7 เคล็ดลับ ต้องรู้ก่อนเลือกซื้อ DSP

7 เคล็ดลับ ต้องรู้ก่อนเลือกซื้อ Digital Signal Processor

Signal Processor หมายถึง เครื่องมือสำหรับใช้ปรับเเต่งเสียง ซึ่งมีอยู่หลากหลายประเภท อย่างเช่น Equalizer, Compressor, Gate, Crossover, Limiter จากสมัยก่อนที่อยู่ในรูปเเบบ Analog ถูกย่อส่วนลงมาในรูปเเบบของ DSP หรือ Digital Signal Processor ที่มีอุปกรณ์ Signal Processor อยู่ภายในเครื่องเดียวกัน ไม่ต่างกับอุปกรณ์อย่างโทรศัพท์มือถือ ที่ทุกวันนี้ใช้งานได้หลากหลายฟังก์ชั่น ทั้งใช้โทร ถ่ายรูป ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ต ปัจจุบัน Digital Signal Processor ถูกผลิตออกมามากมายหลากหลายแบรนด์ หลากหลายรุ่น ย่อมมีความเเตกต่างกันไป ทั้งคุณสมบัติ ฟังก์ชั่นการใช้งาน ตลอดจนราคา จึงนำมาสู่  7 เคล็ดลับ ต้องรู้ก่อนเลือกซื้อ DSP

 

ครอสโอเวอร์

 

สารบัญ

1. ชนิดของ DSP 

2. จำนวน Input เเละ Output ที่ต้องใช้ในระบบเสียง

3. จำนวน เเละประเภท Equalizer ที่ต้องการใช้

4. ประเภทของฟิลเตอร์ (Filter) ในการตัด Crossover

5. การควบคุม DSP

6. ลิมิตเตอร์ (Limiter)

7. ช่องการรับสัญญาณเสียงเเบบดิจิตอล

 

สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

Marani DPA 260RTA

฿13,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

Marani DPA260P

฿10,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

Marani MIR260A

฿16,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

dB MARK DP26+

฿9,300.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

VL AUDIO V-DSP LM-26F

฿24,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

Marani MIR480A

฿21,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

Marani DPA480P

฿20,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

dbx VENU360

฿47,900.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

NEXO DTD-IU

฿47,880.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

Lake LM44

฿136,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

QSC Core Nano

฿87,000.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

Symetrix Jupiter 12

฿96,700.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

DIGITCLASS DSPico48M2-RACK

฿11,500.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
สินค้าสั่งจอง
สินค้าสั่งจองล่วงหน้า

ครอสโอเวอร์ดิจิตอล

QSC Core 110f

฿160,650.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

1. ชนิดของ DSP จะมีด้วยกันอยู่ 2 ชนิด คือ Fixed Architecture เเละ Open Architecture โดยจะมีความเเตกต่างกันที่

Fixed Architecture เมื่อสัญญาณเสียงเข้ามาใน DSP จะถูกเรียงลำดับ Signal Processor ตามที่ DSP เครื่องนั้นๆ ได้จำกัดไว้ เช่น เมื่อ Input สัญญาณเข้ามาใน DSP  จะส่งไปที่ Gain เพื่อปรับระดับความเเรงของสัญญาณขาเข้า จากนั้นส่งต่อไปที่ Delay Input → Phase Input → PEQ Input → Cmp Input → Crossover → PEQ Output → Delay Output → Phase Output → Cmp Output → Gain Output → Limiter Output → Output ตามลำดับ ซึ่งไม่สามารถที่จะสลับที่การเรียงของ Signal Processor ได้

ส่วน Open Architecture จะสามารถเรียงเเละเพิ่ม Signal Processor ได้ตามต้องการ เพื่อจุดประสงค์ต่างๆ เเละมีประเภทของ Signal Processor ให้เลือกที่หลากหลายมากกว่า Fixed Architecture

Fixed Architecture ข้อดี ใช้งานได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ข้อจำกัด ไม่สามารถเรียงลำดับ เพิ่มลดอุปกรณ์ Signal Processor ได้ตามต้องการ

Open Architecture ข้อดี สามารถเรียงลำดับ เพิ่มลดอุปกรณ์ Signal Processor ได้ตามต้องการ ข้อจำกัด การใช้งานที่ยุ่งยาก เเละราคาที่ค่อนข้างสูง

(ขอบคุณรูปจาก PAVT.com.au)

2. จำนวน Input เเละ Output ที่ต้องใช้ในระบบเสียง เเน่นอนว่า ต่อให้ใช้ DSP ที่มีประสิทธิภาพมากมายเเค่ไหน เเต่ถ้า Input Output ไม่เพียงพอต่อการใช้งานก็ไม่มีประโยชน์ การวางเเผนล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเสมอ

