เกร็ดความรู้ เรื่องเพาเวอร์แอมป์

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

ความรู้เพาเวอร์แอมป์ | รวมบทความ “ความรู้เพาเวอร์แอมป์” จาก AT Prosound เช่น บทความรีวิว, บทความเปรียบเทียบสินค้า เป็นต้น ที่เป็นเกร็ดความรู้ไม่มากก็น้อย มาให้ชาว AT ทุกท่านได้อ่านกันครับ

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

สารบัญ ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

เพาเวอร์แอมป์แบบหม้อแปลง กับสวิตซ์ชิ่ง ความรู้เพาเวอร์แอมป์

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

เพาเวอร์แอมป์แบบหม้อแปลง กับสวิตซ์ชิ่ง

หม้อแปลง ทำงานโดยใช้ขดลวด Stepdown ไฟฟ้า 220V AC แล้วผ่านวงจรเรียงกระแส
สวิตซ์ชิ่ง ทำงานโดยแปลงไฟฟ้าเป็นกระแสตรง แล้วสวิตซ์ด้วยหม้อแปลงสวิตซ์ชิ่งให้เกิดความถี่สูง

กลับหน้าสารบัญ
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿18,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿4,450.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

เพาเวอร์มิกเซอร์

myNPE GT-850

฿7,990.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿18,400.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

เพาเวอร์มิกเซอร์

myNPE GT-4500

฿9,890.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

 

เพาเวอร์แอมป์ Class TD

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

เพาเวอร์แอมป์ Class TD

มีการทำงานโดยใช้วงจรภาคขยาย Class AB และใช้ภาคจ่ายไฟเป็น Switching หรืออันที่จริงเป็นแบบหม้อแปลงก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะใช้ Switching มากกว่าเพราะมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา

แต่เทคโนโลยีของ Class TD คือ เพิ่มวงจรตรวจสอบสัญญาณขาเข้าก่อน แล้วนำไปกำหนดแรงดันไฟเลี้ยงในภาคขยาย ดังนั้นแอมป์ Class TD จึงไม่ร้อนเท่ากับ Class AB เพราะไฟเลี้ยงไม่ได้แช่อยู่ที่ภาคขยาย Transistor ตลอดเวลา

เพาเวอร์แอมป์ Class TD จึงมีขนาดตัวถังที่เล็ก กำลังวัตต์สูง เพราะไฟไม่ตกค้างในอุปกรณ์ ความร้อนน้อย และ Transistor ทำกำลังได้เยอะ ที่สำคัญเสียงดีเพราะใช้ภาคขยายแบบ Class AB จึงเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน

กลับหน้าสารบัญ

 

Full-Range

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

Full-Range 

การต่อระบบเสียง 2ทาง, 3ทาง เป็นอย่างไร ? วิธีการต่อดังภาพ

กลับหน้าสารบัญ

 

โหมด Bridge ในพาวเวอร์แอมป์

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

โหมด Bridge ในพาวเวอร์แอมป์

การบริดจ์แอมป์ คือการเพิ่มกำลังขับโดยให้ภาคขยายซีกซ้ายและขวาทำงานร่วมกัน โดยมีวงจรบาลานซ์สัญญาณ Input ให้แบ่งคลื่นซีกบวกและซีกลบออกจากกัน ส่งเข้าภาคขยายให้ทำงานขยายสัญญาณคนละซีก แล้วนำสัญญาณ Output มาอนุกรมกัน ได้กำลังเพิ่ม แต่แอมป์จะเป็นโมโน

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

กลับหน้าสารบัญ

 

Volume แอมป์

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

Volume แอมป์

“หมุนไว้กี่โมง ถึงจะดี” คำตอบคือ..ต้องคำนึงถึง Gain Structure หรือการบาลานซ์อัตราการขยายเสียงของอุปกรณ์ทั้งระบบอย่าง มิกเซอร์ ครอสโอเวอร์ ฯลฯ จะทำให้อุปกรณ์ทุกตัว ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคนิคง่ายๆ สำหรับคนที่คำนวณไม่เป็น คือดูที่ไฟสเกล เช่น เมื่อเร่งความดังที่มิกเซอร์จนถึงไฟสถานะสีเขียวแตะเหลือง ก็ต้องให้อุปกรณ์ทุกตัว ที่ถูกต่อจากมิกเซอร์(ครอสโอเวอร์, เพาเวอร์แอมป์) มีไฟสถานะสีเขียวแตะเหลืองเช่นกัน ถ้าทำแบบนี้แล้ว จะไม่มีเสียงแตกพร่า และเสียง Noise รบกวน

