การต่อลำโพง แต่ละแบบต่างกันอย่างไร..?

อนุกรม , ขนาน และแบบผสม จุดเด่น-จุดด้อย ต่างกันอย่างไร

การต่อลำโพง แต่ละแบบต่างกันอย่างไร | การต่อลำโพงในระบบเสียงสามารถทำได้หลายรูปแบบ โดยหลัก ๆ แล้วจะมี 3 แบบด้วยกัน นั่นคือ การต่อแบบอนุกรม , แบบขนาน และแบบผสม แต่ละแบบจะมีลักษณะการเชื่อมต่อที่แตกต่างกัน รวมถึงผลต่อคุณภาพเสียง ความต้านทาน และการจ่ายกำลังของเพาเวอร์แอมป์

การต่อลำโพง

การเลือกใช้รูปแบบการต่อลำโพงที่เหมาะสม จะช่วยให้การทำงานของระบบเสียงมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ในบทความนี้.. เราจะมาทำความเข้าใจถึงการต่อลำโพงแต่ละแบบ ว่ามีความแตกต่าง และมีข้อดี – ข้อเสีย อย่างไรบ้าง

 

อนุกรม (Series)

การต่อลำโพงแบบอนุกรม (Series) คือ การเชื่อมต่อลำโพงหลายตัวเรียงกัน โดยเริ่มจากต่อขั้วบวก (+) จากเพาเวอร์แอมป์เข้ากับขั้วบวกของลำโพงใบแรก แล้วเอาขั้วลบ (-) จากลำโพงใบแรกไปต่อกับขั้วบวกของลำโพงใบถัดไปเรื่อย ๆ และต่อขั้วลบระหว่างเพาเวอร์แอมป์ กับลำโพงใบสุดท้าย

กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านลำโพงตัวแรกไปยังลำโพงตัวที่สอง และต่อเนื่องไปยังตัวต่อ ๆ ไป การต่อลำโพงแบบอนุกรม ข้อดีคือ Impedance รวมที่เพิ่มขึ้น แต่มีข้อจำกัดคือ หากลำโพงตัวใดตัวหนึ่งมีเสีย จะทำให้ลำโพงใบอื่น ๆ ไม่ทํางาน และ Impedance ที่มากขึ้น จึงทำให้เสียงเบาลงไปด้วย

 

ขนาน (Parallel)

การต่อลำโพงแบบขนาน (Parallel) คือ การเชื่อมต่อลำโพงหลายตัวในลักษณะที่ขั้วบวก (+) ของลำโพงทุกใบ เชื่อมต่อกับขั้วบวกของเพาเวอร์แอมป์ และขั้วลบ (-) ของลำโพงทุกใบ ก็เชื่อมต่อกับขั้วลบของเพาเวอร์แอมป์เช่นกัน ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านลำโพงแต่ละใบแยกกัน แต่ Voltage ที่ได้รับเท่ากัน

การต่อลำโพง

การต่อแบบขนาน ข้อดีคือ เป็นการต่อที่ง่าย และตรงไปตรงมาที่สุด หากลำโพงใบใดใบหนึ่งในระบบเสีย หรือเกิดไม่ติดขึ้นมา ลำโพงที่เหลือก็ยังสามารถทำงานต่อไปได้ แต่ข้อจำกัดคือยิ่งต่อลำโพงมากเท่าไหร่ Impedance รวม ก็ยิ่งลดลงไปเรื่อย ๆ และอาจจะทำให้แอมป์ทำงานหนักมากขึ้น

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

 

ผสม (Series-Parallel Circuit) 

การต่อลำโพง แบบผสม (Series-Parallel Circuit) คือ การเชื่อมต่อลำโพงโดยใช้การต่อแบบอนุกรม และแบบขนานร่วมกัน การต่อในรูปแบบนี้มักใช้เมื่อต้องการควบคุม Impredance ให้เหมาะสมกับเพาเวอร์แอมป์ในขณะที่ต้องใช้ลำโพงหลายใบ

ซึ่งสามารถช่วยปรับสมดุลระหว่างความต้านทาน และการจ่ายกำลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ การต่อแบบผสม ข้อดีคือ สามารถควบคุม Impedance รวมได้ เพื่อให้แอมป์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เสียงเต็ม คมชัด แต่ข้อจำกัดคือมีความซับซ้อนในการต่อ

 

สรุป

ในการต่อลำโพงมี 3 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่ การต่อแบบอนุกรม , แบบขนาน และแบบผสม ซึ่งแต่ละรูปแบบมีลักษณะการใช้งาน และผลกระทบต่อการทำงานของระบบเสียงที่แตกต่างกันดังนี้ :

  • การต่อแบบอนุกรม (Series) : ความต้านทานรวมจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนลำโพงที่ต่อกัน หากลำโพงใบใดใบหนึ่งเสีย ระบบทั้งหมดจะหยุดทำงาน และการกระจายกำลังให้ลำโพงแต่ลำใบไม่เท่ากัน
  • การต่อแบบขนาน (Parallel) : ความต้านทานรวมลดลง แต่หากลำโพงใบใดใบหนึ่งเสีย ระบบที่เหลือก็ยังทำงานต่อไปได้ และการกระจายกำลังเท่ากันต่อลำโพงทุกใบ
  • การต่อแบบผสม (Series-Parallel) : เป็นการผสมผสานการต่อแบบอนุกรม และแบบขนาน ช่วยปรับสมดุลค่าความต้านทาน และการจ่ายกำลังของเพาเวอร์แอมป์ แต่การต่อก็มีความซับซ้อนมากขึ้นตามไปด้วย

ดังนั้น.. การเลือกวิธีต่อลำโพงที่เหมาะสมต่อระบบ จะช่วยให้ระบบเสียงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ได้ดีอีกด้วย

 

ติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook AT Prosound

บทความ การต่อลำโพง แต่ละแบบต่างกันอย่างไร..? โดย : ณัฐพจน์ วิจารัตน์


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00
฿145.00
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น