เบสหาย ซับไม่ดี หรือห้องที่แย่

เบสหาย ซับไม่ดี หรือห้องที่แย่

เบสหาย ซับไม่ดี หรือห้องที่แย่ หลายท่านในที่นี้คงเคยผ่านการติดตั้งระบบเสียงทั้ง เครื่องเสียงกลางแจ้ง, เครื่องเสียงในผับ, เครื่องเสียงในอาคาร กันมาบ้างแล้ว หรือสำหรับท่าน ที่ยังไม่มีประสบการณ์ด้านนี้ ยิ่งต้องห้ามพลาดที่จะอ่าน เอาไว้เป็นแนวทางในอนาคตครับ

ทุกท่านเคยสังเกตุกันไหมครับว่า? เสียงเวลาติดตั้งในแต่ละสถานที่นั้นไม่เหมือนกัน ทั้งๆที่ใช้ระบบเสียงเดียวกัน โดยเฉพาะเสียงต่ำ เมื่ออยู่ในสถานที่ปิด เดินไปตรงไหนเสียงก็ไม่ค่อยจะเหมือนกัน บางจุดก็เสียงดี บางจุดก็เกิดอาการเบสล้น บวม บางจุดเสียงเบสก็หายไปเลย ทั้งๆที่เวลาติดตั้ง เครื่องเสียงกลางแจ้ง ปัญหาก็ไม่ได้เยอะขนาดนั้น วันนี้เรามาเรียนรู้สาเหตุกันครับ

 

เบสหาย ซับไม่ดี หรือห้องที่แย่

 

สารบัญ

Standing wave คืออะไร

•Room mode คืออะไร

•การหา Axial Mode

•แนวทางการแก้ปัญหา

 

ก่อนอื่นเริ่มต้นด้วย ต้องเข้าใจคำว่า Standing wave หรือ คลื่นนิ่งกันก่อน คลื่นนิ่งเกิดจากการแทรกสอดของคลื่นที่มี แอมพลิจูด ความถี่ ความเร็ว และความยาวคลื่นที่เท่ากัน เคลื่อนที่สวนทางกันไปมา จนเกิดเป็น คลื่นนิ่ง โดยคลื่นนิ่งจะมีตำแหน่งบัพ (Node) คือ ตำแหน่งที่ไม่มีการสั่นเลย และปฏิบัพ (Antinode) คือ ตำแหน่งที่สั่นได้มากที่สุด ทำให้เกิดการรับฟังที่เเตกต่างกันภายในพื้นที่นั้นเอง

 

Standing wave

(ขอบคุณรูปจาก https://www.chegg.com/homework-help/questions-and-answers/antinode-node-antinode-node-node-antinode-q10205073)

 

จากรูป เป็นการทดลองง่ายๆ คือการเเกว่งเชือกไปเรื่อยๆ ด้วยความเเรง ความเร็ว ที่เท่าๆกัน โดยเอาปลายอีกด้านหนึ่งยึดติดกับผนัง อาจจะด้วยกาว หรือตะปูก็แล้วแต่ ซึ่งจากรูป A ถึง C หมายถึง การเพิ่มความเร็วในการเเกว่ง ซึ่งเปรียบเสมือนความถี่เสียงที่สูงขึ้นนั่นเอง สังเกตุจุด Antinode เชือกยังคงสั่นได้อยู่ ส่วนจุดที่เกิด Node คือจุดที่ไม่เกิดเสียงในห้องนั้นๆ

 

(ขอบคุณรูปจาก ช่อง Warangkana Sriponprasert https://www.youtube.com/watch?v=UJDGF3W8PpQ)

 

ต่อมา การเกิด Standing wave ที่มีผนังแข็งกั้นเสียง จะเป็นคลื่นนิ่งปลายอิสระ ส่วนการเกิด Standing wave ของสายระหว่างจุดยึดสองจุด จะเป็นคลื่นนิ่งปลายตรึง ทั้ง 2 แบบมีลักษณะที่ต่างกัน การเกิด Room mode จะเป็นในลักษณะคลื่นนิ่งปลายอิสระ 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องได้ที่

Room mode จะถูกแบ่งออกเป็น

1.Axial Mode เกิดจากเสียงสะท้อนผนังด้านที่ขนานกัน

2.Tangential Mode เกิดจากเสียงสะท้อนผนังสี่ด้าน

3.Oblique Mode เกิดจากเสียงสะท้อนผนังทั้งหกด้าน

Axial Mode เป็นส่วนหนึ่งของ Room mode คือ Mode ที่เกิดจากเสียงสะท้อนผนังด้านที่ขนานกัน เเละเป็น Mode ที่มีผลกระทบกับการรับฟังมากที่สุด Axial Mode จะถูกแบ่งเป็น Axial ความถี่ที่1, Axial ความถี่ที่2 , Axis ความถี่ที่3 ไปเรื่อยๆ ซึ่งสามารถคำนวนหาได้อย่างไม่ยากเย็น

