ความต้านทานหูฟัง กับ ความสำคัญในงานระบบเสียง

ความต้านทานหูฟัง กับ ความสำคัญในงานระบบเสียง

ความต้านทานหูฟัง อีกหนึ่งเรื่องราวที่กลายเป็นข้อสงสัย กับผู้คนในวงการเสียงก็คือเรื่องของหูฟังครับ ในบทความนี้เราจะมาโฟกัสกันเรื่องของ ความต้านทานของหูฟัง
หลาย ๆ ท่านอาจจะเคยเห็น หูฟัง หลาย ๆ รุ่น ที่มีให้เลือกค่าความต้านทาน หรือ Impedance หลากหลายค่า แล้วค่าดังกล่าวมีความสำคัญย่างไร มีผลต่อคุณภาพเสียงหรือไม่ หากลองพิจารณาจากแบรนด์ดัง ๆ ที่ขายหูฟังเราจะเห็นหูฟังรุ่นเรือธงของหลาย ๆ แบรนด์แทบจะเป็นรุ่นที่มีความต้านทานสูงทั้งสิ้น วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันครับ

โลโก้เอที

ค่าความต้านทาน หรือค่า Impedance ( Z ) เป็นค่าความต้านทานภายในของลำโพง ซึ่งแน่นอนว่ามีความหมายเหมือนกันกับลำโพงกลางแจ้งเลยครับ และค่าดังกล่าว ก็มีผลต่อเรื่องของความดัง คุณภาพเสียง รวมถึงการทำงานของวงจรขยายเสียงอีกด้วย ปัจจุบันมีหูฟังที่มีความต้านทานมากถึง 600 โอห์ม หรือมากกว่า
หลายคนที่ทำงานในวงการเสียงระดับมืออาชีพ หรือทำงานเกี่ยวกับระบบเสียงโดยตรง อาจจะเคยเห็นหูฟังที่มีค่าความต้านทานหลายค่าให้เลือกใช้ แต่หลายครั้ง เมื่อเราทดลองนำมาใช้งานกลับพบว่า เสียงที่ออกมามีความเบามาก หรือในบางครั้งเราเปิดเพียงเล็กน้อยหูฟังก็ดังจนแทบพัง แน่นอนครับว่าตัวแปรสำคัญเลยก็คือค่าความต้านทานนั่นเอง
หากเราพิจารณาเรื่องของค่า ความต้านทาน หลาย ๆ ท่านอาจจะทราบอยู่แล้วว่าถ้าหูฟังมีค่าความต้านทานมาก มันจะมีเสียงที่เบา แน่นอนครับว่าสมมติฐานนี้ไม่ผิดแต่อย่างใด เพียงแต่เราอาจจะยังเลือกหูฟังสำหรับใช้งานไม่ถูกประเภทเท่านั้นเอง

การใช้งานหูฟัง

โดยทั่วไปเราขอแบ่งกลุ่มของความต้านทานหูฟังออกเป็น 3 ประเภท คือ ค่าความต้านทานน้อยกว่า 50 โอห์ม, ค่าความต้านทานระหว่าง 50 ถึง 100 โอห์ม, และค่าความต้านทานมากกว่า 100 โอห์ม ซึ่งเราจะถือว่าหูฟังที่มีค่าความต้านทานมากกว่า 100 โอห์ม เป็นหูฟังระดับ Professional หรือหูฟังที่ใช้ในงานระดับมืออาชีพ

เครื่องใช้ไฟฟ้าหลาหลายชนิด ให้กำเนิดสัญญาณเสียงออกมา แต่ก็ไม่ทั้งหมดที่จะสามารถขับหูฟังออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในตอนนี้เรากำลังจะพูดถึงการทำงานของวงจรที่ใช้ในการขับหูฟังครับ ยกตัวอย่างเช่นโทรศัพท์มือถือซึ่งมือถือส่วนใหญ่ ออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานกับหูฟังแบบทั่ว ไปได้นั่นคือหูฟังที่มีค่า ความต้านทาน ไม่มากเกินไป และเนื่องด้วยข้อจำกัดเรื่องของการออกแบบวงจรขับหูฟัง ทำให้โทรศัพท์มือถือไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพหากต้องขับหูฟังที่มี Impedance สูงเนื่องจากการจำกัดเรื่องของกำลัง ( Power ) ที่ตัววงจรนั่นเอง

