การ Fix Gain เรื่องสำคัญไม่ใช่แค่ “ความดัง”

การ Fix Gain เรื่องสำคัญไม่ใช่แค่ “ความดัง”

ทำความเข้าใจเรื่อง Gain ในระบบเสียง

– เคยไหม? ถ้ากำหนดให้ค่าระดับสัญญาณที่ครอสโอเวอร์ หรือที่มิกซ์เป็น 0 dB โดยตั้ง gain เพาเวอร์แอมป์ไว้ “สูง” มากๆ เสียงก็จะ “ดัง” มาก ทั้งๆ ที่ปล่อยสัญญาณไปน้อย เราจึงจำเป็นต้องลดค่า gain ที่เพาเวอร์แอมป์ลง แต่ถ้าตั้งค่า gain ที่เพาเวอร์แอมป์ “น้อย” มากๆ เมื่อเราเร่งเสียงให้ดัง ที่มิกซ์เซอร์ก็ Clip ก่อน หรือโปรเซสเซอร์ก็ Clip  ก่อน และเกิด distortion หรือ การบิดเบือนจะเกิดขึ้นในระบบ ทำให้เสียงที่ออกมาจากลำโพงจะแตกพร่า ทั้งๆที่เพาเวอร์แอมป์ทำงานไม่ถึงขีดจำกัด ลำโพงก็ยังทำงานไม่ถึงขีดจำกัด 

– อุปกรณ์ทุกอย่างในระบบเสียงมีภาคอินพุตและภาคเอาท์พุต ถ้าหากภาคใดภาคหนึ่ง ของอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง ทำงานเกินขีดจำกัด ก็ทำให้เสียงที่ออกมาแตกได้ เพราะฉะนั้นการที่มีสวิสซ์ให้ปรับ Gain ได้ทุกที่ โดยเฉพาะเพาเวอร์แอมป์ จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง 

– ลำโพงที่มีแอมป์ในตัวบางรุ่น ฟังออกเลยว่า เสียงแตก ทั้งๆที่ไฟ VU ยังขึ้นไม่สุด เนื่องจากสัญญาณที่ส่งมาให้มีความเพี้ยนของสัญญาณ หรือแอมป์ของลำโพงนั้น รองรับระดับสัญญาณ input ได้ต่ำมากๆ

– เวลาที่เราตัดครอสโอเวอร์ ใส่คอมเพลสเซอร์ ใส่อีคิว ฯลฯ ทุกอย่างมีผลต่อ Gain ทั้งหมด เป็นผลข้างเคียงที่ส่งผลต่อการ เพิ่ม-ลด ระดับของสัญญาณทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมีเรื่องการปรับ Gain เข้ามาช่วยในระบบ

พูดถึงเรื่อง การ Fix Gain หลังเพาเวอร์แอมป์

พูดถึงเรื่อง Gain  หลังเพาเวอร์แอมป์ ปรับอย่างไรดี Gian น้อยไป หรือมากไปก็มีปัญหา ต้องพอดีๆ เหมาะสมกับระบบครับ

– ในอุดมคติ เราสามารถคำนวณได้เลยว่า แอมป์ที่เราใช้มีกำลังวัตต์เท่าไหร่ ลำโพงที่เราใช้มีความไวเท่าไหร่ แล้วเราจะใช้ที่ความดังเท่าไหร่ ในพื้นที่เท่าไหร่ เช่น เราต้องการความดัง150 dB ที่พื้นที่ระยะ 30 เมตร มีลำโพง 4 ใบ แอมป์ 1 ตัว การจัดการที่ดีเราก็ต้องปรับ Gain หลังแอมป์ให้เหมาะสม เพราะสัญญาณของอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบ อยู่ในระดับที่เหมาะสมอยู่แล้วพูดง่ายๆ การบาลานซ์ Gain คือให้มันมีไฟสถานะเป็นสีเขียวๆ เหมือนๆ กันทุกอุปกรณ์ 

– การตั้ง Gain เพาเวอร์แอมป์ ที่ค่านั้นๆ ตลอด ก็อาจจะเหมาะกับรูปแบบงานติดตั้งถาวร แต่ในงานทัวร์ งานคอนเสิร์ต ถามว่า? จะมีใครมาตั้งค่า Gain เพาเวอร์แอมป์ทุกงานไหม ก็เป็นไปได้ยาก รูปแบบพื้นที่ ลักษณะของงานเปลี่ยนตลอด ความ Error เกิดขึ้นได้สูง บางครั้งต้องใช้อุปกรณ์อื่นๆ อย่างเช่นโปรเซสเซอร์เข้ามาช่วยปรับที่หน้างาน แล้วฟิคค่า Gain ที่เพาเวอร์แอมป์ไว้ 

