5 วิธีการหลีกเลี่ยงอาการ “หูล้า”

5 วิธีการหลีกเลี่ยงอาการ “หูล้า”

5 วิธีการหลีกเลี่ยงอาการ "หูล้า"

5 วิธีการหลีกเลี่ยงอาการ “หูล้า” คงไม่มีใครเถียงว่า “หู” ของเราเนี่ยเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเวลามิกซ์ เพราะฉะนั้นการที่เรานั่งมิกซ์เพลงนานๆ คงไม่เป็นผลดีแน่ ซึ่งไอ้ผลเสียที่ว่าก็คือ อาการหูล้า 

อาการ “หูล้า(Ear Fatigue)” คืออะไร?

ต้องบอกก่อนเลยว่าอาการ หูล้า ไม่ใช่อาการป่วยในทางการแพทย์อย่างเป็นทางการครับ แต่เป็น อาการที่เกิดเมื่อเราฟังหรือทำงานกับเสียงเป็นเวลานานๆ แล้วจะเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นถ้าเสียงที่ว่านั้นดังเกินไป 

เพื่อนๆเคยสังเกตตัวเองเวลานั่งมิกซ์เสียงนานๆไหม เราจะเริ่มตัดสินใจไม่ถูกว่าควรอีคิวอะไรยังไง ยิ่งฟังไปนานๆยิ่งฟังไม่ออกว่าควรทำอะไรต่อ หรือ บางครั้งปรับเท่าไรก็เหมือนเสียงในย่านความถี่สูงก็ไม่ชัดสักที แต่พอได้นอนพักสักตื่นกลับมาทำงานต่อกลับได้ยินปัญหาที่ต้องจะการแก้ไขอย่างชัดเจน นั่นแหละครับผลที่เกิดจากอาการหูล้าที่ทำให้ประสิทธิภาพการได้ยินของเราลดลง บางคนถึงกับมีอาการเจ็บหูและคลื่นไส้ร่วมด้วย

ผลเสียของอาการ หู ล้าคืออะไร

  • เราอาจจะต้องเริ่มทำงานใหม่ตั้งแต่ต้น เพราะถ้าเรามิกซ์เสียงขณะหูล้าเนี่ย ประสิทธิภาพการฟังของเรานั้นลดลง ทำให้การตัดสินใจใช้เครื่องมือต่างๆอาจจะผิดพลาด
  • อาจจะเสียงานเสียการได้เลย ถ้าเพื่อนๆเกิดอาการ หูล้า ไปทำเพลงไป พอส่งงานลูกค้าซาวด์ไม่ดี ครั้งต่อๆไปเค้าก็อาจจะไม่จ้างเรา
  • หากเราใช้หูเป็นเวลานาน โดยเฉพาะกับคนที่ชอบมิกซ์โดยเปิดเสียงๆ อาจจะทำให้ประสิทธิภาพการฟังของเราลดลงถาวรเลยก็ได้

มาดู 5 วิธีเลี่ยงอาการ “หูล้า” กันหน่อยว่ามีอะไรบ้าง

1. เบาเสียงลงหน่อย

อย่างแรกเลย อย่าเปิดเสียงดังเกินขณะมิกซ์ ง่ายๆเลยถ้าเพื่อนๆเปิดเสียงดังจนคุยกับคนที่นั่งข้างๆลำบาก นั่นแหละคือดังเกินไปแล้วครับ ความดังที่เหมาะสมในขณะมิกซ์เสียงถ้าเอาง่ายๆเลยคือให้ดังประมาณเสียงสนทนากับคนในห้องเดียวกันครับ

แต่ไม่ได้หมายความว่าห้ามเปิดเสียงดังนะครับ

เพราะการเช็คมิกซ์ของเราแบบดังๆเนี่ย ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำเช่นกัน แต่อย่าทำบ่อยเท่านั้นเอง

การมิกซ์ที่ระดับความดังที่พอดี มีข้อดีหลักๆสองอย่างคือ

  • จะไม่เกิดอาการหูล้าเร็วเกินไป
  • เราจะตัดสินใจใช้เครื่องมือได้ดีกว่าเดิม เพราะตอนที่เรามิกซ์เสียงดังๆอะไรๆก็จะฟังดูดีกว่าปกติทำให้

2.  พักก่อน

อันนี้สำคัญมาก หลายๆคนคงเคยมีประสบการณ์นั่งมิกซ์เพลินรู้ตัวอีกทีปาไปสองสามชั่วโมง บางทีก็เช้าของอีกวันไปแล้ว

ให้เราสังเกตุตัวเองนะครับ เวลาเรานั่งทำงานนานๆเราจะเผลอเพิ่มวอลลุ่มไปเรื่อยๆโดยไม่รู้ตัว เพราะไอ้อาการหูล้านี่แหละที่ทำให้เป็นอย่างนั้น ถ้าเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ อาจจะอันตรายกับสุขภาพหูของเราได้

แล้วเราจะแก้ไขอย่างไร?

