วิธีตั้งค่า VPL และ Gain หลังเพาเวอร์แอมป์

ตั้งค่า VPL และ Gain หลังเพาเวอร์แอมป์

VPL and Gain Setting เคยสังเกตเห็นเพาเวอร์เเอมป์ที่มีสวิตซ์ VPL (Voltage Peak Limiter) และ Gain อยู่หลังเครื่องกันบ้างไหมครับ ทำไมถึงต้องมี Dip switch ให้ปรับกันมากมายขนาดนั้น หลาย ๆ ท่าน ที่ใช้เพาเวอร์แอมป์ดังกล่าวนี้ หรือท่านที่กำลังศึกษาข้อมูลอยู่ อาจจะยังไม่ทราบว่ามันมีประโยชน์ต่อระบบเสียงของเราขนาดไหน บางคนใช้ค่าที่ตั้งมาให้จากตัวแทนจำหน่ายเพาเวอร์แอมป์นั้น ๆ หรือเอาไปจูนระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ

รู้ไหมครับ เขามีวิธีคิดคำนวนกันอย่างไร

เดี๋ยวนี้สามารถคำนวณค่าได้ตามเว็ปไซต์หรือแอพพลิเคชั่นในมือถือ ยกตัวอย่างเช่น แอพฯ PAcalculate ของ RCF

หรือถ้าหากต้องการรู้หลักทฤษฏี หลักการคำนวณอย่างจริงจัง แนะนำอ่านบทความนี้ครับ

ตั้งค่า VPL (Voltage Peak Limiter) อย่างไรให้เหมาะสม

วิธีคำนวนคือต้องดูที่ลำโพงที่เราเอามาต่อ ว่า สเปคดอกลำโพงมีกำลังวัตต์พีค (Watt Peak) เท่าไหร่

(ถ้าไม่เข้าใจเรื่องวัตต์ บทความนี้มีคำตอบ คลิกที่นี่)

ค่าอิมพีแดนซ์ (Impedance) ที่เพาเวอร์แอมป์รับโหลด/CH (คิดได้จาก ต่อร่วมกันกี่ดอก แบบขนานหรืออนุกรม)

เมื่อได้ค่า Watt Peak และค่า Impedance แล้ว ใช้สูตรนี้ครับ

VPL and Gain Setting

เมื่อ n คือจำนวนดอกลำโพงต่อ 1 ช่องเพาเวอร์แอมป์

เมื่อได้ผลลัพธ์ก็เอาไปปรับ Dip switch ที่หลังเพาเวอร์แอมป์ได้เลยครับ กรณีที่คำนวณได้ ค่าไม่ตรงกับที่แอมป์มีให้ปรับ ก็ให้ปรับไปยังเลขน้อยกว่าค่าคำนวณที่ใกล้เคียงที่สุดครับ

กรณีตัวอย่าง ลำโพง ยี่ห้อXX มีกำลังวัตต์พีค 4800 Watt อิมพีแดนซ์ต่อ 1 ดอก มีค่า 8 Ohm ใช้เพาเวอร์แอมป์ 1 ช่อง ขับจำนวน 2 ดอก แบบขนานกัน (ทั้ง CH1 และ CH2 ของเพาเวอร์แอมป์)

คำนวณได้ดังนี้

จากสูตร

VPL and Gain Setting

แทนค่า WattPeak ด้วย 4800

แทนค่า n ด้วย 2

ค่า Impedance ได้จาก ดอกลำโพง 8 Ohm จำนวน 2 ดอก ต่อขนานกัน คำนวนโดย (8 ÷ 2 = 4 Ohm)

เมื่อแทนค่า จะได้

VPL and Gain Setting

ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 195.96 โวลต์ แต่.. หลังเพาเวอร์แอมป์ไม่มีค่านี้ เราก็ปรับแค่ 195 พอครับ

ประโยชน์คร่าว ๆ ของเจ้า VPL คือ ช่วยป้องกันสัญญาณไฟฟ้าที่ออกไปหาลําโพง ให้มีระดับแรงดัน (Volt) ไม่ เกินเลขไม่เกินค่านั้น ๆ ที่ระบุไว้หลังเครื่องครับ พูดง่าย ๆ คือกันลําโพงเสียหาย ทําให้ระบบเสียงของเรา ดูดี มีมาตรฐาน ไม่ต้องกังวลเรื่องดอกลําโพงหรือเพาเวอร์แอมป์พังนั่นเอง

