เกร็ดความรู้ เรื่องโปรเซสเซอร์

ความรู้เรื่องโปรเซสเซอร์

ความรู้เรื่องโปรเซสเซอร์ | รวมบทความ “ความรู้เรื่องโปรเซสเซอร์” จาก AT Prosound เช่น บทความไกด์ไลน์ต่าง ๆ

ที่เป็นเกร็ดความรู้ไม่มากก็น้อย มาให้ชาว AT ทุกท่านได้อ่านกันครับ

ความรู้เรื่องโปรเซสเซอร์

 

 

สารบัญ

 

 

 

AES/EBU

 

เป็นพอร์ตเชื่อมต่อ รับ/ส่ง เสียงแบบดิจิตอล พบได้ในอุปกรณ์เสียงดิจิตอลแบบมืออาชีพ ใช้งานกับสายสัญญาณ Balanced (110 โอห์ม)

และ Unbalanced (75 โอห์ม) เท่านั้น

กลับสู่สารบัญ

 

 

 

ทำไมถึงต้องตัดครอส

ความรู้เรื่องโปรเซสเซอร์

 

ทำไมถึงต้องตัดครอส

การเลือกงานให้ตรงกับความสามารถของแต่ละคน ก็เหมือนการแบ่งความถี่ให้ดอกลำโพง ทำงานตรงกับความสามารถของดอกประเภทนั้น ๆ

ดอกแต่ละชนิดตอบสนองความถี่ได้ไม่เหมือนกัน บางครั้งการใช้งานในระบบใหญ่ๆ จึงต้องแยกความถี่

ความชันที่ตัดครอสก็มีผลต่อเสียง เสียงแหลมตัดชันมากได้ ลดการแทรกสอดเสียง เสียงต่ำตัดยิ่งชัน เสียงยิ่งแย่ เป็นอย่างไรนั้น

อ่านต่อได้ที่ : https://www.atprosound.com/crossover-slope/

กลับสู่สารบัญ

 

 

 

คอมเพรสเซอร์

ความรู้เรื่องโปรเซสเซอร์

 

คอมเพรสเซอร์

Compressor (คอมเพรสเซอร์) ทำหน้าที่กดสัญญาณเสียง ทำให้ระดับเสียงที่เบาที่สุด และดังที่สุดไม่ห่างกันเกินไป โดยการกดระดับเสียงที่ดังกว่า

ที่ได้กำหนดค่าของ Threshold ที่ตั้งเอาไว้ และชดเชยระดับเสียงที่เบาที่สุด ให้ดังขึ้นมาด้วย Make Up Gain ก็จะช่วยให้เสียงที่ออกมามีความหนักแน่น

และแข็งแรงมากขึ้น ไม่เกิดการสวิงของความดังนั่นเอง

กลับสู่สารบัญ

 

 

 

คอนเสิร์ตใหญ่ ทำไมใช้โปรเซสเซอร์หลายตัว

ความรู้เรื่องโปรเซสเซอร์

 

คอนเสิร์ตใหญ่ ทำไมใช้โปรเซสเซอร์หลายตัว

ระบบเล็ก ๆ ยังใช้โปรเซสเซอร์แค่ตัวเดียว แต่ทำไมงานคอนเสิร์ตใหญ่ ๆ ต้องใช้หลายสิบตัวทั้ง ๆ ที่เราตัดครอส 2-3 ทางเหมือนกัน

งานสเกลขนาดใหญ่ต้องใช้ลำโพงหลายตำแหน่ง ตำแหน่งละหลายใบ ถึงแม้จะตัดครอส 2 , 3 , 4 ทางเหมือนระบบเล็ก ๆ

แต่สิ่งที่ต้องปรับอีกปลีกย่อย คือ โทนเสียง ค่าดีเลย์ ลิมิเตอร์ ฯลฯ ที่ลำโพงแต่ละตำแหน่งแต่ละชนิดต้องการไม่เหมือนกัน

โปรเซสเซอร์ 1 เครื่องที่มี 6-8 Output จึงจัดการลำโพงได้แค่ส่วนเล็ก ๆ ในระบบทั้งหมด ถ้าต้องการควบคุมให้หมดแบบละเอียดจึงต้องใช้หลายเครื่องนั่นเอง

กลับสู่สารบัญ

 

 

 

DriveRack 

ความรู้เรื่องโปรเซสเซอร์

 

DriveRack 

หลายคนเรียกโปรเซสเซอร์เหมารวมกันว่า DriveRack (ไดร์ฟแร็ค) ซึ่งเป็นชื่อรุ่นหนึ่งของ dbx เพราะ dbx นั้นคนไทยคุ้นเคยดี

อยู่คู่วงการเครื่องเสียงไทยมานาน ถือว่าเป็นยุคเปลี่ยนผ่านจากเครื่องปรุงแต่งเสียง สู่โปรเซสเซอร์เลยก็ได้

