Smoke / Haze / Dry-Ice ต่างกันอย่างไร
AT ออนไลน์ไกด์, พื้นฐานระบบแสงเวทีและอุปกรณ์, เกร็ดความรู้
3 ประเภท เอฟเฟคควัน
Smoke / Haze / Dry-Ice ต่างกันอย่างไร | จุดประสงค์การใช้เอฟเฟคควันรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในงานสตูดิโอ หรืองานไลฟ์ คือเพื่อสร้างมิติเติมลูกเล่น ทั้งในงานดนตรี งานละคร หรืองานพิธีการต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้ ในส่วนของตัวอุปกรณ์สร้างเอฟเฟคควัน ก็ยังมีอีกหลากหลายประเภท
เเต่ในบทความนี้.. เราจะหยิบยกขึ้นมา 3 ประเภทที่เรานิยมใช้กัน นั่นคือ SMOKE / HAZE และ DRYICE ซึ่ง 3 อย่างนี้ก็คือชื่อชนิดของควัน หากดูผ่าน ๆ ลักษณะของควันอาจดูคล้าย ๆ กัน เเต่มันมีจุดที่ต่างกันอยู่ ที่เราสามารถสังเกตุได้ ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มทำความรู้จักกันเลย
SMOKE
เอฟเฟคควันชนิดแรกนี้หลาย ๆ คนก็เรียกกันติดปาก คือ “สโม๊ค” ควันชนิดนี้ใช้งานกันเยอะมาก ๆ เพราะตัวอุปกรณ์มีราคาถูก หาชื้อง่าย และใช้งานง่าย ควันชนิดนี้จะใช้น้ำยาที่เป็นน้ำยาสโม๊คเฉพาะ
มีลักษณะเด่นคือ ปล่อยควันทีละมาก ๆ ระยะสั้น ๆ ควันจะเป็นก้อนหนา มักใช้งานในลักษณะที่เฉพาะเจาะจง เช่น ใช้สร้างเอฟเฟค หรือสร้างบรรยากาศในการแสดงต่าง ๆ นิยมใช้กับงาน Outdoor และเวทีการแสดง
HAZE
ควันจะมีลักษณะเป็นเหมือนหมอกควันบาง ๆ ลอยในอากาศแบบไม่ได้เป็นกลุ่มควันคล้ายสโม๊ค เเต่ HAZE ก็มีลักษณะเฉพาะตัวของมันเอง นั่นคือการปล่อยควันทีละน้อย ๆ แต่ต่อเนื่อง เน้นให้ควันกระจายทั่วห้อง
นิยมใช้ในสถานที่ปิด เช่น ผับ หรือ Hall เพื่อสร้างความหนาแน่นของควันให้กระจายทั่วห้องคล้ายหมอก เมื่อลมพัดก็ยังคงมีควันลอยอยู่บนเวทีตลอดเวลา แต่ก็ใช้กับงาน Outdoor ได้เช่นกัน
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
DRY-ICE
เอฟเฟคควันชนิดนี้จะมีลักษณะแตกต่างจากทั้ง สโม๊ค และ Haze อย่างสิ้นเชิง นั่นคือปล่อยควันหนาคล้ายปุยเมฆ แต่ลอยตัวต่ำกระจายบนพื้น ปกคลุมทั่วพื้นที่ มักใช้ในงานแต่งงาน หรืองานพิธีต่าง ๆ ที่ต้องการความสวยงามคล้ายเทพนิยาย แต่ไม่ต้องการให้ฟุ้งกระจายเป็นหมอก หรือควัน
ตัวอุปกรณ์ก็จะมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างเป็นเครื่องเฉพาะ ที่จะใช้ทั้งรูปแบบน้ำแข็งแห้งที่เป็นก้อน ๆ หรือเครื่องอีกหนึ่งประเภทที่ใช้น้ำยาผสมกับน้ำเปล่า เพราะในบางพื้นที่เองน้ำแข็งแห้งก็อาจจะหาชื้อได้ยาก จึงมีเครื่องแบบที่ใช้น้ำยาขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือก
สรุป
อุปกรณ์ และเอฟเฟคควันแต่ละชนิด ก็จะมีลักษณะของควัน และรวมไปถึงรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เราจึงต้องเลือกอุปกรณ์มาใช้ให้ถูกลักษณะของงาน เพราะถ้าหากเราใช้ไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ หรือลักษณะของงาน ก็อาจจะทำให้รูปแบบของควันไม่เป็นไปอย่างที่เราตั้งใจไว้ และอาจจะทำให้อะไรต่าง ๆ เสียองค์ประกอบไปด้วยกันทั้งหมด เช่น บรรยากาศ หรืออารมณ์ของการแสดงที่ต้องการสื่อถึงผู้ชม เป็นต้น
ติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook AT Prosound
บทความ Smoke / Haze / Dry-Ice ต่างกันอย่างไร โดย : ณัฐพจน์ วิจารัตน์