ส่วนใหญ่ที่บิดโวลลุ่มสุด เพราะด้านหลังแอมป์ มีตัวกำหนด Sensitivity ให้เหมาะสมกับระดับสัญญาณที่จ่ายเข้ามา รวมถึงตัวแปรต่างๆ เช่น ความพอดีของวัตต์ดอกกับแอมป์ การตั้ง VPL ที่ถูกต้อง

กลับหน้าสารบัญ

 

สูตรคำนวณปรับ VPL

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

สูตรคำนวณปรับ VPL

ปรับ VPL หลังแอมป์ยังไง ถึงจะช่วยป้องกันดอกลำโพงขาด ไฟไม่เกิน

ยกตัวอย่างเช่น ใช้ลำโพง 8 โอห์ม 4,800 วัตต์พีค 2 ดอก ก็เข้าสูตร

VPL = √(4,800 x 2 x 4)

VPL = 195 V ก็ปรับดิฟสวิตซ์ที่ 195 ได้เลย

กลับหน้าสารบัญ

 

ใช้หลอดไส้คั่นแอมป์

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

ใช้หลอดไส้คั่นแอมป์

“เสียบตรงๆ จะระเบิดหรือเปล่า ไม่มั่นใจ”

เวลาแอมป์เสีย หรือซ่อมเสร็จแล้วอยากทดสอบ แต่กลัวจะระเบิด ช่างเทคนิคมักใช้วิธีง่ายๆ คือการนำหลอดไฟแบบไส้ 220V มาต่ออนุกรมดังรูป เพื่อทดลองเปิดใช้งานแอมป์ดูก่อนต่อตรง

– ถ้าแอมป์ปกติดี หลอดไฟจะสว่างน้อย เพราะมีความต้านทานที่แอมป์มาก

– ถ้าแอมป์ไม่ปกติ หลอดไฟจะสว่างมาก เพราะมีความต้านทานที่แอมป์น้อย

วิธีนี้ยังสามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้หลายชนิด เป็นวิธีที่ช่างซ่อมใช้กันมานานแล้ว

กลับหน้าสารบัญ

 

Power Factor Correction

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

Power Factor Correction

“แอมป์ตัวนี้มี PFC ด้วย” ที่ผู้ผลิตหลายค่ายเอามาเป็นจุดขาย 

วงจร Power Factor Correction (PFC) จะรักษาแรงดันที่ไปเลี้ยงภาคขยายให้สม่ำเสมอตลอด แม้ไฟที่จ่ายเข้าแอมป์จะตก หรือจะเกินจาก 220V ส่งผลให้เสียงไม่วูบวาบ กำลังวัตต์คงที่ และที่สำคัญสามารถใช้แอมป์ได้แม้ไฟตก

จากวงจรในรูป จะมีการตรวจสอบไฟขาออกแล้วส่งค่ามาให้ตัวปรับแรงดันไฟ

– เมื่อไฟไม่พอวงจรจะเพิ่มไฟเข้าไป

– เมื่อไฟเกินวงจรจะตัดไฟออก

รักษาแรงดันที่ตัวเก็บประจุให้คงที่อยู่ตลอด

กลับหน้าสารบัญ

 

ปุ่ม Volume หน้าแอมป์

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

ปุ่ม Volume หน้าแอมป์ 

ทำหน้าที่ปรับ Gain Input ไม่ใช่หมุนสุดแล้วจะได้กำลังวัตต์มากที่สุด

ประโยชน์ของปุ่ม คือ ช่วยบาลานซ์ระดับสัญญาณที่เข้ามาในแอมป์ ที่เห็นระบบใหญ่ๆ บิดสุดนั้น เป็นเพราะใช้แอมป์หลายเครื่อง แล้วเขาจะจัดการระดับสัญญาณที่เข้ามาในแอมป์แต่ละตัว แทนที่จะหมุนปุ่มหน้าแอมป์แบบไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายกว่ามาก ไม่ต้องจดค่า Volume หน้าแอมป์แต่ละตัว

ทริคเล็กน้อยสำหรับระบบง่ายๆ คือให้ดูความสัมพันธ์ของ VU แอมป์กับ VU อุปกรณ์ที่นำมาต่อก่อนเข้าแอมป์ ให้บิด Volume จนไฟ VU ขึ้นเท่ากัน และ Clip ไปพร้อมกัน จะทำให้ได้การบาลานซ์ที่พอใช้ได้ในระดับหนึ่ง

