ปลั๊กอิน คืออะไร?

ปลั๊กอิน คืออะไร?

ปลั๊กอิน คืออะไร? หลายๆคนที่พึ่งเริ่มเข้ามาศึกษาการทำเพลงในคอมพิวเตอร์จะต้องเคยได้ยินคำว่า “ปลั๊กอิน” แน่นอน
และประโยคที่จะได้ยินคำนี้บ่อยๆก็จะประมาณว่า ปลั๊กอินอะไรเสียงดีสุด หรือ มีปลั๊กอินกลองแนะนำบ้างไหม อะไรประมาณนี้

ในบทความนี้ผมจะมาอธิบายให้ฟังว่า ปลั๊กอิน ในวงการ ดิจิตอลซาวด์โปรดักชั่น มันคืออะไร

ต้องเข้าใจก่อนว่าในการสร้าง ดิจิตอลซาวด์โปรดัก เราจะทำกันใน DAW (Digital Audio Workstation) หรือเรียกง่ายๆก็คือโปรแกรมทำเพลง หรือ โปรแกรมตัดต่อเสียง ตัวอย่างก็พวก Cubase,Protools,Ableton Live เป็นต้น


ปลั๊กอิน เกี่ยวอะไรกับ DAW

ปลั๊กอิน ก็คือโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาแยกจาก DAW แต่มีจุดประสงค์เพื่อนำไปติดตั้งใน DAW เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับ DAW ว่ากันง่ายๆ ปลั๊กอินก็คือโปรแกรมเสริมนั่นเองครับ
ยกตัวอย่างนะครับ ถ้า DAW ของเราไม่มีไดนามิกอีคิว เราก็ไปหาปลั๊กอินไดนามิกอีคิวมาติดตั้งเข้าไปได้ เป็นต้น

* จริงๆแล้วนอกจาก DAW ยังมีโปรแกรมอื่นๆที่สามารถเปิดใช้งานปลั๊กอินได้ เช่น Extreme Karaoke หรือโปรแกรมสำหรับฟังเพลงบางตัว

คุณภาพของ ปลั๊กอิน

ทุกวันนี้มีปลั๊กอินให้เราเลือกใช้มากมายทั้งแบบฟรีและแบบเสียเงิน บางตัวพัฒนาขึ้นมาด้วยคนเพียงคนเดียว บางตัวพัฒนาโดยบริษัทใหญ่ๆ
เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีในการพัฒนาปลั๊กอินก็พัฒนาไปไกล ก็จะเห็นว่ามีปลั๊กอินหลายๆตัวมีฟังก์ชั่นหวือหวา บางตัวมี AI เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งก็มีทั้งคนชอบและไม่ชอบ
แต่สุดท้ายการจะบอกได้ว่าปลั๊กอินตัวไหนดีไม่ดีขึ้นอยู่กับว่าปลั๊กอินตัวนั้นให้ผลลัพธ์เข้ากับงานของเราหรือไม่มากกว่า บางครั้งเสียงที่ได้จากปลั๊กอินฟรีตัวนี้อาจจะเข้ากับงานของเรามากกว่า บางครั้งเราก็ต้องการคาแรคเตอร์เฉพาะทางของแอนะล็อกเกียร์ที่มีแต่ปลักอินแบบเสียเงินที่ให้เราได้ตามที่ต้องการ อะไรประมาณนั้นครับ

ประเภทของปลั๊กอิน

ทั่วๆไปปลั๊กอินจะมีกันอยู่ 3 ประเภทหลักๆ (จะมีบางตัวที่มีคุณสมบัติควบ 2-3 ประเภทเลย)

1. ปลั๊กอินเอฟเฟค (Audio Effects Plugin)

ปลั๊กอินประเภทนี้ก็จะเป็นพวกเอฟเฟคเสียงทั้งหลายไม่ว่า จะเป็น EQ,Compressor,Chorus,Delay,Distrotion เป็นต้น โดยปลั๊กอินเอฟเฟคหลายๆตัวก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อจำลองทั้งเสียงและหน้าตาของแอนะล็อกเกียร์ เช่น CLA2A ที่จำลองมาจาก และก็ยังมีปลั๊กอินอีกหลายๆตัวที่พัฒนาขีึ้นมาให้ใช้งานง่ายและทดแทนสิ่งที่แอนะล็อกเกียร์ให้ไม่ได้ ช่นมี มิเตอร์สำหรับตรวจเช็คค่าๆต่างๆเป็นต้น

fabfilter Pro-Q ปลั๊กอิน EQ ที่ได้รับความนิยมสูง เพราะฟังก์ชั่นการใช้งานที่ครบครัน
ปลั๊กอิน UAD teletronix la2a ปลั๊กอินที่จำลองแอนะล๊อกคอมเพลสเซอร์ชื่อดัง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

