หม้อดึงไฟ หรือ Stabilizer ทำงานอย่างไร

หม้อดึงไฟ หม้อเพิ่มไฟ Stabilizer

หม้อดึงไฟ หม้อเพิ่มไฟ หรือ Stabilizer ทำงานอย่างไร | ในปัจจุบัน… สาเหตุปัญหาความเสียหายของอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ มักจะหนีไม่พ้นเรื่องของความไม่เสถียรของแรงดันไฟฟ้า ยกตัวอย่าง เช่น ไฟกระชาก ไฟตก ไฟเกิน เป็นต้น ดังนั้นอุปกรณ์นี้จึงมีบทบาทสำคัญที่จะเข้ามาแก้ไข และป้องกันโอกาสที่จะเกิดปัญหาเหล่านี้ ก่อนที่มันจะสร้างความเสียหายต่ออุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์ระบบเสียงของคุณ ดังนั้นบทความนี้ เราจะมาไขข้อสงสัยกันครับ ว่า หม้อดึงไฟ หม้อเพิ่มไฟ หรือ Stabilizer มีหลักการทำงานอย่างไร 

หม้อดึงไฟ

แรงดันไฟฟ้า คือ

กระแสไฟฟ้าเกิดจากการที่มีอิเล็กตรอนไหลในสายไฟ ซึ่งการที่อิเล็กตรอนไหล หรือเคลื่อนที่ได้นั้น จะต้องมีแรงมากระทำต่ออิเล็กตรอนทำให้เกิดกระแสไหล แรงดังกล่าวนี้เรียกว่า แรงดันไฟฟ้า (Voltage)

ศักย์ไฟฟ้า เป็นอีกคำหนึ่งที่คล้ายกับแรงดันไฟฟ้า จะหมายถึง ระดับไฟฟ้า เช่น ลูกกลมที่ 1 มีประจุไฟฟ้าบวกจะมีศักย์ไฟฟ้าสูง ส่วนลูกกลมที่ 2 มีประจุไฟฟ้าลบจะมีศักย์ไฟฟ้าต่ำ ดังนั้น ลูกกลมที่ 1 และ 2 จึงมีความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้า เรียกว่า ความต่างศักย์ไฟฟ้า

หม้อดึงไฟ

แรงขับเคลื่อนทางไฟฟ้า หมายถึง แรงที่สร้างให้เกิดแรงดันไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระตลอดเวลา กระแสไฟฟ้าจึงไหลตลอดเวลา แรงเคลื่อนไฟฟ้านี้อาจเกิดจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า , แบตเตอรี่ , ถ่านไฟฉาย และเซลล์เชื้อเพลิง เป็นต้น

หน่วยของแรงดันไฟฟ้า , ความต่างศักย์ไฟฟ้า หรือแรงขับเคลื่อนทางไฟฟ้า มีหน่วยเดียวกัน นั่นก็คือ โวลต์ (Voltage ซึ่งแทนด้วย V)

อ้างอิงจาก 

    • Demetrius T. Paris and F. Kenneth Hurd, Basic Electromagnetic Theory, McGraw-Hill, New York 1969
    • P. Hammond, Electromagnetism for Engineers, p. 135, Pergamon Press 1969

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

 

หลักการทำงานของหม้อดึงไฟ 

ไฟฟ้า คือ สิ่งที่สำคัญที่สุดในระบบเสียง เพราะเป็นแหล่งพลังที่จำเป็นต้องจ่ายให้กับอุปกรณ์ระบบเสียงต่าง ๆ ยกตัวอย่าง เช่น เพาเวอร์แอมป์ มิกเซอร์ หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์ระบบไฟบนเวทีก็ตาม หลายท่านก็ยังคงประสบกับปัญหาความไม่เสถียรของแรงดันไฟฟ้า ดังตัวอย่างที่ได้กล่าวในข้างต้น ซึ่งโดยปกติแล้ว ระดับแรงดันไฟฟ้าที่เราใช้กันจะอยู่ที่ 220-230V แต่บางงานเราอาจจะเจอกับปัญหาแรงดันไฟฟ้าตก เหลือ 200V หรือ 180V ดังนั้นจึงมีอุปกรณ์ตัวหนึ่ง ที่จะช่วยให้แรงดันไฟฟ้ากลับมาอยู่ในระดับปกติ นั่นก็คือ หม้อดึงไฟ หรือบางคนก็เรียกว่า หม้อเพิ่มไฟ

ทีนี้.. เรามาทำความเข้าใจไปพร้อมกันครับ ว่า หม้อดึงไฟ หรือ หม้อเพิ่มไฟ มีหลักการทำงานอย่างไร

    • V1 คือ แรงดันไฟฟ้าขาเข้าฝั่งปฐมภูมิ
    • V2 คือ แรงดันไฟฟ้าขาออกฝั่งทุติยภูมิ
    • N1 คือ จำนวนรอบของหม้อแปลงฝั่งปฐมภูมิ
    • N2 คือ จำนวนรอบของหม้อแปลงฝั่งทุติยภูมิ

