แอมป์หูฟัง (Headphone Amps) คืออะไร ?

Headphone Amps

แอมป์หูฟัง คืออะไร ? คุ้มค่ากับการใช้งานหรือไม่ ? | Headphone Amps เป็นอุปกรณ์ขยายขนาดพกพา (Amplifier) ที่ค่อนข้างใช้พลังงานต่ำ โดยปรับสมดุลความต้านทาน และเพิ่มแรงดันไฟของสัญญาณเสียง เพื่อให้เข้ากับหูฟังที่ทำการเชื่อมต่อ และให้ส่งสัญญาณเสียงได้ดีที่สุด ซึ่งจัดว่าเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้หูฟังทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

แอมป์หูฟัง

สำหรับนักฟังเพลงที่ชอบแสวงหา เพื่อให้ได้เสียงที่ดีที่สุดจากหูฟังสักคู่หนึ่งของพวกเขา กลุ่มนักฟังเพลงเหล่านี้จึงมักพบว่า Headphone Amps ค่อนข้างมีความจำเป็นพอสมควร  แต่สำหรับกลุ่มผู้ใช้หูฟังทั่วไป อุปกรณ์นี้ยังคงเป็นข้อพิจารณาอยู่ ว่าคุ้มค่าแก่การลงทุนหรือไม่ ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับ แอมป์หูฟัง เพื่อที่เราจะได้ทำความเข้าใจกับอุปกรณ์นี้มากขึ้น และเพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้ที่กำลังตัดสินใจ ว่าแอมป์หูฟังนั้นคุ้มค่าสำหรับการใช้งานหรือไม่

 

Headphone Amps คืออะไร ?

แอมป์หูฟัง ถูกออกแบบมาเพื่อขยายสัญญาณเสียงของหูฟัง ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งหลักการทำงานจะคล้าย ๆ กับเพาเวอร์แอมป์ขยายลำโพง Passive โดยปกติแล้ววงจรแอมป์หูฟังมักจะถูกติดตั้งไว้ใกล้กับรูแจ็คหูฟัง ในอุปกรณ์ระบบเสียงตั้งแต่เกรดผู้ใช้งานทั่วไป จนไปถึงเกรดมืออาชีพ Amplifier เหล่านี้อาจจะเป็นแบบอนาล็อก หรือไม่ก็อาจจะเป็นวงจรดิจิตอลส่วนหนึ่งของ DAC (Digital-to-Analog Converter) การใช้แอมป์ระหว่างอุปกรณ์เสียงกับหูฟังระดับ Hi-end อาจทำให้มีความคมชัด รายละเอียด และไดนามิกของเสียงที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ในทางกลับกัน… การไม่ทำเช่นนั้นกับหูฟังระดับ Hi-end บางรุ่น อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่ดีในประสบการณ์ฟัง พูดง่าย ๆ ก็คือ แอมป์หูฟังจะเปลี่ยนแปลงสัญญาณเสียง ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อประสิทธิภาพของหูฟัง

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

 

Headphone Amps คุ้มค่ากับการใช้งานหรือไม่ ?

หูฟังคุณภาพระดับ Hi-end หรือหูฟัง Hi-Fi ที่มีความต้านทานสูง (Impedance) คุณอาจจำเป็นต้องใช้แอมป์หูฟัง เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่เต็มศักยภาพ ในทางกลับกัน.. หากไม่มีอุปกรณ์นี้เพื่อปรับแรงดันสัญญาณเสียง และความต้านทานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม คุณภาพของเสียงอาจจะลดลง ดังนั้น Headphone Amps ถือว่ามีความคุ้มค่ากับการใช้งานสำหรับสถานการณ์ในลักษณะนี้ อย่างไรก็ตาม.. Headphone Amps มีช่วงราคาที่กว้างมาก ดังนั้นจึงมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา เพื่อตัดสินใจว่านอกเหนือจากการใช้งานที่กล่าวในข้างต้นแล้ว แอมป์หูฟังยังถือว่ามีความจำเป็น และคุ้มค่าอยู่หรือไม่ ยกตัวอย่าง เช่น คุณซีเรียสกับประสบการณ์ฟังมากน้อยแค่ไหน , ในการใช้งานต่อครั้งคุณต้องการเชื่อมต่อหูฟังมากกว่า 1 ตัวหรือไม่ , เน้นใช้งาน Outdoor หรือ Indoor เป็นต้น แต่ถ้าหากคุณโหยหาประสบการณ์การฟังที่ดี การมีแอมป์หูฟังไว้ใช้งานสักตัวก็เป็นอะไรที่คุ้มค่าครับ