แต่ถ้าหน้าแอมป์ไม่มีไฟบอกสถานะให้สังเกตเวลาใช้งานถ้า Power ขึ้น clip แล้ว Vu มิกซ์ยังเหลือเยอะ สามารถลดที่หน้า power ลงได้

กลับหน้าสารบัญ

 

จริงหรือไม่ แอมป์ clip แล้วเสียงเพี้ยน

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

จริงหรือไม่ แอมป์ clip แล้วเสียงเพี้ยน

เหตุผลที่ไม่แนะนำให้ดันจน Clip ที่ทำให้ดูเหมือนเสียงดังขึ้น แต่ต้องแลกกับสิ่งที่ตามมาคือ “ความเพี้ยน”

เมื่อใช้ลำโพงจำนวนน้อย ไม่พอกับขนาดของงาน หรือใช้แอมป์วัตต์น้อยกว่าลำโพงมากๆ ผลที่ตามมาคือเสียงดังไม่พอและบางคนอาจแก้โดยการเร่งแอมป์จนคลิป

ซึ่งความจริงแล้ว แอมป์มีข้อจำกัดในการขยาย เมื่อขยายสัญญาณระดับใกล้แตะเพดานความสามารถแล้วเรายิ่งเร่งแอมป์ให้มากขึ้น สัญญาณจะถูกยกระดับไปทั้งลูกคลื่น และถูกตัดยอดสัญญาณออกไป ส่งผลให้เสียงออกมาบี้แบนไม่ธรรมชาติ

วิธีแก้ที่ดีกว่าในเรื่องความดังไม่พอให้เลือกใช้แอมป์ให้เหมะกับลำโพง และใช้จำนวนลำโพงให้เหมาะกับขนาดของงาน จะไม่เสียทั้งความดังและความเพี้ยน ทั้งยังถนอมลำโพงไม่ให้พังง่ายอีกด้วย

กลับหน้าสารบัญ

 

EEEngine แอมป์ก่อนยุคคลาส TD

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

EEEngine แอมป์ก่อนยุคคลาส TD

YAMAHA ออกแบบวงจรให้แอมป์ NEXO เป็นวงจรแบบใหม่ที่มีความทันสมัย ก่อนจะมาเป็นคลาส TD HD ในสมัยนี้

เพาเวอร์แอมป์ EEEngine ถูกออกแบบมาเพื่อเเก้ปัญหาความร้อนของทรานซิสเตอร์ในคลาส AB โดยเพิ่มชุดควบคุมแรงดันไฟให้ตรงกับสัญญาณเสียง

ในรูปเป็น NEXO NXAMP 4X4 มี ตัวเครื่องหนา 4 U มี DSP ในตัว ขับได้ถึง 2 Ohm

– 3,300@4 Ohm/แชนแนล

– 4,000@2 Ohm/แชนแนล

กลับหน้าสารบัญ

 

สินค้า MARANI

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

สินค้า MARANI

สินค้าในภาพราคาเริ่มต้นที่ราคาหลักพันจนถึงราคาเกือบแสนบาท ความแตกต่างของราคาคือ

– ตัวท็อปอย่าง LPP480F 4 in 8 out มี FIR พร้อม Dante เชื่อมต่อระบบด้วยสายแลน ความละเอียด 24bit -96kHz

– ตัวเริ่มต้น DPA 260P 2 in 2 out filter แบบ IIR ความละเอียด 24bit -48kHz

เพราะฉะนั้นต้องเลือกตามความต้องการใช้งาน

กลับหน้าสารบัญ
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

Marani DPA 260RTA

฿13,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้ามีรุ่นทดแทน
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

Marani DPA260P

฿10,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

Marani MIR260A

฿16,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

Marani MIR480A

฿21,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

dB MARK DP26+

฿9,300.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

VL AUDIO V-DSP LM-26F

฿24,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

Marani DPA480P

฿20,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

Symetrix Prism 4×4

฿106,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

MARANI DPA260P+

฿10,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

dB MARK XCA26+

฿9,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

BOSE CSP-1248

฿86,240.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

Symetrix Prism 8×8

฿137,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

 

แอมป์มีสิทธิ์พัง ถ้าทำแบบนี้!!

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

แอมป์มีสิทธิ์พัง ถ้าทำแบบนี้!!

