คู่มือ !! การเลือกซื้อ ลำโพง PA Speaker

การเลือกซื้อ ลำโพง PA Speaker

คู่มือ !! การเลือกซื้อ ลำโพง PA Speaker | ลำโพง.. หน้าที่ของมันก็คือ การแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเคลื่อนไหวทางกายภาพของอากาศ โดยลำโพงในอุดมคติของ Sound Engineer หลาย ๆ ท่านก็คือ ลำโพงที่ทำการแปลงสัญญาณโดยไม่สูญเสียคุณภาพ และเนื้อเสียงของต้นฉบับ หรือแหล่งกำเนิดสัญญาณเสียง แต่นอกจากนี้แล้วยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่จะมีผลต่อการตัดสินใจ สำหรับผู้ที่กำลังจะซื้อชุดลำโพง PA มาใช้งาน แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี ดังนั้นบทความนี้จะว่าด้วยเรื่อง “5 Tip คู่มือ !! การเลือกซื้อ ลำโพง PA Speaker” เพื่อเป็นแนวทางให้กับทุกท่านได้ไม่มากก็น้อยครับ

คู่มือ

 

1. ขนาด

ข้อพิจารณาแรกจะอยู่ที่ว่า คุณต้องการพลังงานมากแค่ไหน ซึ่งพลังงานในบริบทนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะหมายถึงระดับความดังของเสียง แต่การเลือกซื้อลำโพง PA ยังมีอะไรอีกมาก มากกว่าการที่มันจะให้เสียงที่ดังแค่ไหน ยกตัวอย่าง เช่น หน่วยมาตรฐานในการวัดกำลังไฟฟ้าของระบบ PA ก็คือ “วัตต์” ลองจินตนาการดูว่า การใช้แอมป์กีตาร์ขนาด 100 วัตต์ ในสถานที่เล็ก ๆ ผลลัพธ์ของมันจะออกมาเป็นอย่างไร สำหรับการเลือกลำโพง PA ก็เช่นกัน การเลือกใช้ลำโพง PA ที่มีกำลังวัตต์สูงจนเกินไปสำหรับพื้นที่งานเล็ก ๆ จะเป็นการเพิ่มต้นทุน และปริมาณโดยไม่จำเป็นให้กับอุปกรณ์ของคุณ ในทางกลับกัน.. หากเลือกใช้ลำโพง PA ที่มีกำลังวัตต์ไม่พอสำหรับสถานที่ที่กว้างเกินไป นั่นก็อาจจะไม่ส่งผลดีต่ออุปกรณ์ของคุณนัก อย่างไรก็ตาม โปรดจำไว้ว่า “พลังพิเศษนั้นมาพร้อมกับขนาด และน้ำหนักที่มากขึ้น” ดังนั้นเมื่อคุณกำลังที่จะตัดสินใจที่จะซื้อลำโพง PA สักชุด ควรคำนึงถึงขนาด และปริมาณเพื่อการตอบโจทย์ต่อการใช้งานจริงให้คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพมากที่สุด  

 

2. การพกพา เคลื่อนย้าย

เมื่อขนาดของสถานที่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ขนาดที่ต้องการของชุดเครื่องเสียงระบบ PA ก็ต้องใหญ่ขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน การพิจารณาความสะดวกสบายในการพกพาก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักดนตรีกลางแจ้ง หรือนักดนตรีเปิดหมวกอิสระ ที่เน้นการเคลื่อนที่ไวไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งประเภทลำโพง PA ที่จะตอบโจทย์การใช้งานในลักษณะนี้ ก็คือ ลำโพง PA ขนาดพกพา หรือไม่เช่นนั้นก็เป็นลำโพงที่มีล้อลาก ยกตัวอย่าง เช่น Soundvision ACS-1500 , LD Systems CURV 500 PS หรือ Behringer MPA-40BT Pro เป็นต้น

LD Systems CURV 500 PS
คู่มือ !! การเลือกซื้อ ลำโพง PA Speaker

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

 