 

ยกตัวอย่าง Headphone Amps

เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับแอมป์หูฟังได้ดีขึ้น เรามาดูตัวอย่างกันครับ :

  • Behringer Microamp HA-400

แอมป์หูฟัง

Behringer Microamp HA-400 เป็น แอมป์หูฟัง 4 แชนเนล ขนาดเล็ก ราคาไม่แพง ที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานบนเวที และในสตูดิโอ มีการติดตั้ง Amplifier การทำงานแยกต่างหากสำหรับแต่ละช่องสัญญาณ และการควบคุมระดับเสียงแต่ละช่องแยกกันได้อย่างอิสระ เป็นแอมป์อนาล็อกที่เรียบง่าย มีแจ็คอินพุต TRS ขนาด 1/4″ จำนวน 1 ช่องสัญญาณ และมี Op-amps แยกกันสำหรับเอาต์พุต TRS ขนาด 1/4″ จำนวน 4 ช่องสัญญาณ และตอบสนองความถี่ตั้งแต่ 20Hz จนถึง 20kHz

 

  • FiiO Q5s

FiiO Q5s เป็น แอมป์หูฟัง แบบพกพาที่มีการเชื่อมต่อ Bluetooth นอกเหนือจากความสามารถในการพกพา และการเชื่อมต่อบลูทูธแล้ว FiiO Q5s ยังเป็น Modular และรองรับกับ FiiO amp modules เพื่อเพิ่มคุณภาพเสียง และคุณภาพเอาต์พุต โดยมี AM3E amp modules ที่รองรับรูแจ็คหูฟังขนาด 2.5mm , 4.4mm และ 3.5mm อีกทั้งระบบ DAC Clock รองรับการถอดรหัสสูงสุดที่ 32-bit / 768kHz และสัญญาณเสียง Digital Audio สามารถส่งไปยังแอมป์ ผ่านสาย mini 3.5mm , USB , SPDIF หรือ Bluetooth โดยมีข้อกำหนดดังนี้ :

      • USB : 32-bit / 768kHz
      • Coaxial : 24-bit / 192kHz
      • Optical : 24-bit / 96kHz

โดยค่าความต้านทาน (Impedance) ของ Q5s คือ 16 ถึง 150 Ω (Unbalanced) และ 16 ถึง 300 Ω (Balanced)

 

  • Rupert Neve Designs RNHP

แอมป์หูฟัง

Rupert Neve Designs RNHP เป็น Headphone Amps เดสก์ท็อปรุ่นยอดนิยมในเกรดระดับ Hi-end ที่มีเอาต์พุต 1/4″ เพียงช่องเดียว และมีราคาที่ไม่แรงมากนัก อีกทั้งยังเป็นแอมป์หูฟังอนาล็อกที่แม่นยำ ให้ประสิทธิภาพเสียงแบบเปิดกว้างอย่างไม่น่าเชื่อ มีอินพุต 3 ช่องสัญญาณ โดยมีอินพุตดังนี้ :

      • 2 แจ็คคอมโบ XLR/TRS (Left and Right) : Balanced
      • 2 RCA  (Left and Right) : Unbalanced
      • 1 mini 3.5mm : Unbalanced Stereo 