ที่จัมป์ขั้วหากัน เพราะหวังว่าจะให้นำกระแสได้ดีขึ้น ที่จริงแล้วอาจทำให้เกิดหายนะต่อเพาเวอร์แอมป์ได้ถ้าต่อผิด

เพราะแอมป์สมัยใหม่ที่มีขั้วลำโพงเป็น Speakon นิยมทำ 1 Speakon/ 2 CH out เพื่อให้ง่ายกับการต่อระบบสร้างมาไว้ให้ใช้กับสาย 4 คอร์ แต่ถ้าเกิดไปจัมป์กันดังรูป Output ของแอมป์จะชนกันและพังได้ง่าย

กลับหน้าสารบัญ

 

Pin Speakon in Powersoft

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

Pin Speakon in Powersoft

แอดมินต้องขออภัยด้วยครับ

พึ่งทราบว่า Powersoft ก็มีการขนาน Pin Speakon ด้วย

ขอบคุณความรู้ดีๆ จากเพจพี่แจ็คด้วยครับ

แต่การใช้สายแบบนี้ก็ต้องระวังมากๆ เวลาไปใช้กับแอมป์อื่นๆ นะครับ

เช่น แอมป์ Labb gruppen จากสวีเดน, แอมป์ Qsc จากอเมริกา, แอมป์ Nexo จากฝรั่งเศษ และแอมป์แบรนด์อเมริกา& ยุโรปอีกมากมาย ที่ต่อไปแล้ว อาจเกิดการช๊อตได้ ทางที่ดีควรศึกษาคู่มือดีที่สุด

กลับหน้าสารบัญ

 

เทียบ 3 รุ่น แอมป์ต่าง เสียงต่าง

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

เทียบ 3 รุ่น แอมป์ต่าง เสียงต่าง

เทียบแบบใบเดียว..ฟังไม่ชัดเท่ากับระบบใหญ่ๆ

ถ้าลองใช้ขับเบส ความรู้สึกที่ได้ 

– VL14000 นุ่มลึก

– Cyber 14D แน่นกระแทก

– Mega 9002 โลว์มามากกว่าเพื่อน

เมื่อแอมป์ทำความดังสูงจะทำให้สามารถฟังเสียงของแต่ละแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ชัดเจน

กลับหน้าสารบัญ
สินค้าตกรุ่น
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

 

รู้หรือไม่ กราวด์ลูป แก้ได้ไม่ยาก

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

รู้หรือไม่ กราวด์ลูป แก้ได้ไม่ยาก

ทุกคนที่ทำระบบเสียงส่วนใหญ่จะเจอกับอาการเสียง ฮัม จี่ ออกลำโพง มีหลายสาเหตุ คือ

– ไม่ได้ลงกราวด์ หรือปลั๊กไฟไม่มีกราวด์

– ลงกราวด์แล้ว แต่ลงหลายจุด ความต้านทานที่ไหลลงกราวด์ จะเกิดความต่างศักย์แต่ละจุดไม่เท่ากัน เกิดกระแสไหลระหว่างกราวด์ เรียกว่า กราวด์ลูป (Loop) แต่ในปัจจุบัน เพาเวอร์แอมป์จะมีสวิตช์ LIFT/GROUND อยู่หลังเครื่อง ทำหน้าที่แยกกราวด์ของแท่นเครื่องและวงจรให้ออกจากกัน ช่วยลดปัญหากราวด์ลูปได้ง่าย

กลับหน้าสารบัญ

 

ใช้แอมป์กี่วัตต์จึงขับดอกได้เต็มสุด

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

ใช้แอมป์กี่วัตต์จึงขับดอกได้เต็มสุด

อยากประหยัดงบซื้อแอมป์ แต่อยากให้ขับดอกได้เต็มประสิทธิภาพสุด อย่างน้อยวัตต์ “Rms แอมป์” ต้องมากกว่าวัตต์ “Rms ดอก” 2 เท่า เช่น ใช้ดอก 1,000 WRms แอมป์ต้อง 2,000 WRms ขึ้นไป

ทำไมถึงต้องใช้กำลังวัตต์เกินขนาดนั้น? วัตต์ Rms อาจจะเกิน แต่วัตต์ Peak จะเท่ากันพอดี

ดอกลำโพงมีวัตต์ 3 ค่า

– Rms = 1,000 W

– Program = 2,000 W

– Peak = 4,000 W

แต่แอมป์มีวัตต์ 2 ค่า

– Rms = 2,000 W

– Peak = 4,000 W

ขับสุดดอก คือการทำกำลังได้สูงสุดชั่วขณะ จึงต้องดูค่าวัตต์พีค ไม่ใช่วัตต์อาร์เอ็มเอส Wartech Cyber 14D กำลัง 4,400 W@4Ohm จะขับดอกที่มีวัตต์ = 1,100 Watt ข้างละ 2 ดอกแบบสุดดอกได้