3. ลักษณะการใช้งาน

แม้ว่าชุดเครื่องเสียงระบบ PA จะไม่ค่อยมีความซับซ้อนมากนัก แต่คุณยังต้องคิดให้ดีว่าจะใช้งานอย่างไร ต้องแน่ใจว่าจำนวน Input – Output เพียงพอหรือไม่ เพราะการเชื่อมต่อที่เพียงพอกับแหล่งสัญญาณเสียงก็มีความสำคัญ ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับลำโพง ซับวูฟเฟอร์ หรืออุปกรณ์บันทึกภายนอกอื่น ๆ นอกจากงานกลางแจ้งแล้ว ลำโพง PA ยังถูกนำไปใช้ได้หลากหลายลักษณะ ซึ่งแต่ละลักษณะก็จะมีข้อกำหนดในการใช้งานที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่าง เช่น ในโบสถ์ โรงยิม หรือหอประชุม เป็นต้น ให้พิจารณาจากสถานที่ใช้งานเป็นองค์ประกอบสำคัญ ด้วยความที่แต่ละสถานที่ก็จะมีความเป็นธรรมชาติของเสียงที่ต่างกัน ซึ่งจะมีผลอย่างมากต่อเสียงที่ลำโพง PA ขับออกมา ดังนั้นตำแหน่งการจัดวางลำโพง และเทคนิคการมิกซ์เสียงที่ดี ก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกข้อหนึ่งเช่นกัน

 

4. ความอเนกประสงค์

สิ่งที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่ง คือการพิจารณาถึงความต้องการต่อระบบ PA ของคุณในอนาคต โดยเฉพาะ Sound Engineer หรือชาวเครื่องเสียงมืออาชีพ ที่ออกงานกลางแจ้ง หรืองานสเตจเพื่อเลี้ยงชีพ คุณควรคิดเผื่อเอาไว้เสมอว่า คุณต้องการเติบโต หรือพัฒนาอย่างไร ดังนั้นการเลือกซื้อ ลำโพง PA หรืออุปกรณ์ใด ๆ ในระบบเสียง ที่สามารถพัฒนาไปพร้อมกับคุณได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ในทางกลับกันสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป ที่มีความต้องการใช้งานลำโพง PA ในลักษณะเฉพาะ มีการเซ็ทอัพระบบที่แน่นอน และไม่จำเป็นต้องการต่อยอดใด ๆ เช่น ห้องซ้อมดนตรี , เครื่องเสียงประกาศ หรือเครื่องเสียงในหอประชุม เป็นต้น คุณอาจจะพิจารณาจากความต้องการต่อชุด PA ที่ใช้งานได้จริงตามวัตถุประสงค์ อย่างคุ้มค่าก็เพียงพอ

คู่มือ

JBL PRX800W Series
คู่มือ !! การเลือกซื้อ ลำโพง PA Speaker

ขอบคุณรูปภาพจาก reverbtime.com

5. งบประมาณ ค่าใช้จ่าย

เหนือสิ่งอื่นใดคงจะปฏิเสธไม่ได้ใช่ไหมครับ ปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งอีกข้อหนึ่งนั่นก็คือ เรื่องของงบประมาณ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพราะงบประมาณจะเป็นตัวกำหนดบางสิ่งเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ สเปคของลำโพง และตัวเลือกในการซื้อ หากคุณมีงบประมาณที่จำกัดอยู่ประมาณหนึ่ง และคุณกำลังคิดอยู่ว่าควรจะจัดสรรงบประมาณอย่างไรดี หากต้องการซื้อชุดเครื่องเสียงระบบ PA สักชุดหนึ่ง เมื่อพิจารณาดูแล้ว.. ลำโพง PA เป็นส่วนที่ทำหน้าที่สื่อสารกับผู้ฟังมากที่สุด มันจึงมีความสมเหตุสมผล และคุ้มค่าที่จะใช้จ่ายในส่วนนี้มากกว่าส่วนอื่น จากนั้นจึงค่อยแบ่งงบประมาณส่วนที่เหลือ สำหรับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น มิกเซอร์ ครอสโอเวอร์ หรือเพาเวอร์แอมป์ ที่สามารถใช้งานได้จริงอย่างคุ้มค่าที่สุด และมีคุณสมบัติไม่ขาดไม่เกินกับความต้องการของลำโพง หลังจากนั้นเมื่อมีงบประมาณที่พร้อมแล้ว จึงค่อย ๆ อัพเกรดไปทีละส่วนในอนาคตก็ไม่เสียหายครับ

 

ท้ายที่สุดนี้… ที่กล่าวมาเป็นเพียงการแนะนำเบื้องต้นเท่านั้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจต่อการใช้งานจริง และงบประมาณของทุกท่านเองครับ

 

ติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook AT Prosound

บทความโดย : ณัฐพจน์ วิจารัตน์


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,400.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿5,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น