การวัดการตอบสนองความถี่ของลำโพง (Frequency response)

Frequency response บอกอะไรเราบ้าง?

Frequency response เรามักจะเห็นค่านี้ส่วนใหญ่ในสเปคลำโพง หรือ หูฟังซึ่งค่านี้บอกถึงความถี่ที่อุปกรณ์สามารถทำงานได้ เช่น 50 – 20,000 Hz ± 3 dB หมายถึง อุปกรณ์นี้สามารถทำงานตั้งแต่ความถี่ 50 Hz จนถึง 20,000 Hz โดย ที่ความถี่ 50 และ 20,000 Hz มีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน  ± 3 dB นั่นเอง

อีกรูปแบบของ การตอบสนองความถี่ คือการแสดงผลแบบกราฟนั่นเอง กราฟนี้ทำให้เราจินตนาการถึงเสียงได้ โดยกราฟจะมี 2 แกน แกนแนวตั้งจะเป็นความดังในแต่ละความถี่ แกนแนวนอนเป็นความถี่ที่ตอบสนอง

อุปกรณ์ที่ใช้วัดเสียง การตอบสนองความถี่

  1. ไมค์ RTA
  2. ออดิโออินเตอรเฟส
  3. โปรแกรม Smaart

ในอุปกรณ์วัดเสียงนี้อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่เราจะทำการวัด ถ้าวัดสัญญานทางไฟฟ้าอาจไม่ต้องใช้ไมค์ RTA ก็ได้

ขั้นตอนแรกในการวัดเสียง การตอบสนองความถี่ ให้เราต่ออุปกรณ์ให้พร้อมต่อการวัด ถ้าเราจะวัดเสียงลำโพงให้ต่อสายสัญญานตามนี้

  1. นำไมค์ไปจับเสียงลำโพงเข้ามาที่ Input ที่ 1 ของซาวด์การ์ด
  2. ต่อเสียงจาก Output ที่ 1 ไปเข้าลำโพง
  3. ต่อเสียงจาก Output ที่ 2 ไปเข้า Input ที่ 2 (การต่อแบบนี้เพื่อ Loop Reference)
  4. ต่อสาย USB เข้าคอมพิวเตอร์

การตั้งค่าในโปรแกรม Smaart DI v.2

ทำการตั้งค่าให้โปรแกรมใช้ออดิโออินเตอร์เฟสที่เราต้องการโดยการไปที่ Input Device ด้านขวาบนของโปรแกรม เมื่อกดเข้าไปจะมีหน้าต่าง Configurator ขึ้นมา ให้เราสังเกตุว่าในช่องทั้ง Input Device และ Output Device มีออดิโออินเตอร์เฟสของเราอยู่ไหม ถ้าไม่มีให้ทำการลงไดร์เวอร์ หรือ ปิด-เปิดคอมพิวเตอร์ใหม่

เลือกโหมดการทำงานไปที่ Transfer ด้านขวาล่าง และ เช็คออดิโออินเตอร์เฟสด้านขวาบนอีกครั้ง ทำการตั้งค่าและเปิด Pink Noise ด้านขวาล่าง เมื่อกดที่ค่าความดังของ Pink Noise จะมีหน้าต่างการตั้งค่าขึ้นมา ถ้าเปิดแล้วเสียงยังไม่ออกให้ลองเช็คการปรับบนออดิโออินเตอร์เฟส และ เลือกสัญญานขาออกของ Pink Noise ให้ถูกต้อง เมื่อสัญญานเสียงออกแล้วให้กดเริ่มการวัดสัญญานที่ Default TF

เทคนิคอยากบอก : ปรับเกนที่ออดิโออินเตอร์เฟสให้สัญญานสัญญานทั้ง 2 input เท่ากัน และ ปรับความดังสัญญานที่ Pink Noise เป็น -12 dB และ ปรับเกน Input 2 ลงจนสุด แล้วปรับเป็น Line Level จะทำให้สัญสัญญานพอดีขีดเหลือง

เมื่อกดเริ่มวัดสัญญานแล้วหน้าจอจะแสดงผลกราฟ แต่ในตอนแรกกราฟจะยังดูซับซ้อน หรือ แสดงผลได้ไม่ถูกต้องอยู่ ให้เราทำการ Track Delay เพื่อให้สัญญาน Input 2 มาพร้อมกับ Input 1 (ที่ต้อง Track Delay เพราะว่าการเดินทางของเสียงที่ Input 1 จะมาช้ากว่าเนื่องจากต้องผ่านภาค DSP ของลำโพง รวมถึงเดินทางผ่านอากาศ มาจนถึงไมค์ เสียงจึงมาช้ากว่า ซึ่งการวัดแบบนี้จะต้องอาศัยการเทียบสัญญานจึงต้อง Delay ให้เท่ากันนั่นเอง) เมื่อได้กราฟที่ต้องการแล้วให้ทำการกด Capture ก็เป็นอันเสร็จ

โดยกราฟที่แสดง การตอบสนองความถี่ ( Frequency-response ) คือ กราฟด้านล่างสุดนั่นเอง ถ้าใคยังไม่เข้าใจสามารถดูวิดีโอเพิ่มเติมที่นี่ได้เลย

อ่านบทความเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องได้ที่


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,400.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿5,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น