กลับหน้าสารบัญ

 

Gain เพาเวอร์แอมป์

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

Gain เพาเวอร์แอมป์

หลายคนที่ใช้เพาเวอร์แอมป์แล้วเกิดปัญหาแอมป์ Peak ก่อนมิกเซอร์ ส่วนใหญ่จะมาจากเกนของเพาเวอร์ที่แรงเกินไป การปรับเกนที่แม่นยำและให้ได้ประสิทธิภาพต้องอาศัยการคำนวน วิธีในการปรับตั้งเกนเพาเวอร์แบบง่ายๆ ดังภาพด้านล่าง

 

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

กลับหน้าสารบัญ
สินค้ามีรุ่นทดแทน
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿6,990.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้ามีรุ่นทดแทน
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿3,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿28,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿622,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿134,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿2,480.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿25,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

 

Beta Three DT series

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

Beta Three DT series

เมื่อเทียบเสียงกับราคาแล้ว เป็นแอมป์ที่เสียงดีและราคาไม่แพง
เป็นคลาส D วัตต์สูง ที่สำคัญ คือ ความทน

รุ่นแรก DT-4000 2,500W ต่อข้าง ที่ 4 โอม
ราคา 13,900 บาท

หรือเป็นรุ่นที่ราคาประหยัดลงมา ขับกลางแหลมก็ DT2000 1,500W ต่อข้าง ที่ 4 โอม
ราคา 11,900 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติม รุ่นอื่นๆ คลิกดูได้ที่ BETA THREE DT

กลับหน้าสารบัญ

 

แอมป์หลอด แอมป์ Solid state ต่างกันอย่างไร

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

 

แอมป์หลอด แอมป์ Solid state ต่างกันอย่างไร

“แอมป์หลอดเสียงดีมากแต่กำลังน้อย แอมป์ Solid State เสียงใช้ได้กำลังเยอะ”

บุคลิกเสียงนั้นแตกต่างกันอย่างชัดเจน แอมป์หลอดเกิดขึ้นมาตั้งแต่ที่ระบบเสียงแบบ Hi-Fi Stereo ยังไม่เกิดและดูเหมือนจะไม่มีวิวัฒนาการไปได้ไกลกว่านี้ แต่แอมป์ Solid State ยังสามารถพัฒนาต่อไปได้แบบไม่สิ้นสุด ยิ่งปัจจุบันอยู่ในยุคของเทคโนโลยีดิจิตอลด้วยแล้ว จึงทำให้มีความก้าวหน้าต่อไปทางด้านเทคโนโลยีได้อีกมากอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

กลับหน้าสารบัญ

 

มารู้จักเทคนิค…ก่อนการเลือกใช้เพาเวอร์แอมป์

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

มารู้จักเทคนิค…ก่อนการเลือกใช้เพาเวอร์แอมป์

– เลือกเพาเวอร์แอมป์ให้เหมาะกับสเปคลำโพง ควรเลือกกำลังวัตต์สูงสุดไม่เกินค่า Peak ของลำโพง
– หลีกเลี่ยงการใช้เพาเวอร์แอมป์ ที่มีกำลังวัตต์น้อยกว่าลำโพงโดยเด็ดขาด
– เลือกใช้เพาเวอร์แอมป์ ที่ให้คุณภาพเสียงที่ดี และมีประสิทธิ มีระบบระบายความร้อนที่ดี มีวงจรป้องกันความเสียหายต่อระบบ และต่อดอกลำโพง
– หาข้อมูล ศึกษาสเปคให้ดีเสียก่อน
– ก่อนซื้อแนะนำให้ทดสอบการใช้งาน และทดลองฟังเสียงด้วยตัวเราเอง

การเลือกเพาเวอร์แอมป์ไม่ใช่ดูแค่ตัวเลขสเปค เราต้องฟังเสียงด้วย ให้ได้ยินเสียงที่มีความคมชัด มีน้ำหนัก ให้รายละเอียด ตอบสนองความถี่ต่ำสอดคล้องกับสเปคของลำโพงตัวนั้น แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนเลยครับ

กลับหน้าสารบัญ

 

คลาสของเพาเวอร์แอมป์ ต่างกันอย่างไร?

ความรู้เพาเวอร์แอมป์

คลาสของเพาเวอร์แอมป์ ต่างกันอย่างไร?

