที่มีค่าความดังสูงสุดอยู่ที่ 135dB ก็จะกลายเป็น 138dB นั่นเองครับ

Sound Pressure Level to Decibels Distance
การออกแบบ และ การติดตั้งระบบเสียง
(ขอบคุณรูปภาพจาก B&H

มุมกระจายเสียง คือ องศาที่ขับเสียงออกมาจากลำโพงทั้งแนวนอน และแนวตั้ง ซึ่งถ้าหากเราทราบถึงสเปคของลำโพงในข้อนี้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการกำหนดตำแหน่งของลำโพง เนื่องจากคุณสามารถกำหนดทิศทางของเสียงที่ออกมาจากลำโพงได้ เพื่อให้ครอบคลุมผู้ชมให้ได้มากที่สุด ซึ่งลำโพงหลาย ๆ รุ่น ได้รับการออกแบบมาให้มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู การออกแบบในลักษณะนี้ จะช่วยให้จัดวางตำแหน่งลำโพงให้เป็นกลุ่ม หรือไลน์อาเรย์ เพื่อเพิ่มองศาการกระจายของเสียงลำโพงได้ง่าย 

มุมกระจายเสียงในแนวตั้ง จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจัดวางตำแหน่งของลำโพงให้อยู่สูงแค่ไหน จึ่งจะเหมาะสมที่สุดแก่การครอบคลุมจำนวนผู้ชม และขนาดของสถานที่ ซึ่งก็จะมีหลายวิธีในการติดตั้งลำโพงในแง่ของความสูง เช่น วางซ้อนกันบนพื้น ขาตั้งลำโพงนั่งร้าน หรือทรัส เพื่อให้ลำโพงอยู่สูงพอที่จะครอบคลุมได้มากขึ้น ยิ่งลำโพงอยู่สูงเท่าไหร่ เสียงก็ยิ่งเดินทางได้ไกล แต่ถ้าหากสูงเกินไป ผู้ชมแถวหน้าก็จะไม่ได้รับประสบการณ์ฟังที่ดีเท่าที่ควร หรือถ้าวางไม่สูงพอ ผู้ชมแถวหน้าก็จะเกิดความอึดอัดจากเสียงที่ดังเกินไป ในเบื้องต้น.. ความสูงที่ควรวางตำแหน่งลำโพง ก็คือ ระดับไหล่ถึงศรีษะ หรือ 5 ถึง 6 ฟุตครับ (ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ที่หน้างานด้วยครับ)

 

การติดตั้งระบบเสียง

มุมกระจายเสียง
การออกแบบ และ การติดตั้งระบบเสียง
(ขอบคุณรูปภาพจาก B&H

อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องพิจารณา นั่นก็คือ ลำโพงมอนิเตอร์บนเวทีครับ โดยจะเป็นลำโพงที่อยู่บนพื้นเวที และเอียงดอกลำโพงไปทางนักดนตรี ซึ่งช่วยให้นักดนตรีได้ยินเสียงของตัวเองบนเวทีนั่นเอง 

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿15,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿75,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿45,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ตู้เสียงกลาง มีแอมป์ในตัว

River Acoustics K15 ลำโพง 15 นิ้ว 2000 วัตต์ ความดัง 133 dB

฿9,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿13,400.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าหมด
฿14,450.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าหมด
฿33,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ลําโพงมอนิเตอร์ เวที มีแอมป์ในตัว

Audiocenter WM3210A ลำโพงมอนิเตอร์เวที 10 นิ้ว กำลังขับ 2200 วัตต์

฿18,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ตู้เสียงกลาง มีแอมป์ในตัว

LD Systems ICOA 15 A BT ลำโพง 15 นิ้ว ความดัง 128 dB 1200 วัตต์

฿22,400.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿17,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าหมด
สินค้าหมด
สินค้าหมด
สินค้าหมด
฿39,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

 