ใช้อุปกรณ์แจ้งเตือนนั่นเอง

ง่ายๆเลยครับส่วนตัวผมจะตั้งแจ้งเตือนในมือถือทุกๆ 45 นาที เพื่อพักสักประมาณ 5 – 10 นาที ให้ หู ของเราได้พักบ้าง 

จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ใช้วิธีนี้ บอกเลยว่าได้ผลดีมาก พอผมเริ่มทำงานต่อมันทำให้ผมได้ยินปัญหาที่ควรแก้ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่ได้ยิน เรียกได้ว่าการพักคือการรีคาลิเบรตหู เลยยังไงยังงั้น

ถ้าเกิดงานของเพื่อนๆมันนานเกินกว่าจะพักครั้งเดียว พอถึงเวลาพักครั้งที่สองที่สามอาจจะเพิ่มเวลาพักเป็น 1 หรือ 2 เท่า ออกไปซื้อกาแฟ หรือ ไปหาอะไรกินก็ได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

3. จำกัดเวลาทำงาน

การพักผ่อนอาจจะช่วยให้เราเกิดอาการ หู ล้าช้าลงได้ แต่เราก็ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงอาการหูล้า ได้ถ้าเกิดงานที่เราทำให้เวลาเป็นวันๆ

สิ่งที่ผมแนะนำในที่นี้คือ ให้เราวางแผนเวลาการทำงานของเรา โดยประเมิณจากงานและความสามารถตัวเอง

ยกตัวอย่างนะครับ
เช่นเรารับงานมาที่ต้อง อีดิต มิกซ์ และ มาสเตอร์ริ่ง เพลงที่มีถึง 60 แทรก
เราอาจจะเซทไปเลยเวลาเลยว่า เราจะ อีดิต 8 ชั่วโมง มิกซ์ 8 ชั่วโมง มาสเตอริ่ง 8 ชัวโมง งานอื่นๆอาจจะให้เวลามากหรือน้อยกว่าก็ได้

แต่เราต้องพยายามทำให้ได้ตามที่เรากำหนดไว้ ระหว่างนั้นก็พักเบรคเป็นช่วงๆตามที่บอกไว้ในข้อก่อนหน้านี้

แค่นี้เพื่อนๆก็จะได้หูที่สดใหม่ พร้อมใช้งานในทุกๆ การเริ่มต้นทำโพรเซสใหม่ๆ

นอกจากจะช่วยเรื่อยป้องกันหูล้าแล้ว วิธีนี้ยังช่วยทำให้เราโฟกัสกับแต่ละขั้นตอนมากขึ้น

พยายามอย่าทำให้หูทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมงนะครับ

4. อย่าปล่อยให้ร่างกายของเราหิว

บางครั้งเราทำงานจนลืมกินข้าวกินปลา การที่เราทำงานอย่างต่อเนื่องและโฟกัสกับงานอยู่อาจจะทำให้เราไม่รู้สึกหิวแต่จริงๆแล้วร่ายกายของเราต้องการพลังงานเพื่อไปหล่อเลี้ยงการทำงานของอวัยวะทุกส่วนรวมถึงประสาทหูด้วย

ฉะนั้นการที่ร่างกายของคุณได้รับสารอาหารเพียงพอ ก็จะช่วยให้หูของเราทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

อย่าปล่อยให้ร่างกายล้าก่อนหูนะครับ

5.  มีสติ อย่าฝืน

ถึงข้อนี้เริ่มดูเหมือนบทความธรรมมะ มีสติที่ผมพูดถึงคือให้รู้ตัวเองอยู่เสมอว่าเราเริ่มมีอาการหูล้าแล้วหรือยัง

เพราะไม่ว่าเราจะทำตามทุกข้อที่กล่าวมาเพื่อหลีกเลี่ยง แต่สุดท้ายเราก็ต้องเจออาการหูล้าอยู่ดี เพราะมันเป็นธรรมชาติของการรับเสียงของหูมนุษย์เรา

ถ้าเกิดเราเริ่มรู้สึกถึงอาการหูล้า สิ่งที่ผมแนะนำเลยคือให้หยุดพักไปก่อนเลย เพราะถ้าเพื่อนๆฝืนทำงานต่อไปในสภาพที่หูล้าแล้ว เพราะถ้าโชคร้าย เพื่อนๆอาจจะได้แก้งานใหม่ตั้งแต่ต้นก็ได้

ติดตามช่องทางต่างๆของ AT PROSOUND

FACEBOOK ATPROSOUND

YOUTUBE ATPROSOUND


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น