ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ห้องประชุม สำหรับมหาวิทยาลัย
ห้องประชุม สำหรับมหาวิทยาลัย
ห้องประชุม สำหรับมหาวิทยาลัย
ห้องประชุม สำหรับมหาวิทยาลัย
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
ชุดเครื่องเสียงพร้อมใช้
ชุดเครื่องเสียงพร้อมใช้
กลางแจ้ง สำหรับคาราโอเกะ
ดนตรีสด สำหรับร้านอาหาร
ชุดเครื่องเสียงพร้อมใช้
ชุดเครื่องเสียงพร้อมใช้
ไมค์ / เปิดเพลง สำหรับห้องสัมมนา/จัดเลี้ยง
รวมผลงานติดตั้งโดย ATผลงานทั้งหมด
ชุดเครื่องเสียงมหาวิทยาลัย
เครื่องเสียงมหาวิทยาลัย ระบบเสียงตามสาย ระบบเสียงห้องประชุม เครื่องเสียงสนามกีฬา ห้องจัดเลี้ยง เครื่องเสียงห้องเรียน ติดตั้งเครื่องเสียงมหาวิทยาลัย
ชุดเครื่องเสียงมหาวิทยาลัย คือ ชุดเครื่องเสียงที่ สำหรับใช้ภายในมหาวิทยาลัย ( University ) ซึ่งภายในมหาวิทยาลัย มีการใช้ระบบเสียงหลากหลายรูปแบบ เช่น ระบบเสียงภายในห้องเรียน ระบบเสียงตามสาย ระบบเสียงสำหรับอาคารอเนกประสงค์ ระบบเสียงสำหรับสนามกีฬา ระบบเสียงภายในห้องประชุม เป็นต้น

ซึ่งในแต่ละพื้นที่ การใช้ระบบเสียงจะมีความแตกต่างกันออกไป เพื่อให้เสียงที่ได้มีคุณภาพ มีการกระจายเสียงอย่างทั่วถึง เหมาะสมกับการใช้งาน และงบประมาณ ชุดเครื่องเสียง สำหรับมหาวิทยาลัย สามารถใช้ได้ทั้งระบบการต่อแบบ โอห์ม ( Ohm ) และ โวลต์ไลน์ ( Volt Line )

ระบบเสียง ชุดเครื่องเสียงมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย

สามารถใช้ได้ทั้งไมโครโฟนแบบมีสาย และ ไมโครโฟนแบบไร้สาย ( Wireless Microphone ) สำหรับในห้องเรียน อาคารอเนกประสงค์ สนามกีฬา
แต่ถ้าเป็นในระบบเสียงตามสายภายในมหาวิทยาลัย ( Public address system ) จะมีไมโครโฟนเฉพาะ ที่สามารถเลือกพื้นที่ประกาศได้ เพื่อต้องการประกาศเฉพาะบางพื้นที่ ไม่ให้เสียงประกาศไปรบกวนพื้นที่อื่น โดยจะมีลักษณะทั้งแบบ ไมโครโฟนตั้งโต๊ะ หรือ ไมโครโฟนก้านยาว ( Goosneck Microphone )
ไมโครโฟน ที่ถูกใช้ในห้องประชุม ( Conference ) จะแตกต่างจากไมโครโฟนที่ใช้งานในแบบอื่น คือ จะถูกจัดเป็นชุดไมค์สำหรับประชุมมาโดยเฉพาะ โดยจะมีทั้ง ไมค์สำหรับประธาน และไมค์สำหรับผู้เข้าร่วมประชุม แยกกันอย่างชัดเจน