หม้อดึงไฟ

ยกตัวอย่างในกรณีที่ไฟตกจาก 220V เหลือ 200V การคำนวณของหม้อดึงไฟก็คือ V1 = 200V (แรงดันไฟขาเข้า) V2 = 220V (แรงดันไฟขาออกที่เสถียรแล้ว) สมมติว่าหม้อดึงไฟของเรา มีการหมุนของขดลวดหม้อแปลงฝั่งปฐมภูมิอยู่ที่ 100 รอบ ดังนั้น N1 = 100 (จำนวนรอบการของขดลวดหม้อแปลงฝั่งขาเข้า) หม้อดึงไฟ จะคำนวณว่า N2 หรือจำนวนรอบการหมุนของขดลวดหม้อแปลงฝั่งทุติยะภูมิ จะต้องหมุนกี่รอบ เพื่อที่ได้แรงดันไฟขาออกที่ 220V ซึ่งสามารถคำนวณได้ดังนี้ครับ 

จากสูตรการคำนวณ จึงสรุปได้ว่า N2 หรือจำนวนรอบการหมุนของขดลวดหม้อแปลงฝั่งทุติยะภูมิ จะต้องหมุน 110 รอบ เพื่อที่จะได้แรงดันไฟให้อยู่ที่ 220V ครับ

 

แต่… ในอีกหนึ่งกรณี เมื่อใช้หม้อดึงไฟ หรือ หม้อเพิ่มไฟ เพื่อแก้ปัญหาแรงดันไฟตก แต่จู่ ๆ แรงดันไฟจากที่ตกอยู่ที่ 200V กลับเพิ่มขึ้นมาเป็น 220V จากในกรณีนี้จะเกิดอะไรขึ้น เราลองมาคำนวณกันดูครับ

จะเห็นได้ว่า จากที่เราปรับค่าหม้อดึงไฟ หรือ หม้อเพิ่มไฟ ให้มีการหมุนของขดลวดหม้อแปลงฝั่งทุติยะภูมิอยู่ที่ 110 รอบ จะทำให้แรงดันไฟขาออกเพิ่มขึ้นกลายเป็น 242V ซึ่งเป็นค่าแรงดันไฟที่มากเกินไป ในกรณีนี้ก็อาจจะส่งผลให้อุปกรณ์ของท่านเกิดความเสียหายขึ้นมาได้ครับ

เนื่องจาก หม้อดึงไฟ หรือ หม้อเพิ่มไฟ ที่เป็นระบบ Manual เราจึงไม่สามารถคาดเดาได้ว่า แรงดันไฟจะตก หรือจะเพิ่มขึ้นมาเมื่อไหร่ ดังนั้นจึงมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Stabilizer ซึ่งหลักการทำงานของมันนั้น เหมือนกับหม้อดึงไฟทุกประการ แต่จะต่างกันเพียงแค่ Stabilizer จะทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ ทำให้สามารถที่จะควบคุมแรงดันไฟขาออกให้อยู่ที่ 220V ได้ โดยที่ไม่เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ของท่านครับ

 

สามารถดูคลิปวิดีโออธิบายประกอบไดที่นี่ :

 

สรุป

หม้อดึงไฟ หรือ หม้อเพิ่มไฟ คือ หม้อแปลงที่ทำหน้าที่จัดการกับแรงดันไฟฟ้า ระบบ Manual หรือใช้มือปรับเอง เพื่อแก้ปัญหาป้องกันไฟกระชาก ไฟตก ไฟเกิน ให้แรงดันไฟฟ้าอยู่ในระดับคงที่ และสม่ำเสมอ ช่วยให้การจ่ายกระแสไฟเป็นไปด้วยความราบรื่น อุปกรณ์ต่อพ่วงจึงทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยลดโอกาสที่เกิดความเสียต่ออุปกรณ์ อันมีสาเหตุมาจากกระแสไฟฟ้าอีกด้วย เหมาะสำหรับใช้กับอุปกรณ์ที่ต้องการทำงานตลอดเวลา เช่น เครื่องเซิฟเวอร์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม หรือแม้แต่ในวงการเครื่องเสียง ก็ถูกนำมาใช้ เพื่อความปลอดภัยของอุปกรณ์ระบบเสียงอีกด้วย ในส่วนของ Stabilizer หรือ Automatic Voltage Stabilizer (AVS) หรือเรียกอีกอย่างว่า Automatic Voltage Regulator (AVR) ซึ่งสองคำนี้มีความหมายเดียวกันครับ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เหมือนกับหม้อดึงไฟ หรือ หม้อเพิ่มไฟ แต่จะต่างกันตรงที่ Stabilizer จะทำงานด้วยระบบอัตโนมัตินั่นเอง

หม้อดึงไฟ

 

ติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook AT Prosound

บทความโดย : ณัฐพจน์ วิจารัตน์ (นัท)


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,600.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿6,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น