ตั้ง Gain Setting อย่างไร ให้เหมาะสม

ต้องทราบค่าต่อไปนี้ โดยคร่าว ๆ แล้ว ใช้สูตรนี้ครับ

VPL and Gain Setting

เมื่อ Vin เป็นค่าแรงดันไฟฟ้าจากอุปกรณ์ใด ๆ ที่ต่อเข้าช่องอินพุตของเพาเวอร์แอมป์ โดยผู้เขียน จะใช้ บ่อย ๆ อยู่ 2 ค่า คือ 1.228 Vrms และ 0.775 Vrms ค่าพวกนี้ จะเกี่ยวพันกับค่า dBu, dBv และ Volt ของอุปกรณ์ ระบบเสียงต่าง ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ หรือใช้แอพพลิเคชั่น PAcalculate คํานวณค่าได้

Vout คือค่าแรงดันส่งออกของเพาเวอร์แอมป์ ที่ถูกคํานวณจากค่า Watt rms ของลําโพง จาก สูตร

VPL and Gain Setting

(ถ้าไม่เข้าใจเรื่องวัตต์ บทความนี้มีคำตอบ www.atprosound.com/speaker_rms-peak-aes/)

เมื่อได้ผลลัพธ์ก็เอาไปปรับ Dip switch ที่หลังเพาเวอร์แอมป์ได้เลยครับ กรณีที่คํานวณได้ ค่าไม่ตรงกับที่ แอมป์มีให้ปรับ ก็ให้ปรับไปยังเลขน้อยกว่าค่าคํานวณที่ใกล้เคียงที่สุดครับ

          กรณีตัวอย่าง เพาเวอร์แอมป์ตัวหนึ่ง รับสัญญาณอินพุตจากดิจิตอลครอสโอเวอร์ ระดับค่าสัญญาณไฟฟ้า Level Vrms มีค่าเป็น 1.228 V ส่งสัญญาณเอาท์พุตไปหาลำโพง  ที่มีกำลังวัตต์ Rms 3200 Watt อิมพีแดนซ์ต่อ 1 ดอก มีค่า 8 Ohm ใช้เพาเวอร์แอมป์ 1 ช่อง ขับจำนวน 2 ดอก แบบขนานกัน (ทั้ง CH1 และ CH2 ของเพาเวอร์แอมป์)

VPL and Gain Setting

คํานวณได้ดังนี้ จากสูตร

VPL and Gain Setting

หาค่า Vout โดยแทนค่าในสมการVPL and Gain Setting

จะได้   

แทนค่า Vin และ Vout ในสมการ  VPL and Gain Setting

จะได้   

โดยประมาณ (สามารถใช้เครื่องคิดเลขช่วยคำนวณได้)

ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 42.27 dB แต่.. หลังเพาเวอร์แอมป์ไม่มีค่านี้ เราก็ปรับแค่ 41 พอครับ

ประโยชน์คร่าว ๆ ของ Gain ด้านหลังเพาเวอร์แอมป์คือ คือ ทําให้เราสามารถจัดการระบบเสียงได้ง่ายขึ้น ค่า พลังงานส่งออกพอดีกับดอกลําโพง ไฟสถานะหน้าเครื่องเพาเวอร์แอมป์ จะสอดคล้องกับสถานะไฟของอุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบ เมื่อต้องใช้งานร่วมกับเพาเวอร์แอมป์หลายๆตัว ลําโพงหลากหลายชนิด เนื่องจากกําลังวัตต์ของแอมป์ ลําโพงแต่ละตัว ในระบบ มีค่าไม่เท่ากัน การตั้งค่า Gain ที่ถูกต้อง จึงส่งผลที่ดี ต่อระบบเสียงของเราครับ

ขอบคุณบทความจาก คุณนิติพล ชัยมั่น

อ่านบทความเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องได้ที่

 

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เพาเวอร์แอมป์ PA

VOK V15

฿18,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿18,400.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿43,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿4,450.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

เพาเวอร์มิกเซอร์

myNPE GT-850

฿7,990.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿47,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เพาเวอร์มิกเซอร์

myNPE GT-4500

฿9,890.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿32,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เพาเวอร์แอมป์ PA

VOK V9

฿22,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น