อิมพิแดนซ์ของการต่อลำโพง

Speaker connection impedance

speaker connection impedance อิมพิแดนซ์ของการต่อลำโพง

คำถามที่พบบ่อยในวงการเครื่องเสียงของผู้ที่เริ่มหัดเล่นเครื่องเสียงเกี่ยวกับการต่อลำโพง “พ่วงลำโพง 2 ตู้เท่ากับกี่โอห์ม”, “ต่อแบบนี้ได้กี่โอห์ม”
วันนี้เราจึงจะมาอธิบายเรื่องการการต่อพ่วงลำโพง อันดับแรกเรามารู้จักกับคำว่า อิมพิแดนซ์ก่อน อิมพีแดนซ์ คือ ค่าความต้านทานในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับที่มีผลต่อเฟสทางไฟฟ้า
ใช้สัญญาณลักษณ์อักษรย่อเป็นตัว Z มีหน่วยเป็น โอห์ม (Ω) เราจึงแทนอักษรของลำโพงด้วย Z

 

การต่อลำโพง connection impedance แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ แบบอนุกรม(Series) แบบขนาน (Parallel) และ แบบผสม (Series-Parallel)

1. การต่อแบบอนุกรม (Series)

การต่อแบบอนุกรมคือการต่อลำโพงโดยเอาขั้วบวกไปต่อกับขั้วลบของลำโพงดอกถัดไปเรื่อยๆ การต่อแบบอนุกรมนั้นมีผลทำให้อิมพิแดนซ์รวมเพิ่มขึ้น

รูปตัวอย่างการต่อลำโพงแบบอนุกรมกัน 4 ดอก

 

วิธีการคำนวนได้จากสมการ ZT(อิมพิแดนซ์รวม) = Z1 + Z2 + Z3 ….+ Zn  หรือ พูดง่ายๆ นำอิมพิแดนซ์ของดอกลำโพงมารวมกันได้เลย
คำนวนจากรูป
                        มีดอกลำโพง 4 ดอก ดอกที่ 1 มีค่าอิมพิแดนซ์ 8 โอห์ม , ดอกที่ 2 มีค่าอิมพิแดนซ์ 8 โอห์ม , ดอกที่ 3 มีค่าอิมพิแดนซ์ 4 โอห์ม , ดอกที่ 4 มีค่าอิมพิแดนซ์ 4 โอห์ม
อิมพิแดนซ์รวม = 8 + 8 + 4 + 4
อิมพิแดนซ์รวม = 24 โอห์ม

 

2. แบบขนาน (Parallel)

การต่อแบบขนานคือการต่อลำโพงโดยเอาขั้วบวกต่อกับขั้วบวก ขั้วลบต่อขั้วลบ โดยการต่อแบบขนานนั้นมีผลทำให้อิมพิแดนซ์รวมลดลง

รูปตัวอย่างการต่อลำโพงแบบขนานกัน 4 ดอก

 

วิธีการคำนวนได้จากสมการ 1/ZT(อิมพิแดนซ์รวม) =  (1/Z1 ) + (1/Z2 ) + (1/Z3 )……(1/Zn )  การคำนวณแบบขนานจะค่อนข้างยากเพราะมีเศษส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่กรณีที่ทุกดอกมีอิมพิแดนซ์เท่ากันสามารถนำค่าอิมพิแดนซ์มาหารจำนวนดอกได้เลย
คำนวนจากรูป
                        มีดอกลำโพง 4 ดอก ดอกที่ 1,2,3,4 มีค่าอิมพิแดนซ์ 8 โอห์ม เท่ากันทุกดอก
1/อิมพิแดนซ์รวม = (1/8 ) + (1/8 ) + (1/8 ) + (1/8 )                                                                                         
อิมพิแดนซ์รวม = 4/8 แล้ว กลับเศษเป็นส่วน ได้ 8/4
อิมพิแดนซ์รวม = 2 โอห์ม

หรือ ใช้วิธีนี้เมื่ออิมพิแดนซ์เท่ากันทุกดอก (วิธีนี้ใช้ได้เฉพาะกรณีทุกดอกมีอิมพิแดนซ์เท่ากันเท่านั้น)

มีดอกลำโพง 4 ดอก ดอกที่ 1,2,3,4 มีค่าอิมพิแดนซ์ 8 โอห์ม เท่ากันทุกดอก
อิมพิแดนซ์รวม = (อิมพิแดนซ์) / (จำนวนดอก)
อิมพิแดนซ์รวม =  8/4
อิมพิแดนซ์รวม = 2 โอห์ม

 

3. แบบผสม (Series-Parallel)

การต่อลำโพงแบบอนุกรม และ ขนาน รวมกัน

รูปตัวอย่างการต่อลำโพงแบบผสมกัน 4 ดอก

 

คำนวนจากรูป
                        มีดอกลำโพง 4 ดอก ดอกที่ 1อนุกรมกับดอกที่ 2 และ ดอกที่ 3 อนุกรมกับดอกที่ 3 และที่สองชุดขนานกัน
อิมพิแดนซ์รวม = (8 + 8) // (8 + 8)
อิมพิแดนซ์รวม = 16 // 16
อิมพิแดนซ์รวม = 8 โอห์ม

 

นี่คือการคำนวนอิมพิแดนซ์เบื้องต้น ข้อควรระวังของการการต่อพ่วงดอกลำโพง คือ เรื่องขั้วของลำโพงการต่อลำโพงพ่วงกันหลายดอกผิดขั้วจะทำให้เกิดการหักล้างทางเฟส ทำให้ได้เสียงที่เบาลง และ เรื่องการต่อพ่วงมากจนอิมพิแดนซ์ต่ำเกินไปอาจสร้างความเสียหายต่อเพาเวอร์แอมป์ได้เพราะ เพาเวอร์แอมป์บางตัวไม่ได้ออกแบบมากเพื่อโหลดอิมพิแดนซ์ต่ำ

ขอบคุณบทความจาก คุณเจตนัย คชเวช

 

ชมบทความดีๆจากAT

เข้าชมเพจ AT Prosound


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,400.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿5,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น