Active VS Passive

ลำโพงแบบ Active หรือแบบ Passive เอง ต่างก็มีประโยชน์ และข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ลำโพงแอคทีฟ มีความง่ายในการใช้งาน เนื่องจากมี Built-in Amplifier ในตัวที่เข้ากันกับส่วนประกอบอื่น ๆ ของลำโพง เช่น Woofer , Mid-range และ Tweeter นอกจากนี้ยังมี Crossover ซึ่งทำหน้าที่แยก และกำหนดเส้นทางช่วงความถี่ไปยังแต่ละส่วนประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ในข้างต้น ประโยชน์ของลำโพงแอคทีฟ คือ ความสะดวกในการติดตั้ง และใช้งาน โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องใช้ Amplifier แยกต่างหากเพื่อจ่ายไฟเลี้ยงให้กับลำโพงประเภทนี้

Turbosound TCS152/96-AN (Active Speaker)

฿42,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

ลำโพงแบบ Passive ต้องการ Amplifier แยกเพื่อการขยายเสียง จนถึงอาจต้องใช้ Crossover แยกต่างหาก และการประมวลผลสัญญาณอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการจะควบคุมอะไร ๆ ด้วยตัวเอง หรือต้องการเลือกใช้อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เพาเวอร์แอมป์ , Crossover หรืออาจรวมถึง DSP ต่าง ๆ ในสเปคที่ตนเองต้องการ หากคุณตัดสินใจที่จะใช้ลำโพงแบบพาสซีฟ คุณจะต้องทราบสเปคของลำโพงที่ผู้ผลิตให้มา เพื่อกำหนดทางเลือกสำหรับสเปคกำลังขับของเพาเวอร์แอมป์ที่เข้ากันได้กับลำโพงที่จะใช้

Turbosound TPX152 (Passive Speaker)

฿10,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

โดยทั่วไปแล้วค่ากำลังวัตต์ของลำโพง จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ค่า นั่นก็คือ Program , Continuous และ Peak โดยค่าที่ได้เหล่านี้…

Program จะมีค่าเป็น 2 เท่าของ Continuous

และ Peak จะมีค่าเป็น 2 เท่าของ Program

ยกตัวอย่าง เช่น ลำโพง 4 โอห์ม ที่มีค่า Continuous เท่ากับ 600 วัตต์ Program จะเท่ากับ 1200 วัตต์ และ Peak จะเท่ากับ 2400 วัตต์ คำถามก็คือ.. ต้องใช้เพาเวอร์แอมป์ที่กำลังขับเท่าไหร่เพื่อขับลำโพงใบนี้ ? คำตอบนั้นก็ขึ้นอยู่กับความดังเสียง (SPL) ที่ต้องการ โดยดูจากสเปคลำโพง สมมุติว่า Sen/1w/1m ของลำโพงใบนี้ได้ 98dB และต้องการความดังเสียง (SPL) เท่ากับ 105 dB ที่ระยะทาง 15 เมตร จะต้องใช้กำลังขับเท่าไหร่ โดยกฎของเสียงจะลดลง 6dB ทุก ๆ การเพิ่มขึ้นสองเท่าตัวของระยะทาง

สูตรการหาความดังเสียง SPL = Sen/1w/1m + 10 log W – 20 log D
แทนค่า D เท่ากับระยะทาง คือ 15 เมตร
SPL ความดังเสียงที่ต้องการ 105 dB
Sen/1w/1m เท่ากับ 98 dB

จะได้ 105 = 98 + 10 log W – 20 log (15)
105 = 98 + 10log W – 23.5
30.5 = 10 log W
3.05 = log W
W = 1122 วัตต์

จากการคำนวณที่ได้ ดังนั้นในกรณีนี้สามารถใช้แอมป์ที่กำลังขับ 1122 วัตต์ได้เลยครับ แต่ในกรณีที่ต้องการความดังเพิ่มขึ้น จนเพาเวอร์แอมป์ต้องใช้วัตต์เกินกำลังของลำโพง ให้เปลี่ยนลำโพงที่รองรับกำลังวัตต์ที่สูงขึ้น หรืออาจใช้วิธีการเพิ่มจำนวนลำโพงแทนการเพิ่มกำลังวัตต์นั่นเองครับ