ยุคหลัง ๆ มียี่ห้ออื่น ๆ มากมายที่ผลิตออกวางจำหน่ายในราคาที่เอื้อมถึง และคุณภาพดีด้วย

กลับสู่สารบัญ

 

 

 

คอมเพรสเซอร์ไม่ได้ใช้ยากอย่างที่คิด

ความรู้เรื่องโปรเซสเซอร์

 

คอมเพรสเซอร์ไม่ได้ใช้ยากอย่างที่คิด

เครื่องที่หลายคนเรียกรวม ๆ ว่า COMPRESSOR มีปุ่มมากมาย ใช้ยาก ที่จริง ๆ แล้วมีแค่ 3 ส่วนครับ

  • EXPANDER/GATE เปรียบเหมือนประตู ถ้าระดับสัญญาณมาไม่ถึง Gate ก็ไม่ปล่อยสัญญาณออก แล้วแต่จะตั้งไว้สูงเท่าไหร่ ช่วยตัดเสียงรบกวนได้อย่างดี
  • COMPRESSOR ใช้กดสัญญาณให้ลดลงเมื่อเกินค่าที่ตั้ง แต่กดลงแบบบีบอัดระดับความดัง ไม่ได้ตัดสัญญาณไปเลย โดยจะมีอัตราส่วนการบีบอัดให้ตั้งค่า
  • LIMITER ใช้รักษาระดับสัญญาณด้านขาออกให้มีความแรงสูงสุดไม่เกินค่าที่ตั้งไว้ เช่นตั้งไว้ 0dB สัญญาณขาออกก็จะไม่เกินนี้ ตั้งไว้เท่าไหร่ ออกไม่เกินเท่านั้น

พูดง่าย ๆ คืออุปกรณ์นี้ ใช้รักษาระดับความดังของสัญญาณเสียง ให้ไม่ดังเกิน ไม่เบาเกิน และตัดเสียงรบกวนนั่นเองครับ

กลับสู่สารบัญ

 

 

 

วิธีคำนวณตั้งค่าลิมิเตอร์ใน DSP

ความรู้เรื่องโปรเซสเซอร์

 

วิธีคำนวณตั้งค่าลิมิเตอร์ใน DSP

“ดอกลำโพงขาด ลิมิตเตอร์ใน DSP ช่วยได้ ปัญหาหนักใจจะหมดไป”

เพียงแค่เราใช้ Limiter ที่อยู่ในครอสโอเวอร์ดิจิตอล และปรับแอมป์ให้ถูก นำค่าวัตต์ลำโพงมาคิด

ตั้งค่าลิมิตเตอร์มี 2 ชนิด คือแบบ Rms และ Peak ทำได้ง่าย ๆ เพียงใช้แอป Pacalculate ไปดูกันครับ

กลับสู่สารบัญ

คอมเพรสเซอร์ เกท และ ดีเอสเซอร์

SSL XLogic 1U Series Stereo Compressor

฿153,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

คอมเพรสเซอร์ เกท และ ดีเอสเซอร์

SSL XLogic Alpha VHD Pre

฿58,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เอฟเฟค และ โปรเซสเซอร์

SSL Fusion

฿76,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

คอมเพรสเซอร์ เกท และ ดีเอสเซอร์

SSL Xlogic Alpha Channel

฿45,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

เอฟเฟค และ โปรเซสเซอร์

TC Electronic FINALIZER 96K

฿79,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ปรีไมโครโฟน

Empirical Labs Distressor EL8-X

฿103,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เอฟเฟค และ โปรเซสเซอร์

Rupert Neve Designs 5051

฿94,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เอฟเฟค และ โปรเซสเซอร์

SSL 500 Series Bus Compressor

฿45,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

คอมเพรสเซอร์ เกท และ ดีเอสเซอร์

SSL THE BUS+

฿99,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

โปรเซสเซอร์

Black Lion Audio Bluey

฿39,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

คอมเพรสเซอร์ เกท และ ดีเอสเซอร์

Lindell Audio LiN2A

฿29,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

โปรเซสเซอร์

Behringer FX2000

฿5,850.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

4 Filter ที่ควรรู้ก่อนมิกซ์เสียง

ความรู้เรื่องโปรเซสเซอร์

4 Filter ที่ควรรู้ก่อนมิกซ์เสียง

Filter ในการมิกซ์เสียงจะใช้งานกันหลัก ๆ อยู่ 4 แบบ เรียกได้เป็นพื้นฐานของการปรับ EQ เลยก็ว่าได้ครับ

– High Pass Filter การให้ความถี่ย่านเสียงสูงผ่านไปได้
– Low Pass Filter การให้ความถี่ย่านเสียงต่ำผ่านไปได้
– Band Pass Filter ยอมให้ความถี่เสียงย่านใดย่านหนึ่งผ่านไปได้
– Band Stop Filter การเอาความถี่เสียงย่านที่ไม่กำหนดหรือไม่ต้องการออกไป หรือการคัท การบูสท์ ความถี่เสียงนั่นเอง