 

(ขอบคุณรูปจาก http://www.sengpielaudio.com/calculator-roommodes.htm)

 

Axial ความถี่ที่ 1 จะเท่ากับ f1 = V / (2 L)

Axial ความถี่ที่ 2 จะเท่ากับ f2 = 2 × V / (2 L) หรือ  f2 = 2 × f1

Axial ความถี่ที่ 3 จะเท่ากับ f3 = 3 × V / (2 L) หรือ  f3 = 3 × f1

Axial ความถี่ที่ n จะเท่ากับ fn = n × V / (2 L) หรือ  fn = n × f1

โดยที่ L = ความยาวจากผนังด้านหนึ่งไปจนถึงอีกด้านหนึ่ง

λ = ความยาวคลื่น

f = ความถี่เสียง

V = ความเร็วเสียงในอากาศ กำหนดให้เป็น 344เมตร/วินาที

 

เบสหาย ซับไม่ดี หรือห้องที่แย่

(Room 3D สีแดงกับน้ำเงิน หมายถึง สิ่งเดียวกันคือความดัง ส่วนที่เว้นคือไม่มีเสียง)

 

ยกตัวอย่าง ห้องลึก 8 เมตร Axial ความถี่ที่1  ของห้องนี้จะเท่ากับ

f1 = V / (2 L) , f1 = 344 / (2 x 8)

f1 = 21.5 Hz

จากรูป ด้านบน นั่นหมายความว่า กลางห้องเป็นตำแหน่งของ node จะไม่มีเสียงที่ความถี่ 21.5 Hz นั่นเอง

 

เบสหาย ซับไม่ดี หรือห้องที่แย่

(Room 3D สีแดงกับน้ำเงิน หมายถึง สิ่งเดียวกันคือความดัง ส่วนที่เว้นคือไม่มีเสียง)

 

Axial ความถี่ที่2  ของห้องนี้จะเท่ากับ

f2 = 2 × V / (2 L) หรือ  f2 = 2 × f1

f2 = 43 Hz

ตามรูปด้านบน นั่นหมายความว่า ตำแหน่งของ node จะไม่มีเสียงที่ความถี่ 43 Hz นั่นเอง

 

เบสหาย ซับไม่ดี หรือห้องที่แย่

(Room 3D สีแดงกับน้ำเงิน หมายถึง สิ่งเดียวกันคือความดัง ส่วนที่เว้นคือไม่มีเสียง)

 

Axial ความถี่ที่3  ของห้องนี้จะเท่ากับ

f3 = 3 × V / (2 L) หรือ  f3 = 3 × f1

f3 = 64.5 Hz เป็นต้น

ตามรูปด้านบน นั่นหมายความว่า ตำแหน่งของ node จะไม่มีเสียงที่ความถี่ 64.5 Hz นั่นเอง

และยังเกิดขึ้นกับความถี่ 86 Hz, 107.5 Hz ไปเรื่อยๆ จะเห็นได้ว่า ตำเเหน่ง node และ antinode จะต่างกันออกไปในแต่ละ harmonic

 

(ขอบคุณรูปจาก https://www.sonarworks.com/blog/learn/its-all-about-the-bass/)

 

สรุป จากข้างต้นสามารถเข้าใจได้ว่าห้องมีผลต่อเสียงอย่างไร ในด้านเเนวทางการแก้ไขปัญหา ในกรณีห้องเล็กนั่งฟังคนเดียว อาจเลือกจุดที่ความถี่อยู่ค่อนข้างครบได้ตามรูปด้านบน คือไม่อยู่ในส่วนของ node การออกแบบห้องไม่ให้ผนังขนานกันก็ช่วยลดปัญหาได้ การวาง Sub Cardioid เพื่อหักล้างเสียงไม่ให้สะท้อนจากผนังด้านหลัง หรือเเม้แต่ใช้ Acoustic bass traps ก็ช่วยลดปัญหานี้ได้เช่นกัน

ติดตามช่องทางต่างๆของ AT PROSOUND

FACEBOOK ATPROSOUND

YOUTUBE ATPROSOUND

บทความโดย เอกพัฒน์ มั่นคง

 


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,400.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿5,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น