โปรเซสเซอร์

ไม่ว่าคุณจะใช้ลำโพงแบบ Active หรือ Passive ก็ตาม ในความเห็นของผม.. อุปกรณ์โปรเซสเซอร์เป็นอุปกรณ์ที่เราควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ที่รองจากลำโพง เนื่องจากมันเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้คุณประหยัดเวลา และลดอาการปวดหัวจาก การติดตั้งระบบเสียง อุปกรณ์โปรเซสเซอร์โดยทั่วไปแล้ว ก็จะประกอบไปด้วย EQ , Delay , Crossover โดยโปรเซสเซอร์ที่ใช้กันทั่วไปจะมี 2 input/6 output ซึ่งที่อินพุตจะมี EQ แบบพาราเมตริก หรือแบบกราฟิก 6 ถึง 8 แบนด์ และที่เอาต์พุตแต่ละตัวบนอุปกรณ์โปรเซสเซอร์ จะมี EQ แบบพาราเมตริก 4 แบนด์ และ Delay สำหรับการทำ Time Alignment หรือการทำหน่วงเวลาของลำโพง ในกรณีที่เสียงที่ออกจากลำโพงเคลื่อนที่ไปยังจุด ๆ หนึ่งไม่พร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นลำโพง Full-range หรือ Subwoofer ก็ตาม

การติดตั้งระบบเสียง

Signal Path สำหรับระบบ Passive
การออกแบบ และ การติดตั้งระบบเสียง
(ขอบคุณรูปภาพจาก B&H)

Note : Delay Processor ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง Digital Delay Effect ที่ใช้ในการปรุงแต่งเสียงนะครับ

มิกเซอร์

มิกเซอร์ คือ อุปกรณ์ระบบเสียงที่ใช้สำหรับรวม และจัดสมดุลสัญญาณเสียง เช่น ไมโครโฟน และเครื่องดนตรี เพื่อควบคุมระดับสัญญาณ ความดังของเสียง ความถี่ และไดนามิกจากแหล่งกำเนิดเสียงต่าง ๆ ที่ถูกส่งมาเข้าสู่มิกเซอร์ โดยทั่วไปแล้วมิกเซอร์มีหลายขนาด หลายจำนวนช่องสัญญาณอินพุต อีกทั้งยังมีทั้งแบบอนาล็อก และแบบดิจิตอลให้เลือกใช้งานครับ

อนาล็อกมิกเซอร์ (Analog Mixer) เป็นมิกเซอร์ที่ผู้ใช้ต้องควบคุมด้วยมือตัวเองทุกอย่าง ไม่มีเพาเวอร์แอมป์ในตัวเอง จึงทำให้มิกเซอร์ประเภทนี้มีราคาที่ถูกกว่า เมื่อเทียบกับมิกเซอร์ประเภทอื่นที่มีสเปคใกล้เคียงกัน มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่หลายช่องสัญญาณ มิกเซอร์ประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป และประเภทของงานที่ไม่ต้องการความซับซ้อนยุ่งยากนั่นเอง คอนโซลมิกเซอร์แบบอนาล็อกส่วนใหญ่ จะมี Parametric EQ 4 แบนด์ในตัว โดยที่ข้อจำกัดของมิกเซอร์ประเภทนี้จะอยู่ที่ ผู้ใช้งานจะต้องปรับค่าที่หน้าคอนโซลด้วยตัวเองทุกอย่าง