มาทำความรู้จักเบื้องต้น และเป็นพื้นฐานเรื่อง “คลาส” ของเพาเวอร์แอมป์ที่เราคุ้นเคยและใช้กันทั่วไปว่าจะมีจุดเด่นจุดด้อยต่างกันอย่างไร ไปดูกันครับ

– คลาส A เน้นเรื่องคุณภาพเสียง ค่าความเพี้ยนที่ตํ่ามากๆ เสียงรบกวนน้อย แต่ข้อด้อย คือ มีความร้อนสูง และกำลังขับน้อย
– คลาส AB เสียงดี กำลังขับมากกว่า คลาส A และเกิดความร้อนน้อยกว่า สามารถนำไปขับได้ทั้งเสียงกลางและแหลม หรือซับขับได้
– คลาส D จำกัดการทำงานที่ความถี่ค่อนข้างต่ำ จึงเหมาะกับการนำไปขับซับมากกว่า และความร้อนต่ำ ทำให้ไม่สูญเสียกำลังขับในเรื่องความร้อน
– คลาส H ดีตรงที่ความร้อนน้อยกว่า คลาส A, AB และเพิ่มภาคจ่ายไฟที่สามารถปรับแรงดันได้ ใช้แหล่งจ่ายไฟตั้งแต่ 2 ระดับขึ้นไป จุดเด่นคือ เมื่อเปิดวอลลุ่มเบา หรือน้อยก็จะใช้ไฟน้อยเมื่อเปิดดังก็จะใช้ไฟมาก
– คลาส TD เป็นวงจรขยาย Class AB บวกกับภาคจ่ายไฟแบบ Switching ทำให้มีน้ำหนักเบา ความร้อนลดลงแน่นอน เพราะไฟเลี้ยงไม่แช่อยู่ในตัว output transistor และได้ efficiency ที่ดีถ้าสัญญาณมาพีคมากๆ เอาอยู่แน่นอน

คลาสของเพาเวอร์แอมป์ แต่ละคลาส มีจุดเด่น และข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งานของแต่ละคนเลยครับ

กลับหน้าสารบัญ
ทำไมโวลต์ไลน์ถึงส่งสัญญาณได้ไกลมาก
ความรู้เพาเวอร์แอมป์
ทำไมโวลต์ไลน์ถึงส่งสัญญาณได้ไกลมาก

ระบบโวลต์ไลน์ (Volt Line) หรือ ระบบเสียงตามสาย เป็นระบบไฮท์อิมพิแดนซ์ (Hi-Z) จำเป็นต้องใช้เพาเวอร์แอมป์ที่จ่ายเอาท์พุตเป็นไลน์ ส่วนใหญ่จะเป็น 25V , 70V , 100V ซึ่งเราสามารถเลือกใช้งานให้แมทช์กับระยะทางที่เราจะลากสายลำโพงได้

หลักการที่ทำให้ส่งสัญญาณให้ไกลได้มากยิ่งขึ้น คือ การเพิ่มแรงดัน (Step Up) ที่เพาเวอร์แอมป์ให้แรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น เพื่อให้ส่งสัญญาณได้ไกลขึ้น เมื่อเพิ่มแรงดันสัญญาณสูงขึ้นทำให้เดินสายลำโพงได้ไกลจนถึงลำโพงแล้ว ที่ตัวลำโพงก็จะมีหม้อแปลงลดแรงดัน (Step Down) เพื่อให้แรงดันไฟฟ้าแมทช์กับดอกลำโพง เมื่อแรงดันสูงขึ้นกระแสไฟฟ้าก็จะลดลงทำให้ระบบโวลต์ไลน์จึงไม่จำเป็นต้องมีสายลำโพงที่มีขนาดใหญ่ เพราะมีกระแสไฟฟ้าผ่านน้อย

ระบบโวลต์ไลน์ มีข้อดีคือ สามารถต่อพ่วงลำโพงได้มากสามารถเดินสายยาวๆได้ และมีข้อเสียของระบบโวลต์ไลน์ เสียงจะสู้ระบบโอห์มไม่ได้ มีความถี่บางความถี่ผิดเพี้ยนและขาดหายไปนั้นเองครับ

อ่านความรู้เพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2Z2PSyH

กลับหน้าสารบัญ

 

#ส่งต่อคุณภาพเสียงส่งต่อความสุข

เข้าชมบทความอื่นๆ จาก AT Prosound

ติดตามเพจ AT Prosound


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น