เครื่องเสียงมหาวิทยาลัย สำหรับระบบเสียงภายในมหาวิทยาลัย สามารถเลือกใช้มิกเซอร์ได้ทั้ง มิกเซอร์ดิจิตอล ( Digital Mixer ) และ มิกเซอร์อนาล็อก ( Analog Mixer ) ความสำคัญของการเลือกใช้ขึ้นอยู่กับ จำนวน แชนแนล ให้เพียงพอต่อการใช้งาน และ มีความจำเป็นในการใช้ฟังก์ชั่น ( Function ) ต่าง ๆ มากน้อยแค่ไหน
เช่น ระบบเสียงภายในห้องเรียน สามารถใช้ เป็น มิกเซอร์อนาล็อกขนาดเล็กได้ เพราะมีการใช้งานจำนวนแชนแนลไม่เยอะมาก แต่ถ้าเป็น ระบบเสียงภายในอาคารอเนกประสงค์ ที่มีการจัดกิจกรรม การแสดง ที่มีความซับซ้อน สามารถใช้งานเป็นมิกเซอร์ดิจิตอล เพื่อความสะดวกในการ Save Scene หรือ โหลด Scene ต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นครับ
3. ครอสโอเวอร์ ( Crossover ) หรือ DSP ( Digital Signal Processor )

เครื่องเสียงมหาวิทยาลัย เป็นอุปกรณ์สำหรับจัดการสัญญาณเสียง ที่ออกมาจาก มิกเซอร์ ก่อนจะส่งสัญญาณต่อไปเข้า เพาเวอร์แอมป์ ( Power Amp ) โดยจะรวมการปรับแต่งหลาย ๆ อย่างไว้ภายในเครื่องเดียว เช่น การปรับแต่ง EQ ( Equalizer ) , การปรับแยกความถี่สัญญาณเสียง ( Crossover ) , การควบคุมระดับสัญญาณเสียง ( Limiter ) เหมาะสำหรับการใช้ตู้ลำโพงแบบไม่มีแอมป์ในตัว ( Passive ) ใช้งานพร้อมกับ ซับวูฟเฟอร์ ( Subwoofer )

เครื่องขยายสัญญาณเสียง โดยปกติแล้ว เพาเวอร์แอมป์ ที่ใช้งานในระบบ PA จะมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบโอห์ม ( Ohm ) และ ระบบโวลไลน์ ( Volt Line ) ถ้าเป็นในระบบเสียง ที่ต้องการโฟกัสแค่พื้นที่เดียว เช่น ห้องสัมมนา ห้องจัดเลี้ยง สามารถใช้เพาเวอร์แอมป์แบบโอห์มได้

แต่ถ้าเป็นในระบบเสียงตามสาย สนามกีฬา จำเป็นต้องใช้ เพาเวอร์แอมป์ระบบ โวลต์ไลน์ เพราะ การต่อแบบ โวลท์ไลน์ สามารถเดินสายลำโพงได้ในระยะไกล และสามารถต่อพ่วง ลำโพง ได้ในปริมาณที่เยอะมากขึ้น เพื่อให้มุมกระจายเสียงจากลำโพงครอบคลุมพื้นที่ได้ในหลาย ๆ จุดตามที่ต้องการ

เครื่องเสียงมหาวิทยาลัย สำหรับการใช้งานภายในมหาวิทยาลัย มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ถ้าเป็นในระบบกระจายเสียง สามารถใช้เป็น ลำโพงติดผนัง ( Wall Speaker ) ลำโพงติดเพดาน ( Ceiling Speaker ) ลำโพงฮอร์น ( Horn Speaker )

ถ้าไม่ใช่เป็นงานกระจายเสียง สามารถใช้เป็นตู้พ้อยซอส ( Point Source ) ลำโพงคอลัมน์ ( Column Speaker ) หรือ ตู้ลำโพงไลน์อาเรย์ ( Line Array ) สามารถใช้ได้ทั้งแบบมีแอมป์ในตัว และแบบไม่มีแอมป์ในตัว สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ ที่จะใช้งาน

โดยลำโพงสำหรับระบบเสียงตามสายภายในมหาวิทยาลัย ที่ต้องใช้งานร่วมกับ เพาเวอร์แอมป์ในระบบโวลท์ไลน์ นั้น จำเป็นต้องสามารถรองรับการต่อระบบแบบ โวลไลน์ ( Volt Line ) ได้ด้วย โดยด้านในลำโพงที่รองรับการต่อระบบแบบ โวลท์ไลน์ จะมีหม้อแปลงเพื่อรับกระแสสัญญาณจากตัว Power amp ให้มีกระแสสัญญาณแบบเดียวกัน