 

2. ปลั๊กอินเครื่องดนตรี (Virtual Instrument Plugin)

ปลั๊กอินประเภทนี้เป็นปลั๊กอินที่จะทำให้เราเล่นและบันทึกเสียงของเครื่องดนตรีชิ้นนั้นได้โดยไม่ต้องมีเครื่องดนตรีนั้นๆ โดยเราจะต้องป้อนข้อมูลตัวโน๊ตที่เป็น MIDI เข้าไปเพื่อเล่นเสียงนั่นเองครับ ในการป้อนโน๊ต MIDI เราก็สามารถใช้พวกคีย์บอร์ดที่เป็น MIDI Controller เสียบเข้าคอมไปเล่นเหมือนเล่นคีบอร์ดได้เลย
หลักๆปลั๊กอินประเภทนี้จะมีกันอยู่ 2 แบบคือ

2.1 ปลั๊กอินเครื่องดนตรีที่เป็นเสียงสังเคราะห์ หรือ ซินธิไซเซอร์ พวกนี้จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์สร้างเสียงสังเคราะห์ขึ้นมาครับ
ตัวอย่างปลั๊กอินพวกนี้เช่น Xfer Serum,Native Instruments Massive,REFX Nexus

Synth 1 ปลั๊กอินเครื่องสังเคราะห์เสียงฟรี ที่ฟังก์ชั่นครบครัน
Xfer Records Serum ปลั๊กอินเครื่องสังเคราะห์เสียงที่เป็นที่นิยมสูง

2.2 ปลั๊กอินเครื่องดนตรีที่ใช้เสียงเครื่องดนตรีจริงๆ
ปลั๊กอินพวกนี้จะใช้ข้อมูลโน๊ต MIDI เพื่อไปเล่นเสียงที่ทางผู้พัฒนาได้บันทึกเสียงเอาไว้ก่อนแล้ว ซึ่งเค้าก็จะบันทึกเสียงมาให้ครบทุกตัวโน็ตที่เครื่องดนตรีนั้นๆมีเลย ปลั๊กอินดีๆนี่เค้าจะอัดเสียงในหลายๆระดับแรงดีด เป่า หรือ ตี เลย เพื่อให้เสียงมันสมจริง
การจะใช้งานปลั๊กอินพวกนี้ให้ได้เสียงที่เป็นธรรมชาตินั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับคุณภาพเสียงที่ผู้พัฒนาเค้าบันทึกมา ก็ยังขึ้นกับทักษะในการเขียน MIDI ของผู้ใช้ด้วย ว่าเขียนน้ำหนักการเล่นของเครื่องดนตรีได้สมจริงหรือไม่

ตัวอย่างปลั๊กอินประเภทนี้เช่น Steven Slate Drum,Native Instrument komplete,Ample P Bass,EZDRUMMER 2 เป็นต้น

Ample P Bass ปลั๊กอินสำหรับเสียงเบส Fender
Steven Slate 5 ปลั๊กอินเสียงกลองชุด

3. ปลั๊กอิน MIDI (MIDI Plugin)
ในขณะปลั๊กอินประเภทอื่นนี้จะให้เอาท์พุทเป็นข้อมูลเสียง
MIDI Plugin จะให้เอาท์พุทเป็น ข้อมูล MIDI เช่นปลั๊กอินที่สร้าง อาร์เปจโจ(Arpeggio) จากการที่เราเล่นโน๊ต MIDI เพียงตัวเดียว , เปลี่ยนคีย์ของ MIDI ที่เราเล่น หรือ บางตัวก็สร้างคอร์ดให้เราจากการที่กดโน๊ต MIDI เพียงตัวเดียว เป็นต้น

ในปัจจุบัน DAW ส่วนใหญ่จะมีฟังก์ชั่นจำพวกนี้มาให้ค่อนข้างครบอยู่แล้ว แต่ใน DAW แต่ละตัวจะมีวิธีเปิดใช้งาน ปลั๊กอิน MIDI แตกต่างกัน

ติดตามช่องทางต่างๆของ AT PROSOUND

FACEBOOK ATPROSOUND

YOUTUBE ATPROSOUND


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น