– ทุกๆ อุปกรณ์มี เสียงรบกวน (Noise) เกิดขึ้นในตัวเอง อาจจะ -50 dB -60dB ฯลฯ ตามแต่อุปกรณ์นั้นๆ ถ้าเราฟิกค่า Gain ที่เพาเวอร์แอมป์ไว้รอเลยในค่าที่สูงๆ ก็จะมีเสียง Noise  เกิดขึ้นจากลำโพง ความรู้สึกแบบเปิด Pink Noise เบาๆ เสียงซ่า เบาๆ แบบรู้สึกได้  โดยที่ยังไม่ได้เปิดเสียงอะไรเลย ต่อให้เรากด Mute เสียงพวกนั้นก็ยังอยู่ เพราะเพาเวอร์แอมป์มันขยายสัญญาณไว้เยอะเกินควร 

– กรณีตัวอย่าง เวลาที่ผู้ขายเพาเวอร์แอมป์ เทสให้ลูกค้าที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเครื่องเสียง โดยตัวแรกปรับ Gain หลังเครื่องแรงๆ ตัวที่สองปรับ Gain หลังเครื่องปกติ ผลที่ออกมาคือแอมป์ตัวแรกหมุนปุ่มโวลลุ่มนิดเดียว เสียงก็ดังมากๆ  แล้วก็คิดว่าแอมป์ตัวที่ดังกว่า กำลังขับสูงกว่าอีกตัว ทั้งๆที่แอมป์ทั้งสองตัว มีกำลังวัตต์ใกล้เคียงกัน ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิด

– ถ้าเราตั้ง Gain ที่เพาเวอร์แอมป์ค่าน้อยๆ สิ่งที่ตามมาก็คือ ต้องหาโปรเซสซอร์ทีมีระดับสัญญาณภาคเอาท์พุตสูงๆ มาใช้ร่วมกัน โปรเซสเซอร์กลุ่มนี้มีราคาค่อนข้างสูง คือจะมีความเพี้ยนได้ยากกว่า เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ราคาถูก

– การปรับ Gian จะมีผลต่อการปรับ Limiter การตั้ง Limiter คือการตั้งให้แรงดันไม่เกินจุดสูงสุดที่ลำโพงรับได้ ยกตัวอย่างกรณีที่เราตั้ง Limiter ไว้เรียบร้อยแล้ว ต่อมามีคนไปปรับระดับ Gain หลังเพาเวอร์แอมป์อีก Limiter จะทำงานไม่เหมาะสมเหมือนเดิม คือ

1. ถ้าเพิ่มค่า Gain  ผลที่ตามมาคือค่า Limiter จะทำงานผิดพลาด ไม่ได้ใช้ในระดับสัญญาณที่เหมาะสม เพราะว่า Gain ขยายกำลังเกินค่า Limiter ไปแล้ว ลำโพงอาจจะเสียหายได้ 

2. ถ้าลดค่า Gain ผลที่ตามมาคือฟังก์ชัน Limiter ถูกใช้อย่างรวดเร็วเกินไป ในระดับสัญญาณที่น้อยกว่าขีดจำกัดของลำโพง ลำโพงจะไม่ดังเท่าที่ควรจะเป็น 

– Gain มีในเพาเวอร์แอมป์ทุกตัวอยู่แล้ว แต่ปุ่มปรับ Gain หลังเพาเวอร์แอมป์ ที่สามารถปรับได้ มีประโยชน์มากกว่า เมื่อต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ฟังก์ชัน Gain ช่วยในเรื่องการทำงานของลำโพง ช่วยในเรื่องของความดังที่เหมาะสม ส่งผลให้ระบบเสียงของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอยู่กับเราไปอีกนานครับ

ขอบคุณบทความจาก คุณนิติพล ชัยมั่น

อ่านบทความเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องได้ที่

 

฿43,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿47,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

เพาเวอร์แอมป์ PA

WARTECH CYBER-10Q

฿46,300.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿33,705.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

สินค้าแนะนำตามความสนใจ

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿79.00฿7,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿55.00฿5,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿44.00฿3,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿93.00฿7,400.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿34.00฿2,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า
฿71.00฿5,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น