การแบ่ง “ชนิดของคลื่น”

Wave การแบ่ง “ชนิดของคลื่น” นั้น สามารถแบ่งออกได้  3 แบบ

Wave

  • แบ่ง “ชนิดของคลื่น” ตามการเคลื่อนที่ของคลื่น และการสั่นของอนุภาคตัวกลาง
  • แบ่ง “ชนิดของคลื่น” ตามการอาศัยตัวกลาง
  • แบ่ง “ชนิดของคลื่น” ตามลักษณะการเกิด

ซึ่ง “ชนิดของคลื่น” ทั้ง 3 แบบก็สามารถแบ่งออกได้อีกดังนี้

แบ่ง “ชนิดของคลื่น” ตามการเคลื่อนที่ของคลื่น และการสั่นของอนุภาคตัวกลาง

1.คลื่นตามขวาง (Transverse Wave) คือ คลื่นที่ทิศทางของอนุภาคตัวกลางสั่งตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นในเส้นเชือก, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น

2.คลื่นตามยาว (Longitudinal Wave) คือ คลื่นที่ทิศทางของอนุภาคตัวกลางสั่นอยู่ในแนวเดียวกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นสียง, คลื่นในสปริงจากการอัดตัว เป็นต้น

(คลื่นตามยาวไม่มีระนาบการสั่น แต่คลื่นตามขวางมีระนาบการสั่น โดยถ้าคลื่นตามขวางเคลื่อนที่ผ่านช่องที่ตั้งจากกับระนาบการสั่น มันจะไม่สามารถผ่านไปได้ดังรูป ก.)

แบ่งตามการอาศัยตัวกลาง

1.คลื่นกล (Mechanical Wave) คือ คลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลาง ในการเคลื่อนที่ เป็นได้ทั้ง คลื่นตามยาว และ คลื่นตามขวาง

2.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) คือ คลื่นที่ไม่อาศัยตัวกลาง ในการเคลื่อนที่ มีเฉพาะ คลื่นตามขวางอ ย่างเดียว (คลื่นตามยาวทุกชนิดจึงเป็นคลื่นกล)

แบ่งตามลักษณะการเกิด

1.คลื่นดล (Pulse Wave) คือ คลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิด ถูกรบกวนชั่วเวลาสั้น ๆ เพียงครั้ง หรือสองครั้ง

2.คลื่นต่อเนื่อง (Continuous Wave) คือ คลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดถูกรบกวเป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง

 

ที่มา: หนังสือ Physics quick & easy ; คลื่น เสียง แสง

ติดตามข่าวสารเครื่องเสียงได้ที่: www.facebook.com/atprosound/

ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่: www.atprosound.com/category/ทฤษฎีเสียง

 


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,400.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿5,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น