แล้วทำไมต้องเลือกค่าความต้านทานสูง ?
หลายท่าน มองว่าหูฟังที่มีความต้านทานสูงนั้น ขับยาก ซึ่งขับยากในที่นี่ก็ใช่ว่าจะกลายเป็นข้อเสียของหูฟังครับ เพราะส่วนใหญ่ หลาย ๆ ท่านที่เคยซื้อหูฟังที่ความต้านทานเยอะ มักจะทดสอบหูฟังจาก Smartphone ซึ่งแน่นอนว่าผลที่ได้คือ เสียงที่เบา ทำให้เรามองหูฟังนั้นว่าไม่ดีเนื่องจากเสียงที่ออกมานั้นเบาเกินไป แต่หารู้ไม่ ว่าจริง ๆ ผู้ใช้งานเองที่ใช้งานไม่ถูกประเภท

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

อีกหนึ่งเหตุผลที่กลายเป็นทางเลือกของหูฟังก็คือคุณภาพของเสียงนั่นเองครับ โดยทั่วไปแล้วการออกแบบหูฟังจะคำนึงถึงค่า Damping Factor หรือค่าการหยุดดอก ซึ่งค่านี้เองมีความสำคัญกับเนื้อเสียงและคุณภาพเสียงโดยรวม โดยเฉพาะความถี่ต่ำ และเมื่อ ความต้านทาน ของหูฟัง มากก็จะมีผลทำให้ค่า Damping Factor มากด้วยเช่นกัน

ค่า Damping Factor
ค่า Damping Factor เป็นอีกค่าหนึ่งที่สำคัญในระบบเสียง ค่า Damping Factor หรือค่าการหยุดดอก ค่าดังกล่าวเป็นพารามิเตอร์หนึ่งที่บอกถึงความสามารถในการจะหยุดดอกลำโพง เมื่อมีคลื่นส่งไปที่ดอกลำโพง และยิ่งค่าดังกล่าวมาก ยิ่งส่งผลดีต่อคุณภาพของเสียง
เครื่องขยายเสียงที่มีประสิทธิภาพสูง จะระบุค่า Damping Factor มาที่คู่มือ และจะเห็นได้ว่าค่าดังกล่าวค่อนข้างจะสูงกว่าเครื่องขยายเสียงทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะระบบเสียงระบบ Home Cinema ที่ต้องการค่า Damping Factor สูง การออกแบบวงจรขับลำโพงจึงต้องมีความพิถีพิถันรวมถึงราคาที่สูง
ด้วยเหตุนี้ครับ การเลือกหูฟังเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานจึงสำคัญมาก และในปัจจุบันมีการออกแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มตัวเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้นอีกด้วย

สรุป
หูฟังทั่วไปที่มาพร้อมกับตัวเครื่องโทรศัพท์ที่เราใช้งานกัน ถือว่าป็นหูฟังที่มีค่าความต้านทานเหมาะสมกับโทรศัพท์ของเรา นั่นคือ ภาคขยายกำลังของโทรศัพท์เองก็มีข้อจำกัดในหลาย ๆ ด้าน ทำให้การนำไปใช้งานกับหูฟังที่มีความต้านานสูงอาจจะทำให้ได้ยินเสียงที่เบากว่าที่ควรจะเป็น
แต่ในงานระดับโปร หรือหากเรานำไปใช้งานกับ Professional Mixer ซึ่งภาคขยายมีประสิทธิภาพสูงและให้กำลังที่สูง จึงสามารถใช้งานกับหูฟังที่มี Impedance สูงได้ ผลที่ได้คือได้คุณภาพเสียงที่ดี และความดังที่เราต้องการครับ
ในปัจจุบัน หลาย ๆ แบรนด์ผลิตหูฟังระดับมืออาชีพที่มีค่า ความต้านทาน ของหูฟัง ที่ต่ำลง เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานกับอุปกรณ์เสียงที่มีข้อจำกัดเรื่องการขยายสัญญาณ เช่น Audio Interface อุปกรณ์เสียงในระบบ Broadcast หรืออุปกรณ์เสียงมืออาชีพแบบพกพา
ถึงตรงนี้ หลาย ๆ ท่านอาจจะพอได้ไอเดียในการพิจารณาเลือกหูฟังได้ในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็อาจจะต้องพิจารณาเรื่องของเอกลักษณ์เสียงของหูฟังนั้น ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจด้วยครับ

อ่านบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ที่นี่

ติดตามช่องทางต่างๆของ AT PROSOUND

FACEBOOK ATPROSOUND

YOUTUBE ATPROSOUND


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น