สัญญาณรบกวน (Noise) ในงานระบบเสียงที่ควรรู้จัก

สัญญาณรบกวนในงานระบบเสียง

สัญญาณรบกวน (Noise) ในงานระบบเสียงที่ควรรู้จัก | ปัญหาสัญญาณรบกวนในระบบเสียงเป็นสิ่งที่ไม่ควรถูกมองข้าม เพราะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่มีผลกระทบอย่างมากในงานระบบเสียง และส่งผลต่อคุณภาพเสียงรวมถึงการรับฟังอีกด้วย บทความนี้.. เราจะพาไปทำความรู้จักกับ สัญญาณรบกวนรูปแบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในงานระบบเสียง รวมถึงแนวทางในการจัดการปัญหา Noise เบื้องต้น เพื่อให้ได้เสียงที่คมชัด และมีคุณภาพสูงสุด

สัญญาณรบกวน

สัญญาณรบกวน คืออะไร..?

สัญญาณรบกวนในงานระบบเสียงทั้งงานไลฟ์ซาวด์ รวมถึงงานบันทึกเสียงในสตูดิโอ คือ สัญญาณไม่พึงประสงค์ที่เข้ามาปะปนกับสัญญาณหลัก ทำให้คุณภาพของเสียงที่ได้รับลดลง Noise สามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ และหลากหลายที่มา ตัวอย่าง เช่น เกิดจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เกิดจากสภาพแวดล้อม หรือข้อบกพร่องบางอย่างในกระบวนการบันทึกเสียง เป็นต้น

สัญญาณรบกวน

ประเภทของสัญญาณรบกวน

ประเภทของ Noise นั้นมีลักษณะที่หลากหลาย และสามารถจำแนกได้ตามคุณสมบัติของสัญญาณในเชิงความถี่ ลักษณะการเกิด และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสัญญาณหลัก โดยธรรมชาติของสัญญาณรบกวนมักเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ และเกิดขึ้นในกระบวนการส่งสัญญาณ เรามาดูกันว่า ประเภทของสัญญาณรบกวน มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง

1. สัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า (Electrical Noise) : เกิดจากการรบกวนของสัญญาณไฟฟ้าในระบบ เช่น เสียง HUM สัญญาณที่มาจากการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าใกล้เคียง หรือการเชื่อมต่อที่ไม่ดีของอุปกรณ์

2. เสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อม (Ambient Noise) : คือ เสียงที่มาจากสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา เช่น เสียงคนพูด เสียงรถยนต์ การจราจรบนถนน หรือเสียงลมที่ถูกบันทึกเข้าไปในไมโครโฟนเมื่อสถานที่ไม่มีความเงียบเพียงพอ

3. สัญญาณรบกวนจากอุปกรณ์ (Device Noise) : เป็นสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นอยู่ในตัวอุปกรณ์บันทึกเสียง หรือจากเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เอง เช่น เสียง Tape Hiss จากเทปเสียง เป็น “เสียงซ่า ๆ” คล้ายเสียง Pink Noise

4. สัญญาณรบกวนแบบสุ่ม (Random Noise) : เป็น Noise ที่เกิดขึ้นโดยไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น เสียงรบกวนจากการเคลื่อนไหวของสายแจ็ค เสียงไฟฟ้าสถิต หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากอุปกรณ์อื่น ๆ

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

 

เสียง Noise ที่พบได้บ่อยในงานระบบเสียง

รูปแบบเสียงสัญญาณรบกวนที่พบได้บ่อยในงานระบบเสียง หลัก ๆ มีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน โดยแต่ละรูปแบบมีสาเหตุ และวิธีการแก้ไขที่แตกต่างกันดังนี้

1. เสียงฮัม (HUM) : เสียง “ฮัม” เป็นลักษณะสัญญาณรบกวนความถี่ต่ำ ประมาณ 60Hz – 120Hz เกิดได้ทั้งจากเครื่องขยายเสียง สายสัญญาณ และวงจรภาคขยายที่ไม่สมบูรณ์ หรือเกิดการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้า 50Hz หรือ 60 Hz (ขึ้นอยู่กับระบบไฟฟ้าของแต่ละประเทศ)

วิธีแก้

  • ตรวจสอบการต่อติดตั้งสายดิน (Ground) ให้ได้มาตรฐาน
  • ใช้สายสัญญาณแบบมีสาย Shield
  • ใช้ Stabilizer หรืออุปกรณ์ป้องกันปัญหาทางไฟฟ้า

2. เสียงซ่า (Tape Hiss) : Tape Hiss เป็นลักษณะ “เสียงซ่า ๆ” คล้ายเสียง Pink Noise มักจะพบในเทป หรือในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นระบบอนาล็อก ที่เกิดจากการบันทึกเสียงด้วยเทปแม่เหล็ก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในสมัยก่อน ทำให้เกิดเสียงซ่ารบกวนแบบคงที่ตลอดเวลา

วิธีแก้

  • ใช้เอฟเฟค DSP หรือปลั๊กอินประเภท Noise Reduction เพื่อกรองเสียงซ่าที่ไม่ต้องการออก

 

สรุป

Noise เป็นสัญญาณไม่พึงประสงค์ที่ทำให้คุณภาพของเสียงลดลง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ หลากหลายที่มา ดังนั้นความเข้าใจในเรื่องรรรมชาติของสัญญาณรบกวนต่าง ๆ โดยสามารถแยกแยะได้ ว่า Noise แต่ละแบบเกิดจากอะไร และมีลักษณะอย่างไร เราก็จะสามารถ จัดการแก้ปัญหาของ Noise ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงจุด

 

ติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook AT Prosound

บทความ สัญญาณรบกวน (Noise) ในงานระบบเสียงที่ควรรู้จัก โดย : ณัฐพจน์ วิจารัตน์


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00
฿145.00
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น