3. จำนวน เเละประเภท Equalizer ที่ต้องการใช้ ซึ่ง Eq จะมีทั้งเเบบ Graphics Eq และ Parametric Eq โดยที่ Parametric Eq จะมีทั้ง Band Pass, Bell, High Pass, HiShv, LoShv, Low Pass เป็นต้น สำหรับหลายๆท่าน ที่ใช้ digital signal processor ในการจัดการระบบเสียงที่มีอยู่ จำนวน และประเภท Eq ทั้งส่วนที่อยู่ใน Input เเละ Output จึงมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อ

(ขอบคุณรูปจาก https://hu.audison.eu/blog-post/bitonehd-virtuoso-fir-mode/)

4. ประเภทของฟิลเตอร์ (Filter) ในการตัด Crossover ฟิลเตอร์ ที่อยู่ใน DSP จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ IIR Filter เเละ FIR Filter ในส่วนของ IIR Filter จะมีการปรับเเต่ง ใช้งานได้ง่ายกว่า Fir Filter ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ

เเต่ Fir Filter จะให้เสียงที่เป็นธรรมชาติมากกว่า IIR Filter ในปัจจุบันก็มี DSP บางรุ่นได้เพิ่มฟังชั่น Auto Tune Fir ขึ้นมา เพื่อให้การเซ็ต Fir เป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ไม่ยากอีกต่อไป

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

(ขอบคุณรูปจาก https://dbxpro.com/en)

5. การควบคุม DSP ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายเเบบ ทั้งปรับเเต่งการตั้งค่าจากหน้าตัวเครื่อง, ควบคุมผ่านสาย USB, ควบคุมผ่านสายเเลน สำหรับท่านที่ต้องใช้ DSP เพื่อปรับเเต่งการตั้งค่า เซ็ตอัพระบบเสียง Alignment การควบคุม DSP จากระยะไกลจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

6. ลิมิตเตอร์ (Limiter) เเน่นอนว่า Limiter คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันความเสียหาย ที่จะเกิดกับดอกลำโพงที่ใช้งานอยู่ เเต่ระดับสัญญาณเสียงกับมีระดับที่เเตกต่างกันทั้ง Rms เเละ Peak ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้กับดอกลำโพงได้ด้วยกันทั้งสิ้น

ใน DSP ส่วนใหญ่จะมีเเต่ในส่วนของ Peak Limiter เเต่ถ้าต้องการป้องกันลำโพงได้อย่างสมบูรณ์เเบบ DSP ที่เลือกใช้จะต้องมีทั้ง Rms Limiter เเละ Peak Limiter

7. ช่องการรับสัญญาณเสียงเเบบดิจิตอล ในระบบทั่วไปเมื่อใช้ มิกเซอร์ดิจิตอล สัญญาณเสียงจากต้นทางจะถูกเเปลงเป็น ดิจิตอล เเละ Output ของมิกเซอร์ จะถูกเเปลงเป็น อนาล็อก อีกครั้ง

เเต่ใน มิกเซอร์ดิจิตอล บ้างตัวสามารถส่งสัญญาณเสียงเป็นดิจิตอลได้เลย โดยไม่ต้องเเปลงเป็น อนาล็อก การที่ใช้ DSP ที่สามารถรับสัญญาณเสียงที่ถูกเเปลงมาเป็นดิจิตอลได้ จะช่วงลดการเเปลงสัญญาณที่ซ้ำซ้อนลงได้ ยกตัวอย่างเช่น digital signal processor ที่มีช่องรับ AES/EBU เป็นต้น

จากทั้ง 7 ข้อ จะช่วยให้ผู่อ่านสามารถเลือก digital signal processor ที่เหมาะสมกับการใช้งาน ได้อย่างตรงวัตถุประสงค์ เพื่อให้คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย เเละก่อเกิดประโยชน์เเก่ผู้ใช้อย่างสูงสุด

 

ติดตามช่องทางต่างๆของ AT PROSOUND

FACEBOOK ATPROSOUND

YOUTUBE ATPROSOUND

บทความโดย เอกพัฒน์ มั่นคง

 


สินค้าแนะนำตามความสนใจ

฿135.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿145.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿35.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿36.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿42.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿185.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿42.00 (รวม VAT 7% แล้ว)
฿36.00 (รวม VAT 7% แล้ว)

บทความที่คุณอาจชอบ ในหมวดหมู่เดียวกัน

ใส่ความเห็น