RCF E 16
การออกแบบ และ การติดตั้งระบบเสียง

-10%
฿28,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

ดิจิตอลมิกเซอร์ (Digital Mixer) ขึ้นชื่อว่าเป็น “ดิจิตอล” แน่นอนว่าต้องมีความทันสมัยกว่าอนาล็อกมิกเซอร์ มิกเซอร์ประเภทนี้มีความหลากหลาย และมีอิสระในการใช้งาน มากกว่ามิกเซอร์ประเภทอื่น ๆ อีกทั้งในเรื่องของแอพพลิเคชั่น ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมมิกเซอร์ได้จากระยะไกล โดยใช้คอมพิวเตอร์ , Tablet หรือ iPad แถมยังมีฟังก์ชั่น Save Scene ที่ทำให้เราสามารถบันทึกการปรับแต่งเสียงต่าง ๆ เอาไว้ เพื่อที่จะสามารถนำค่าที่บันทึกไว้กลับมาใช้งานได้อีก ถือว่ามีความสะดวกสบาย และประหยัดเวลาในการติดตั้งระบบเสียงไปได้มากเลยทีเดียว แต่ก็จะทำให้มีราคาที่สูงตามไปด้วย

Allen&Heath SQ5
การออกแบบ และ การติดตั้งระบบเสียง

฿134,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

เพาเวอร์มิกเซอร์ (Power Mixer) เป็นมิกเซอร์ที่มีเพาเวอร์แอมป์ Built In เข้ามาในตัว เหมาะสำหรับงานที่ใช้ชุดลำโพง PA แบบ Passive และเน้นความสะดวกสบายในการขนย้าย เนื่องจากหมดปัญหาที่ต้องขนไปทั้งมิกเซอร์ ทั้งเพาเวอร์แอมป์ เพราะมิกเซอร์ประเภทนี้ได้รวมเพาเวอร์แอมป์มาให้คุณแล้ว ในส่วนของการควบคุมเพาเวอร์มิกเซอร์นั้น ส่วนใหญ่แล้วยังคงต้องควบคุมด้วยระบบอนาล็อก หรือด้วยมือตัวเองครับ

การติดตั้งระบบเสียง

Behringer PMP500
การออกแบบ และ การติดตั้งระบบเสียง

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เพาเวอร์มิกเซอร์

Behringer PMP500 POWERMIXER

฿14,250.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

สายมัลติคอร์ และสเตจบ๊อกซ์

มัลติคอร์ และสเตจบ๊อกซ์ ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์อย่างมากในการลดความยุ่งเหยิงบนเวที โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานติดตั้งระบบเสียงบนเวทีขนาดใหญ่ เนื่องจากอุปกรณ์นี้เป็นตัวกลางสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ บนเวที เช่น ไมโครโฟน และเครื่องดนตรี เข้ากับมิกเซอร์ที่ FOH (Front of House) ถ้าถามว่า.. มันมีความจำเป็นหรือไม่ ? คำตอบก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณต้องการให้งานติดตั้งระบบเสียงบนเวทีของคุณมีความเรียบร้อย ราบรื่น และมีความเป็นมืออาชีพมากน้อยแค่ไหน

สายมัลติคอร์ LIDGE YM-2408
การออกแบบ และ การติดตั้งระบบเสียง

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

สายมัลติคอร์สำเร็จ

LIDGE YM-2408 60M

฿23,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

สายมัลติคอร์สำเร็จ

LIDGE YM-2408 ยาว 45 เมตร

฿19,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

สายมัลติคอร์สำเร็จ

LIDGE YM-2408 ยาว 30 เมตร

฿15,450.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

สมมติในกรณีที่คุณต้องเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ 16 หรือ 24 แชนแนลเข้ากับมิกเซอร์โดยตรง โดยที่ไม่ใช้สเตจบ๊อกซ์ หรือมัลติคอร์ การเดินสายสัญญาณต่าง ๆ จำนวนมากขนาดนั้นคงเป็นอะไรที่วุ่นวายมากเลยใช่ไหมครับ ดังนั้นอุปกรณ์เหล่านี้จึงมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่ง ในด้านการลดความยุ่งเหยิง วุ่นวาย และความเกะกะของสายสัญญาณบนเวทีให้น้อยลงที่สุด ซึ่งสเตจบ๊อกซ์จะเป็นอุปกรณ์ดิจิตอล ที่ใช้สาย LAN (CAT5 ขึ้นไป) ในการเชื่อมต่อกับมิกเซอร์ครับ ในขณะที่สายมัลติคอร์จะเป็นอุปกรณ์อนาล็อก ที่ใช้การเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณ XLR หรือ TS และ TRS ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการผลิตในแต่ละรุ่นครับ