ซึ่ง Filter เหล่านี้จะถูกนำไปปรับแต่งเป็น EQ และโทนเสียงต่างๆ ตามการออกแบบเสียงของเราได้เลยครับ

กลับสู่สารบัญ

 

พื้นฐานการตัดครอส 2 way และ 3 way เบื้องต้น

ความรู้เรื่องโปรเซสเซอร์

พื้นฐานการตัดครอส 2 way และ 3 way เบื้องต้น

การตัดครอสเบื้องต้น 2ทาง 3ทาง ง่ายและถูกหลัก

การตัดครอสคือการแบ่งช่วงความถี่แคบๆ ให้ลำโพง ซับ กลาง แหลม ทำงานแยกกัน ให้ความถี่เหมาะสมกับลำโพงมากที่สุด การตัดครอส ต้องคำนึงถึงสเปคลำโพงด้วย ถ้าเป็นตู้ลำโพงประกอบเอง อาจจะต้องใช้โปรแกรมวัดความถี่เข้ามาช่วยหาจุดตัดความถี่ที่เหมาะสมของตู้ครับ

อ่านความรู้เพิ่มเติมได้ที่ www.atprosound.com/basic-crossover-cutting/

กลับสู่สารบัญ

 

ความชันตัดครอสมีผลต่อเสียง ตัดอย่างไรให้ดี

ความรู้เรื่องโปรเซสเซอร์

ความชันตัดครอสมีผลต่อเสียง ตัดอย่างไรให้ดี

หากตัดครอสแล้วเดินเข้าไปใกล้ลำโพง เสียงต่ำจากลำโพงจะมาก่อนเสียงกลางแหลม

– ถ้าตัดความชันน้อย เสียงตรงจุดตัดจะทำงานร่วมกันเยอะ กล่าวคือ ซับก็ผลิตความถี่นี้ กลางก็ผลิตความถี่นี้ มีความเนียน แต่ก็จะเฟสชิปได้ง่าย

– เมื่อตัดชันมากๆ เสียงที่จุดตัดความถี่ของทั้ง 2 แหล่งกำเนิดทำงานร่วมกันน้อย ก็จะรู้สึกได้ว่าเสียงไม่ค่อยกวนกัน แต่ตัดครอสชันมากก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไป

เพราะธรรมชาติเสียงจะเดินทางด้วยความเร็วที่เท่ากันทุกๆความถี่ เมื่อมีความถี่เสียงใดมาไม่พร้อมกัน ครอสโอเวอร์แบบ IIR Filter ก็จะเกิด Group delay คือ ความหน่วงช้าของกลุ่มความถี่ ด้วยเหตุนี้จึงนิยมใช้ความชันสูงๆกับเสียงความถี่สูง และไม่นิยมตัดความชันสูงๆ ที่ความถี่ต่ำนั่นเองครับ

อ่านความรู้เพิ่มเติมที่ https://www.atprosound.com/crossover-slope/

กลับสู่สารบัญ

 

Phase Shift คืออะไร

ความรู้เรื่องโปรเซสเซอร์

Phase Shift คืออะไร

Phase shift (เฟสชิพ) ที่พูดกัน..แท้จริงแล้วคืออะไรกันแน่

คำว่า เฟส (Phase) เอาไว้เรียกลูกคลื่นที่กำเนิดตามเวลา แต่เฟสนั้นเกิดขึ้นได้หลายแบบ เฟสชิพ (Phase shift) มักเกิดขึ้นจากการตัดครอสด้วยความชันที่ยังไม่เหมาะสมกับลำโพง ส่งผลอะไรบ้าง ไปอ่านกันครับ

กลับสู่สารบัญ

 

In phase vs Out of phase ต่างกันอย่างไร

ความรู้เรื่องโปรเซสเซอร์

In phase vs Out of phase ต่างกันอย่างไร

“ติดปากกับความว่า..กลับเฟส..อาการเป็นไงไปดูกัน”

เฟส (Phase) กับระบบเสียงคู่กันแบบที่เรียกว่าไปไหนไปด้วยเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะการต่อสายลำโพงจะมีผลเรื่อง ถูกเฟส กลับเฟส และเรื่อง เฟส (Phase) จะมีผลต่อเสียงอย่างไรไปดูกันครับ

กลับสู่สารบัญ

 

ความแตกต่างของ Filter IIR กับ FIR

ความรู้เรื่องโปรเซสเซอร์

ความแตกต่างของ Filter IIR กับ FIR

“ความแตกต่างของ Filter ยอดนิยม”

เทคโนโลยีในโปรเซสเซอร์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันก็คงไม่พ้น IIR กับ FIR ไปดูว่ามันต่างกันอย่างไร อะไรน่าใช้กว่ากันครับ

กลับสู่สารบัญ

 

#ส่งต่อคุณภาพเสียงส่งต่อความสุข

เข้าชมบทความอื่นๆ จาก AT Prosound

ติดตามเพจ AT Prosound


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿35.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿36.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿185.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿42.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿42.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿36.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น