หยุดทุกความสงสัย ถูกเฟส หรือ ถูกใจ (Tune and Tone)

ถูกเฟส หรือ ถูกใจ (Tune and Tone)

ถูกเฟส หรือ ถูกใจ หลายท่านคงได้รู้จักการจูนระบบเสียง ว่าทำไมต้องจูนระบบเสียง แต่หลายๆท่าน รวมถึงผู้เขียนเองก็ตาม เคยตั้งข้อสงสัยว่า ระบบเสียงที่จูนกันไปไม่เห็นเสียงจะถูกใจเลย เเบบนี้ก็ไม่เห็นมีความจำเป็นอะไรที่ต้องจูน ใช้หูฟังปรับ Eq เอาก็จบเเล้ว เดี๋ยวมาไขข้อข้องใจเรื่องนี้กันครับ

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

การตัดครอสโอเวอร์ (เบื้องต้น)

Flown Subwoofer เทคนิคอย่างโปรจากเครื่องเสียงกลางเเจ้งสู่รถแห่

เปลี่ยนตู้ลำโพงให้เสียงดี ด้วยอุปกรณ์จูนลำโพงเบื้องต้น

5 นาที เข้าใจ FFT ในโปรแกรมวัดเสียง

เทคนิค จูนระบบเสียง ด้วยงบ 0บาท

 

ในการจูนระบบเสียงสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของเวลา เนื่องจากในตู้ลำโพงหรือในระบบเสียง มีเเหล่งกำเนิดเสียงอยู่มากมายหลายแหล่งกำเนิดเสียง การที่ต้องจัดการให้เเต่ละเเหล่งกำเนิดเสียงมาถึงหูผู้ฟังในเวลาที่ตรงกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเวลาเป็นเรื่องของเฟส

 

ถูฟเฟส หรือ ถูกใจ

(ขอบคุณรูปจาก http://www.troelsgravesen.dk/Time-Alignment.htm)

 

ทีนี้ต้องเข้าใจก่อน สมมุติว่าเสียงมีเเหล่งกำเนิดเพียง 2 เเหล่ง ให้เป็นลำโพงเสียงสูง และเสียงกลาง ที่ตัดความถี่ที่ 1000Hz ซึ่งทั้งลำโพงเสียงสูงและเสียงกลางจะมีความถี่ที่ 1000Hz ด้วยกันทั้งคู่ เเต่เมื่อต้องใช้งานร่วมกันจึงต้องทำให้ตู้ทั้ง 2ใบมีเฟสที่ตรงกันนั่นเอง เเล้วทีนี้ถ้าเฟสไม่ตรงกันแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

 

ถูกเฟส หรือ ถูกใจ

(ขอบคุณรูปจาก https://bobmccarthy.com/acoustic-addition-and-subtraction/)

 

จากรูปจะเห็นได้ว่า ถ้าเเหล่งกำเนิดเสียงทั้ง 2 แหล่ง มีเฟสที่ตรงกัน คือ 0องศา เสียงจะดังเพิ่มขึ้น 6dB และจะค่อยๆลดลงมาเรื่อยๆจนเมื่อเฟสต่างกันถึง 180องศา เสียงความถี่นั้นๆจะหายไปนั่นเอง ต่อมา ถ้าอยากได้ความถี่ที่หายไปดังขึ้นมา สิ่งแรกที่หลายๆคนทำคือการบูส Eq ย่านนั้นขึ้นมา สิ่งที่เกิดขึ้นนอกจากความถี่ที่หายไปจะขึ้นมาน้อย หรืออาจไม่ขึ้นมาเลย ในกรณีเฟสต่างกัน 180องศาในความถี่ที่มีความดังเท่ากัน สิ่งที่เกิดขึ้น คือ อุปกรณ์อย่างเพาเวอร์แอมป์ และดอกลำโพงทำงานหนักขึ้น จนทำให้เกิดความเสียหายขึ้นมาได้นั่นเอง การจัดการกับเรื่องของเฟสจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างปฏิเสธไม่ได้

 

ถูกเฟส หรือ ถูกใจ

 

พอจัดการกับเรื่องของเฟสเรียบร้อยแล้ว ก็ค่อยเป็นเรื่องของเสียงที่ชอบ โดยการใช้ Eq ที่มิกเซอร์ หรือที่ Input Processor เพื่อปรับเเต่งเสียงตามใจชอบ เพราะในเมื่อเรื่องเฟสเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว การจะบูสหรือคัด Eq จึงเป็นเรื่องที่สามารถทำได้นั่นเอง ส่วนใครจะมีความชอบส่วนตัวไปในทางไหนก็สามารถทำได้เลยครับ แต่ต้องอย่าลืมความสามารถในการตอบสนองความถี่ของดอกลำโพงใบนั้นๆด้วย ดังนั้นระบบเสียงที่ดี ต้องเริ่มต้นจากการจูนระบบให้ถูกเฟสก่อน เสร็จแล้วค่อยทำให้เสียงถูกใจนั่นเอง

 

 

 

สรุปข้อควรระวัง ในเมื่อใช้หูเป็นสิ่งที่อ้างอิงในขั้นตอนสุดท้าย จึงต้องมั่นใจว่าเสียงที่ชอบต้องเป็นเสียงที่มีความถูกต้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับการฝึกฝนของเเต่ละคน โดยการฝึกฝนที่ง่ายที่สุดคือการฝึกฟังเพลงที่มีคุณภาพ กับลำโพงสตูดิโอมอนิเตอร์ให้เกิดความคุ้นเคยนั่นเอง

 

ติดตามช่องทางต่างๆของ AT PROSOUND

FACEBOOK ATPROSOUND

YOUTUBE ATPROSOUND

บทความโดย เอกพัฒน์ มั่นคง

 


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น