Allen&Heath STAGE BOX DX-168
การออกแบบ และ การติดตั้งระบบเสียง

สเตจบ็อก

Allen & Heath DX-168

฿75,350.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

ไมโครโฟน

สำหรับงานติดตั้งระบบเสียงสำหรับวงดนตรีสด ไมโครโฟนถือว่าเป็นอุปกรณ์ขาดไปไม่ได้เลยครับ โดยหัวใจหลักของการแสดงสด นั่นก็คือ การใช้ไมค์ไดนามิก ซึ่งก็จะมีหลากหลายยี่ห้อ หลากหลายรุ่นให้เลือกใช้กัน แต่ที่พบกันทั่วไปอย่างแพร่หลาย คงต้องยกให้กับ Shure SM58 พ่อทุกสถาบันสำหรับเสียงร้อง และ Shure SM57 สำหรับเครื่องดนตรี เนื่องจากเป็นไมโครโฟนที่ได้การยอมรับในวงกว้างมาแล้วว่า เป็นไมค์ไดนามิกที่มีความสมดุลทั้งด้านราคา คุณภาพเสียง และความคงทนมากที่สุดรุ่นหนึ่งเลยก็ว่าได้ ในส่วนถ้าเป็นไมค์ไร้สายนั้น รุ่นที่แนะนำก็คือ Shure ในซีรีส์ GLX-D หรือ QLX-D ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจครับ ด้วยราคาที่เอื้อมถึงได้ พร้อมเสียงที่ใสสะอาด อีกทั้งยังติดตั้งง่ายครับ 

Shure GLXD24/SM58
การออกแบบ และ การติดตั้งระบบเสียง

฿4,390.00฿4,990.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

ไมค์กลองแยกเดี่ยว

SHURE SM57-LC

฿4,290.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

Diagram การติดตั้ง

ไดอะแกรมต่อไปนี้ คือ การติดตั้งระบบเสียง สำหรับวงดนตรี หรือการแสดงสดบนเวที ซึ่งทำขึ้นเพื่อประกอบบทความให้มีความเข้าใจง่าย และเป็นแนวทางเบื้องต้นในการติดตั้ง โดยมีทั้งระบบ Active และระบบ Passive ดังต่อไปนี้ครับ :

ระบบ Active
การออกแบบ และ การติดตั้งระบบเสียง

(ขอบคุณรูปภาพจาก virtuoso central)

ระบบ Passive
การออกแบบ และ การติดตั้งระบบเสียง

(ขอบคุณรูปภาพจาก virtuoso central)

สรุป

การออกแบบ และ การติดตั้งระบบเสียง สำหรับวงดนตรีสด หรือการแสดงสด มีหลากหลายทิศทางหลากหลายทางเลือกในการติดตั้ง และการใช้อุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นอนาล็อกมิกเซอร์ หรือดิจิตอลมิกเซอร์ ลำโพงแอคทีฟ หรือลำโพงพาสซีฟ ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีประโยชน์ และข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป สิ่งที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือ การใช้หูในการตัดสินใจ และอย่าลืมที่จะฟังลำโพง หรือทดสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนการลงทุนเสมอ 

หากท่านมีความสนใจ หรือต้องการติดต่อสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสินค้า หรืองานติดตั้งระบบเสียงต่าง ๆ กับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ท่านสามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ :

  • Tel. : 098-785-5549
  • Facebook : AT prosound-shop
  • Line : @atprosound
  • E-mail : [email protected]

เวลาทำการ

Monday 9:00 — 18:00
Tuesday 9:00 — 18:00
Wednesday 9:00 — 18:00
Thursday 9:00 — 18:00
Friday 9:00 — 18:00
Saturday 10:00 — 19:00
Sunday Closed

AT Prosound ยินดีให้บริการครับ

 

ติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook AT Prosound

บทความโดย : ณัฐพจน์ วิจารัตน์


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,400.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿5,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น