เอาต์พุตหูฟังขนาด 1/4″ มีค่าความต้านทานที่ต่ำมากที่ .08 Ω เท่านั้น ซึ่งต่ำพอที่จะขับแม้กระทั่งหูฟังระดับมืออาชีพที่มีความต้านทานต่ำที่สุด พร้อมความคมชัดที่ยอดเยี่ยม อีกทั้ง Rupert Neve Designs RNHP ยังมีการตอบสนองความถี่ที่แม่นยำมาก ตั้งแต่ 10Hz จนถึง 120kHz (+/- 0.2dB)

 

  • Audio Technica AT-HA5050H

Audio Technica AT-HA5050H เป็น แอมป์หูฟัง แบบ Hybrid ราคาสูง ซึ่งสามารถใช้ขับหูฟัง 8 ไดร์เวอร์ที่มีความต้านทานต่างกัน (16 – 600 Ω) โดยวงจร Amplifier แบบ Hybrid ประกอบด้วยหลอดอิเล็กทรอนิกส์ E88CC จำนวน 2 หลอดที่ Pre-amp stage และ Solid-state electronics ทรานซิสเตอร์สองขั้วของ Toshiba จำนวน 2 ตัวที่ Power amplifier stage อีกทั้งยังสามารถทำงานร่วมกับอินพุตเสียงทั้งแบบอนาล็อก และดิจิตอลได้ด้วย DAC คุณภาพสูง

อินพุตของ Audio Technica AT-HA5050H ประกอบด้วย :

    • 2 RCA : Line input
    • 2 XLR : Balanced
    • 1 USB Type B : Digital
    • 1 Coaxial (SPDIF) : Digital

DAC ได้รับการปรับให้เข้ากันได้กับสกุลไฟล์เสียงดิจิตอลได้หลายประเภท โดย PCM สูงสุดที่ 32-bit / 384 kHz และ DSD128

แจ็คหูฟังทั้ง 8 ช่องสัญญาณ มีอัตราความต้านทานที่แตกต่างกัน 4 แบบ ดังนี้ : 

    • 0.1 Ω
    • 33 Ω
    • 82 Ω
    • 120 Ω

ตอบสนองความถี่ตั้งแต่ 5Hz – 200kHz

พลังงานสูงสุด : 

    • 2,000 mW + 2,000 mW (16 Ω Load)
    • 1,000 mW + 1,000 mW (32 Ω Load)
    • 500 mW + 500 mW (64 Ω Load)
    • 62 mW + 62 mW (600 Ω Load)

 

การเลือกซื้อแอมป์ให้ตรงสเปคของหูฟัง

ในการเลือกซื้อ Headphone Amps ให้ตรงสเปคหูฟัง เพื่อหาแอมป์ที่มีกำลังมากพอที่จะขับหูฟังของเราไหว โดยเราสามารถคำนวณได้ที่ Headphone Power Calculator แต่ก่อนอื่นเราจำเป็นต้องรู้สเปคค่าความต้านทาน (Impedance) และค่า Sensitivity หูฟังของเราซะก่อน ยกตัวอย่าง เช่น หูฟัง Audio Technica ATH-M50x มีค่าความต้านทานเฉลี่ยอยู่ที่ 38 Ω และ ค่า Sensitivity เฉลี่ยอยู่ที่ 99dB SPL/mW

เมื่อคำนวณแล้วจะได้ค่าสเปคของ แอมป์หูฟัง ที่เราต้องใช้ ดังต่อไปนี้ : 

เพียงเท่านี้เราก็สามารถรู้ได้แล้วว่า เราจำเป็นต้องใช้ Headphone Amps สเปคแบบไหน ถึงจะสามารถใช้กับหูฟังของเราได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อหูฟัง และสุขภาพหูของเราครับ

 

ติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook AT Prosound

บทความโดย : ณัฐพจน์ วิจารัตน์


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,400.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿5,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น